กรมชลประทานเตรียมเดินหน้าก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ อ.ปากท่อ ราชบุรี สนองพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำอีกกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร สนับสนุนการเกษตรรวม 7,300 ไร่ พลิกฟื้นคุณภาพชีวิตท้องถิ่น

นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานราชบุรี เปิดเผยว่า ปี 2562 กรมชลประทานจะเริ่มงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำโป่งพรหม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในพื้นที่บ้านโป่งพรหม ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 1,064,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แห่งนี้ได้แล้วเสร็จในปี 2565  เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,700 ไร่ และสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค 200 ครัวเรือน

ถวัลย์ ติ่งทอง

ทั้งนี้ เมื่ออ่างเก็บน้ำโป่งพรหม ก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นการสนองพระราชดำริที่ทรงให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำครบทั้ง 6 แห่ง มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 3,278,030 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) รองรับพื้นที่เกษตร 7,300 ไร่ ซึ่ง ณ ปี 2542 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 5 แห่ง เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกไปแล้วกว่า 6,000 ไร่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อ่างเก็บน้ำบ้านไทยประจันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ อ่างเก็บน้ำหินสีตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

นายสุชาติ กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง ในพื้นที่ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรพื้นที่ บริเวณอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทประจัน บ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และโครงการป่าสิริกิติ์ บ้านห้วยม่วง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ณ บ้านไทประจัน ในวันที่ 10 เมษายน 2534 ครั้งนั้นพระองค์ได้พระราชทาน พระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครงการ และก่อสร้าง  แหล่งน้ าช่วยเหลือการเพาะปลูก และการอุปโภค-บริโภค รวม 6 แห่ง ตามที่ราษฎรได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทาน

สุชาติ กาญจนวิลัย

ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันดำเนินงานสนองพระราชดำริ โดยการพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งได้ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 5 แห่ง ถึงปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำทั้งหมด มีสภาพสมบูรณ์ สามารถช่วยเหลือราษฎรได้อย่างทั่วถึง โดยอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งจะมีกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ช่วยกัน ดูแลรักษาสภาพพื้นที่อ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำร่วมกับโครงการชลประทานราชบุรี และมีการประชุมกลุ่มเพื่อร่วมกัน วางแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงก่อนและหลังฤดูเพาะปลูก

“อำเภอปากท่อ เป็น 1 ใน 3 อำเภอของ จังหวัดราชบุรี ที่ไม่มีระบบชลประทาน เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรง พระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน อำเภอปากท่อ ในปี 2534 เป็นปีที่ชาวบ้าน ตำบลยางหัก ดีใจมากที่ พระองค์ทรงมีพระรำชดำริให้กรม ชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 6 อ่าง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการพลิกชีวิตชาวบ้านที่นี่ จากเมื่อก่อนทำการเกษตรกันช่วงฤดูฝนเท่านั้นเพราะขาดแคลนแหล่งน้ำ แต่หลังจามีอ่างพระราชทาน ชาวบ้านที่นี่ก็มี รายได้ดีขึ้น” นายสุชาติ กล่าว

นายถวัลย์ ติ่งทอง ประธานอ่างเก็บน้ำหินสีตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อดีตกำนัน ตำบลยางหัก ซึ่งเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานความช่วยเหลือ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่เมื่อปี 2534  กล่าวว่า ในอดีตประชาชนเมื่อก่อนชาวบ้านแถบนี้ จะออกไปขายแรงงานนอกพื้นที่ เพราะทนความแห้งแล้งไม่ไหว ในฤดูแล้งที่นี่ี่แล้งมาก แต่พอมีอ่างเก็บน้ำที่นี่เปลี่ยนแปลงไปมาก ชาวบ้านมีอาชีพ หน้าแล้งก็มีผลผลิต ปลูกผัก ผลไม้ได้ ไปส่งตลาดศรีเมือง ซึ่งเป็นตลาดขายส่งขนาดใหญ่ของจังหวัดราชบุรี มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากพื้นที่น้ำเข้าไม่ถึง ตอนนี้มีระบบท่อส่งน้ำ ที่กรมชลประทานทำให้ ต่อไปถึงที่ดอน เมื่อมี แหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งงานเกิดขึ้นมากมายที่นี่ี่ สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดว่า ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นายจันทร์ ทองหวี ประธานอ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เล่าว่า เมื่อก่อนชาวบ้าน ลำบากสุดๆ ถ้าฝนไม่ดี ก็ไม่ได้ผลผลิต เพราะการเพาะปลูกเมื่อก่อน รอฝนอย่างเดียว ตอนนั้นปลูกได้     2 อย่าง คือฝ้ายกับข้าวโพด รายได้ไม่ดี บางปีแทบไม่ได้เลย แต่หลังมีแหล่งน้ำ ชีวิตคนแถบนี้เปลี่ยนแปลงหน้ามือเป็นหลังมือ กรมชลประทานได้มาดำเนินการต่อท่อส่งน้ำเข้าไร่เข้าสวนให้ ในหนึ่งปีสำมารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องชุมชนมีระบบการจัดสร้างในรูปแบบกลุ่ม มีระบบควบคุม ตอนนี้ปลูกพืช หลากหลาย เพราะน้ำเรามีมากพอ เช่น มะละกอ กล้วย อ้อย ขนุน ส้มโอ ทุเรียน เงาะ กระท้อน มีรายได้เพิ่มเยอะ เมื่อก่อนรายได้ 1-2 หมื่นล้าน ตอนนี้ทะลุเกินหลายแสนต่อปี