SME ไทยเปิดใจ ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’ จากซีพี หนุนธุรกิจท้องถิ่นรายได้พุ่ง ดันสินค้าไทยไปไกลสู่ตลาดโลก พร้อมช่วยสร้างอาชีพ-กระจายรายได้ให้คนในชุมชนเติบโตยั่งยืน

ในสถานการณ์ที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจหลายด้าน การเริ่มต้นธุรกิจ SME ไม่ใช่เรื่องง่ายหนัก ยิ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นการเติบโตก็คงยากไม่น้อย หากไม่มีโอกาสดีๆ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุน อย่างเช่นแบรนด์ ‘จะโหรมเครื่องแกง’ และ ‘สกลทรัพย์เพิ่มพูน’ 2 ธุรกิจท้องถิ่นเล็กๆ ที่ได้เข้าร่วม ‘โครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส’  ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในการเสริมแกร่งให้ SME และเกษตรกรไทยได้มีโอกาสขยายสินค้าไปวางขายในห้างโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ จากการผนึกกำลังของธุรกิจค้าปลีกในเครือซีพี จนทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดสามารถสร้างรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท และยังได้มีโอกาสนำสินค้าท้องถิ่นไทยส่งออกต่างประเทศให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สามารถกระจายรายได้ให้คนในชุมชนได้มีงานทำ มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

‘จะโหรมเครื่องแกง’ พริกแกงใต้โกอินเตอร์ แม็คโครหนุนส่งออกต่างประเทศทั่วโลก

 

จากร้านเครื่องแกงใต้เล็กๆ ในตลาดสดท้องถิ่นจังหวัดตรัง สู่การขยายธุรกิจไปวางขายในแม็คโครทั่วประเทศและต่างประเทศ จนวันนี้เครื่องแกงตำรับปักษ์ใต้ในแบรนด์ที่ชื่อว่า ‘จะโหรมเครื่องแกง’ มียอดขายโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปีที่ผ่านมากว่า 150 ล้านบาท จุดพลิกธุรกิจที่สำคัญคือการได้เข้าร่วม ‘โครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส’  ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในการเสริมความแข็งแกร่งให้ SME และเกษตรกรไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน โดยจะโหรมเครื่องแกงได้ตั้งเป้ายอดขายสินค้าในปี 2567 จะโตขึ้นอีก 30% ด้วยการเน้นพัฒนาสินค้าป้อนตลาดอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน (Ready to Eat) และรุกส่งออกต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยความฝันที่อยากจะให้พริกแกงใต้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ชุติมา อาลิแอ กรรมการผู้จัดการ ดีแอนด์จี ฟู๊ดซัพพลาย จำกัด (จะโหรมเครื่องแกง) ได้ย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจพริกแกงของครอบครัว ว่า เริ่มมาตั้งแต่ปี 2529 จากการนำเครื่องแกงใต้สูตรของคุณแม่ขายในตลาดสดท่ากลาง จ.ตรัง เป็นแค่ร้านเล็กๆ แต่มีลูกค้าติดใจในรสชาติที่ของพริกแกงจะโหรมที่มีเอกลักษณ์คือรสชาติเข้มข้น จัดจ้านตามตำรับพริกแกงใต้เลยบอกกันปากต่อปากทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ตอนนั้นเป็นจังหวะที่แม็คโคร ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพีได้เข้ามาเปิดสาขาที่จ.ตรัง และได้มาสำรวจสินค้าในพื้นที่และเห็นว่าจะโหรมเครื่องแกงเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีคุณภาพ  ก็เลยชวนให้ไปขายเครื่องแกงในแม็คโคร แม้เราจะยังไม่รู้กระบวนการพัฒนาสินค้าไปขายในห้าง พริกแกงยังไม่ได้มีอย. แต่โอกาสมาแล้ว ต้องลองทำให้ได้ ถ้าเราเข้าไปอยู่ในการขายของแม็คโครก็จะมีโอกาสไปได้ทั่วประเทศ และได้พาเครื่องแกงจะโหรมไปขายในต่างประเทศได้

“ภาพฝันที่เราอยากเห็นจะโหรมเครื่องแกงของเราจะมีวางขายทั่วประเทศ ไปทุกหย่อมหญ้ามีพริกแกงใต้ของเราจำหน่ายให้คนได้กินของอร่อย ราคาถูกในรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง  ชูโรงคำว่า แกงใต้แกงไทยแท้ๆ ไปที่ไหนก็มีอาหารไทยและอาหารใต้ให้คนได้กินของอร่อยที่เป็นรสชาติไทยแท้ๆ ”

Advertisement

ชุติมา  ได้ขยายความว่า หลังจากจะโหรมได้เข้าไปเป็นคู่ค้ากับแม็คโครในปี 2546 และได้เข้าร่วมโครงการแพลตฟอร์มแห่งโอกาส ทำให้ได้ขยายช่องทางการขายเครื่องแกงปักษ์ใต้จากตลาดสดสู่ห้างโมเดิร์นเทรดได้อย่างมั่นใจและพร้อมพัฒนาธุรกิจสู่ความเป็น ‘มืออาชีพ’ อย่างไม่หยุดนิ่ง เราได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากการได้เข้าร่วมแพลตฟอร์มแห่งโอกาสทำให้เราเป็นมืออาชีพมากขึ้น  ตั้งแต่การตอบลูกค้า  การจัดซื้อ การส่งของให้ตรงเวลา และส่งของให้มีคุณภาพ แม็คโครจะสอนเราเรื่องของการทำการตลาด  การทำ B2B  ระหว่างคู่ค้าด้วยกัน การพัฒนาระบบมาตรฐานต่างๆ ซึ่งตอนนี้จะโหรมเครื่องแกงได้รับมาตรฐานรับรองทั้งการขออย. เพื่อจำหน่ายอาหารในบรรจุภัณฑ์  รวมถึงเข้าทดสอบผ่านทุกมาตรฐานบริการต่างๆ ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น HACCP BRC และ SEDEX  ถือเป็นใบเบิกทางทำให้สินค้าของเราได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากลและทำให้สามารถขยายพริกแกงใต้ส่งออกไปยังต่างประเทศ

Advertisement

“ตอนนี้เราได้ส่งออกเครื่องแกงใต้ไปต่างประเทศรวม 12 ประเทศทั่วโลกแล้ว เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย สวีเดน ดูไบ  สำหรับเป้าหมายในปีนี้เราจะเน้นไปที่การผลิตพริกแกงไทยที่เป็น Ingredient เข้าตลาดอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทานในต่างประเทศมากขึ้น ซีพีได้เปิดโอกาสให้เราทำธุรกิจรวมกับบริษัทในเครือฯ นอกจากแม็คโครเราได้เอาพริกแกงไปวางจำหน่ายในโลตัสด้วย ซึ่งมองว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายในปี 2567 เพิ่มขึ้น 30%”

จุดเด่นของจะโหรมฯ คือเรื่องของ คุณภาพของวัตถุดิบที่มาทำพริกแกงเราคัดสรรมาเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันการทำธุรกิจของเราก็จะเน้นไปที่การสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วยการซื้อวัตถุดิบจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง เช่น ช่วงที่ยางราคาถูก เราก็จะไปบอกเขาว่าให้ปลูกตะไคร้ ปลูกขมิ้นในร่องสวนยาง ชาวบ้านก็จะปลูกแล้วก็เอามาส่งให้โรงงานได้ทุกวัน

“คำว่าโอกาสมันไม่ได้มีมาบ่อย และไม่ได้มีมาสำหรับทุกคน ฉะนั้นถ้ามีโอกาสเข้ามาเมื่อไรเราต้องรีบไขว่คว้า แล้วก็พัฒนาตัวเองให้สอดรับกับโอกาสที่เขาให้มา ทำให้ดีที่สุด แพลตฟอร์แห่งโอกาส จึงไม่ใช่แค่โอกาสแค่ตัวเราอย่างเดียว แต่เป็นการกระจายรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น และตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ   ถ้าเทียบเป็นร่างกายเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย ถ้าเราได้เข้าไปร่วมอยู่ในเส้นเลือดนั้น เราจะได้เข้าไปในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย  เป็นสิ่งที่ดีที่จะสร้างโอกาสให้ SME ไทยได้เติบโต” ชุติมา กล่าวปิดท้าย

 

เสื้อลายดอก ‘สกลทรัพย์เพิ่มพูน’ ส่งขายในโลตัสทั่วประเทศสร้างงาน-รายได้ให้ชาวสกลนคร

จากแนวคิดการทำธุรกิจด้วยหัวใจที่แบ่งปันให้กับคนในชุมชนได้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ทำให้แบรนด์ ‘สกลทรัพย์เพิ่มพูน’ SME ท้องถิ่นในจังหวัดสกลนครหนึ่งในผู้เข้าร่วมแพลตฟอร์มแห่งโอกาสของเครือซีพี ได้พยายามพัฒนาตัวเองจนสามารถพาสินค้าเข้าห้างโลตัสจำหน่ายเสื้อลายดอก เสื้อลำลองสวมสบายไปทั่วประเทศ จนทำรายได้ปีละราว 200 ล้านบาท (ก่อนวิกฤติโควิด-19) และยังเป็นธุรกิจที่ช่วยกระจายรายได้สู่คนในชุมชน เพราะพนักงานของโรงงานร่วม 100 ชีวิตเป็นคนในพื้นที่ทั้งหมด ขณะเดียวกันยังแจกจ่ายผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บให้พี่ชาวบ้านในละแวกโรงงานนำไปแปรรูปสร้างรายได้ในรูปแบบพรมเช็ดเท้า ไม้ถูพื้น และเปลญวณด้วย

ณิชชา มหาอัฑฒ์สกุล ผู้บริหาร หจก. สกลทรัพย์เพิ่มพูน เปิดเผยว่าได้มีโอกาสเริ่มต้นทำธุรกิจกับโลตัส หนึ่งในธุรกิจของเครือซีพีเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และพัฒนาตัวเองไปตามมาตรฐานที่ทางโลตัสกำหนด จนทำให้สินค้าเราได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยเครื่องหมาย Thailand Textile Tag การันตีสินค้าคุณภาพ ปลอดภัยต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการมอบความมั่นใจและการันตีให้ลูกค้าได้ว่าสินค้าที่เราผลิตนั้นมีคุณภาพ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของทีมงานอย่างมาก รวมไปถึงการได้รับโอกาสที่ได้เข้าร่วมในแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างรายได้จากช่องทางการขายของโลตัสที่แต่ละปีที่มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้น ทำให้เราได้เติบโตไปพร้อมกับคู่ค้า จากการสั่งออเดอร์รอบแรกเพียง 2 แสนตัว เคยมีออเดอร์มากที่สุดเข้ามาถึง 2 ล้านกว่าตัว เป็นเป้าหมายที่เกินคาดสำหรับเราที่เป็นแค่ธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็ก กลุ่มชาวบ้านก็เรียกลูกหลานที่ไปทำงานกรุงเทพฯ กลับมาทำงานด้วยกัน เพราะโรงงานนี้มีงานเยอะตลอดทั้งปี เราเน้นจ้างงานคนในพื้นที่ ให้โอกาสคนที่มีความบกพร่อง

นอกจากนี้การตัดผ้า จะมีเศษผ้าที่เหลือเราส่งไปต่อยอดให้กลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีต้นทุนทำธุรกิจ สามารถมารับเศษผ้านี้ไปสร้างรายได้เพิ่ม เช่น ทำพรมเช็ดเท้า ไม้ถูพื้น เปลญวน  ทำผ้าวนสำหรับเช็ดเครื่องจักรที่เย็บเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแล้วส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ทำให้เขามีรายได้เพิ่มโดยไม่ต้องลงทุน เป็นสิ่งที่เราทำมาตลอด

“โลตัส เปรียบเสมือนครูในการทำธุรกิจ คอยสอน คอยบอกให้พัฒนาสินค้าอยู่ตลอด เราเป็นแค่ SME เล็กๆในท้องถิ่นได้มีโอกาสไปเรียนรู้การทำธุรกิจกับองค์กรใหญ่ ทั้งการบริหารจัดการธุรกิจ การเลือกเครื่องจักรและวิธีการทำงานที่ได้มาตรฐาน การคำนวณต้นทุนต่างๆ  ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเลยค่ะ เรามั่นใจในการทำธุรกิจมากขึ้น ลูกค้าที่เข้ามาก็เชื่อถือเรา”

ณิชชา กล่าวว่า  จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้รายได้ยอดขายหายไปเกินครึ่ง  แต่ได้รับการช่วยเหลือจากการเข้าร่วมแพลตฟอร์มแห่งโอกาสของเครือซีพี โดยการให้โอกาสผลิตแมสก์จำนวน 2 แสนชิ้น  และให้เราไปหัดเย็บชุด PPE  ซึ่งเราไม่เคยทำ จากเคยทำงานผ้าต้องมาเย็บชุดกระดาษ เอาตัวอย่างขั้นตอนมาแกะแบบเองเลย จากวันแรกผลิตได้ประมาณ 200ชุด ต่อวัน สักพักปรับตัวได้ ทำได้ประมาณ 2,000 ชุดต่อวัน เราผ่านจุดนั้นมาด้วยความโชคดีเพราะมีคู่ค้าอย่างเครือซีพีดูแล  ทำให้เราปรับเปลี่ยนจากการผลิตเสื้อผ้า มาผลิตแมสก์ และชุด PPE เพื่อส่งขายผ่านห้างโลตัส โควิดผ่านไป 1 ปี ทางโลตัสก็รีบช่วยหาช่องทางให้ผู้ผลิตต้องไปต่อให้ได้ ทำให้เรายังประคับประคองธุรกิจได้ โดยไม่ได้เลิกจ้างพนักงานเลยสักคน  ต้องขอบคุณที่ให้โอกาสและช่วยผู้ประกอบการอย่างเราให้มีช่องทางในการค้าในช่วงวิกฤติได้

“วันนี้เรามีพนักงาน 100 คนเท่ากับมี 100 ครอบครัว  การทำธุรกิจเราคิดอยู่เสมอว่า ถ้าพนักงานมีชีวิตที่ดีขึ้น มีบ้าน มีรถยนต์ แปลว่าธุรกิจเราประสบความสำเร็จ แพลตฟอร์มแห่งโอกาสจึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาสให้แก่คนที่ไม่มีโอกาส สามารถสร้างคนที่มีความสามารถได้ฉายแสง และยังช่วยกระจายรายได้ให้คนในพื้นที่มีงานทำ ทุกคนจะได้มีชีวิตที่ดี ครอบครัวก็มีความสุข การให้โอกาสเป็นเรื่องดีที่สุด” ณิชชา กล่าวปิดท้าย

แพลตฟอร์มแห่งโอกาสเสริมแกร่ง SME-เกษตรไทยเติบโตไปด้วยกัน

เครือซีพีและกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ได้ให้ความสำคัญส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยของไทยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยการนำของซีอีโอศุภชัย เจียรวนนท์ ที่มีความตั้งใจจะส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจ SME และเกษตรกรไทยมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีนโยบายให้ 3 กลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในเครือซีพี ประกอบด้วย เซเว่น อีเลฟเว่น แม็คโคร และโลตัส เร่งผนึกกำลังดำเนินโครงการ ‘แพลตฟอร์มแห่งโอกาส’ เสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการไทยได้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าผ่านธุรกิจค้าปลีกของเครือฯ ที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนธุรกิจที่มีความพร้อมในการส่งออกต่างประเทศด้วย

ในขณะเดียวกันยังต่อยอดสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้ง CP Seeding Social Impact Co., Ltd. หรือ CPSSE ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดย่อย วิสาหกิจชุมชน รวมถึงเกษตรกรไทย ให้เกิดองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและตลาดโลก นอกจากนี้ยังได้มีการเชื่อมโยงโอกาสต่างๆ และช่องทางตลาด วัตถุดิบ องค์ความรู้ และโอกาสด้านเงินทุน จากความร่วมมือในเครือฯ และเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ผ่านช่องทางของแพลตฟอร์ม เช่นการเปิดเวทีจับคู่ธุรกิจ “SME Online Business Matching”  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEและเกษตรกรไทยทั่วประเทศสามารถนำเสนอสินค้าทุกประเภททั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคได้สามารถจัดจำหน่ายใน เซเว่น อีเลฟเว่น แม็คโคร และโลตัส รวมถึงเสริมช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในเครือข่ายของเครือซีพีเพิ่มขึ้น การสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ O2O (Online to Offline) ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสอุดหนุนสินค้าของผู้ประกอบการรายย่อยสามารถสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนพร้อมแข่งขันในตลาดโลกได้