‘กรมเจรจาฯ’ เตรียมยกร่าง พ.ร.บ. กองทุน FTA พร้อมเปิดรับฟังความเห็นทั่วประเทศ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย ครม. เห็นชอบจัดตั้งกองทุน FTA เตรียมยกร่าง พ.ร.บ. พร้อมเปิดรับฟังความเห็นทั่วประเทศ เผย กองทุนฯ ให้ความช่วยเหลือ 2 รูปแบบ ทั้งเงินจ่ายขาดและเงินหมุนเวียน พร้อมทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เชื่อมโยงกลุ่มผู้ขอรับการช่วยเหลือในพื้นที่ และจะจัดตั้งคกก.บริหารกองทุน พิจารณาอนุมัติโครงการตามหลักเกณฑ์ ชี้! กองทุนจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก FTAนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้กองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) ซึ่งกรม ได้เตรียมยกร่าง พ.ร.บ. กองทุนช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า พ.ศ. …” หรือ ร่าง “พ... องทุน FTA” แล้ว และเตรียมจัดรับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อร่างดังกล่าว หลังจากที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ จากคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้เสนอเรื่องเข้า ครม. ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการรับฟังความเห็น จะใช้ระยะเวลา 3-4เดือน ก่อนที่จนำร่าง พรบ. เสนอคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา และรัฐสภา ตามกระบวนการตรากฎหมายของไทยต่อไปนางอรมน กล่าวว่า กองทุน FTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก FTA ทั้งภาคการผลิตสินค้าเกษตรภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยจะให้ความช่วยเหลือ 2 รูปแบบ คือ เงินจ่ายขาด อาทิ ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ปรึกษา ฝึกอบรม และการตลาด และเงินหมุนเวียน อาทิ ค่าลงทุนต่างๆ ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายหมุนเวียน นอกจากนี้ กองทุน FTA จะทำงานร่วมกับหน่วยงานข้อกลางต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตร วิชาการ และธนาคาร อาทิ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด มหาวิทยาลัย ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.) และ SME Bankเพื่อเชื่อมโยงกลุ่มผู้ขอรับการช่วยเหลือในพื้นที่ต่างๆ กับกองทุน FTA นอกจากนี้ หน่วยงานข้อกลางจะช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ขอรับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ อาทิ การให้คำปรึกษา การริเริ่มและช่วยเหลือการจัดทำข้อเสนอโครงการ การพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการ การจัดส่งข้อเสนอโครงการต่อกองทุน การดำเนินและกำกับโครงการ การเบิกจ่าย และการรายงานผลการดำเนินการต่อกองทุน

สำหรับการพิจารณาอนุมัติโครงการช่วยเหลือที่ขอผ่านหน่วยงานข้อกลางเข้ามานั้น กองทุนจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อพิจารณาอนุมัตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะกำหนดต่อไป อาทิ เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าโดยผลการศึกษา ระบุว่า ภาคการผลิตหรือภาคบริการที่ขอรับความช่วยเหลือนั้น อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งารจัดตั้งกองทุน FTA อย่างเป็นรูปธรรม จะเป็นกลไกสำคัญเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก FTA และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการค้าของภาครัฐที่จะช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ” นางอรมนเสริมทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีการจัดทำ FTA 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 63 ของมูลการค้าไทยกับโลก ซึ่ง FTA ฉบับล่าสุดของไทยคือ RCEP ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับตุรกี ปากีสถาน ศรีลังกา สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์  นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ และ FTA อาเซียน-แคนาดา รวมทั้งอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดเจรจา FTA ในอนาคต กับสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร