ภัยร้ายในบุหรี่ ไม่ได้มีแค่ “นิโคติน”

ผู้คนมักเตือนเกี่ยวกับภัยและอันตรายจากบุหรี่ว่า “บุหรี่อันตราย เพราะมีนิโคติน” จนกลายเป็นความเข้าใจว่านิโคตินคือสารอันตรายที่ทำร้ายอวัยวะต่าง ๆ ของผู้สูบบุหรี่ แต่แท้จริงแล้ว นิโคตินไม่ใช่สารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ เพราะภัยข้างเคียงเหล่านี้เกิดจากสารอื่น ๆ ที่อยู่ในบุหรี่ต่างหาก

มีสารมากกว่า 7,000 ชนิดที่เกิดจากการเผาไหม้บุหรี่ สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และมีสารกว่า 70 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนนิโคตินนั้นไม่ใช่สารที่ก่อให้เกิดโรค แต่เป็นสารที่ทำให้คนเสพติดและอยากกลับไปสูบบุหรี่ตลอดเวลา

ส่วนสารที่ทำร้ายร่างกายที่แท้จริงได้แก่ ทาร์, คาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนออกไซด์, ไนโตรเจนออกไซด์, แอมโมเนีย, ไซยาไนด์, ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารปรุงแต่งอีกจำนวนมาก

ยกตัวอย่างโทษภัยของสารอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนี้

ทาร์ (tar) หรือน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารหลายชนิด มีลักษณะเป็นละอองเหลวเหนียวสีน้ำตาล ทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื่อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide) เป็นก๊าซชนิดเดียวกันที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง

ไฮโดรเจนไดออกไซด์ (hydrogen dioxide) เป็นแก๊สพิษที่ใช้ในสงคราม ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ไนโตรเจนไดออกไซด์ (nitrogen dioxide) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง เพราะไปทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม

Advertisement

แอมโมเนีย (ammonia) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อให้นิโคตินถูกดูดซึมผ่านปอดเร็วขึ้น

ไซยาไนด์ (cyanide) ปกติเป็นสารที่ใช้ผลิตยาเบื่อหนู และก็พบในบุหรี่เช่นเดียวกัน

Advertisement

ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นสารที่ใช้ดองศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และถูกนำมาใช้ในการผลิตบุหรี่ด้วยสารอันตรายที่กล่าวมา สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยง

มากมายต่อผู้สูบเอง เช่น เสี่ยงตาบอดถาวร เสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ เสี่ยงถุงลมโป่งพอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เสี่ยงแท้งลูก หรือเสี่ยงต่อผู้คนรอบข้าง เช่น เสี่ยงโรคหอบหืด ทำลายสุขภาพทารกในครรภ์ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้ถึง 2 เท่า ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ ฯลฯ

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จริง ๆ แล้ว คนที่สูบบุหรี่ไม่ได้เสพติดตัวบุหรี่ แต่เสพติดนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ ดังนั้นการให้นิโคตินทดแทนด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญแนะนำจะช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่อย่างได้ผล เพราะเป็นการเข้าไปลดระดับนิโคติน หรือทำให้อยากสูบบุหรี่ลดลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลิกสูบบุหรี่ก็ต้องการปัจจัยรอบข้างเข้ามาส่งเสริม”

ดังนั้นนอกเหนือจากจิตใจอันแน่วแน่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่แล้ว การจะเลิกบุหรี่ได้ผลต้องแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ นั่นก็คือการทำให้อาการอยากนิโคตินลดลง

โดยใช้นิโคตินทดแทน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งในรูปแบบแผ่นแปะ หมากฝรั่ง ฯลฯ หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา หรือร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ