มะละกอพันธุ์ครั่ง มะละกอส้มตำแสนอร่อยแห่งที่ราบสูง

มะละกอพันธุ์ครั่ง

“มะละกอ ผลไม้เมืองร้อน ลูกโต วัตถุดิบหลักในการทำส้มตำ อาหารยอดนิยมของคนไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย หาใช่เพียงรสชาติที่แซ่บถึงอกถึงใจเท่านั้น ส้มตำถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเมนูหนึ่งที่ให้ไขมันและพลังงานต่ำ แต่มีใยอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ได้จากวัตถุดิบหลัก เช่น มะละกอ หากแต่ต้องปรุงรสชาติให้พอเหมาะพอควร

ประเทศไทย มีพื้นที่เพาะปลูกมะละกอ ประมาณ 50,000-70,000 ไร่ มีผลผลิตประมาณ 1.3-2 แสนตัน โดยผลผลิตที่ส่งออกมีปริมาณ 4,000 ตัน ต่อปี ดังนั้น ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ พันธุ์มะละกอที่ผู้ประกอบการรู้จักมากที่สุด คือ พันธุ์ดำเนิน รองลงมาคือ แขกดำ แขกนวล และมะละกอศรีสะเกษ ส่วนพันธุ์ที่ซื้อมากที่สุด ร้อยละ 96.09 คือ ดำเนิน เนื่องจากพันธุ์ดำเนินมีความกรอบ เนื้อแน่น เนื้อเยอะและเมล็ดน้อย แต่ถ้าเทียบเรื่องความกรอบ พันธุ์ครั่ง ก็ไม่แพ้เช่นกัน”

ต้นมะละกอพันธุ์ครั่ง

มะละกอพันธุ์ครั่ง

มะละกอพันธุ์ครั่ง เริ่มจากได้มีการนำพันธุ์จาก บ้านคุยเชือก ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม นำมาปรับปรุงพันธุ์ใหม่ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การควบคุมของกรมส่งเสริมการเกษตร (ชื่อเดิม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดมหาสารคาม (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ) ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการรับรองพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2549

โดยลักษณะประจำพันธุ์คือ เมื่ออายุ 1-3 เดือน จะมีจุดสีแดงอมม่วง (สีเลือดครั่ง) ตามลำต้น ก้านใบ และเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จุดจะจางหายไป จึงเป็นที่มาของคำว่า “ครั่ง”

จุดเด่นของมะละกอครั่ง คือ เมื่อติดผล แต่ละช่อจะมี 1-5 ผล มีความยาวเฉลี่ย 47 เซนติเมตร บางผลยาวถึง 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 9 เซนติเมตร น้ำหนักผลเมื่อผลเริ่มมีสีเหลือง 25 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม ต่อผล จำนวนผลเฉลี่ย 38 ผล ต่อต้น โดยผลดิบ เนื้อจะมีสีขาวขุ่น กรอบ มีรสหวานเล็กน้อยเป็นเอกลักษณ์ เหมาะสำหรับทำส้มตำ ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม รสหวาน ความหวานเฉลี่ย 12.7 องศาบริกซ์ เป็นมะละกอพันธุ์เบาติดผลเร็วและยังมีความทนทานต่อโรคและแมลง สามารถปลูกได้ทุกสภาพดินและปลูกได้ตลอดทุกฤดูกาล

ผลมะละกอพันธุ์ครั่ง
ผลสุกมะละกอพันธุ์ครั่ง

การผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ครั่ง

การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีการขยายพันธุ์วิธีการนี้เพื่อการค้า เนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้รับและสามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก

เมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ครั่ง

การช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มปริมาณและความสมบูรณ์ของเมล็ด

การผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อให้ไดเมล็ดพันธ์ุจำนวนมากและตรงตามพันธุ เป็นสิ่งจำเป็น โดยปกติการผสมปล่อยตามธรรมชาติอาจไมมีเมล็ดหรือมีเมล็ดน้อย การช่วยผสมเกสรดอกมะละกอจะช่วยเพิ่มผลผลิต จำนวนเมล็ดในผลเพิ่มขึ้น และเมล็ดมะละกอมีความสมบูรณขึ้น ซึ่งวิธีการช่วยผสมเกสรมะละกอเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จะต้องเป็นเมล็ดที่ไดจากต้นสมบูรณเพศเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มี 3 เพศ คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นสมบูรณ์เพศ ในการผสมเกสรจะใช้ดอก Reduced Elongata ซึ่งเป็นดอกสมบูรณเพศทำหน้าที่เป็นดอกตัวผู้ ผสมกับดอกสมบูรณ์เพศชนิด Elongata ซึ่งเป็นดอกที่จะทำให้มะละกอมีรูปร่างผลยาว

เกสรมะละกอพันธุ์ครั่ง

ลักษณะดอกที่พร้อมผสมเกสร

  1. ดอก Reduced Elongata คือดอกสมบูรณเพศที่ทำหน้าที่เป็นดอกตัวผู้ มีลักษณะกลีบดอกแข็ง มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมียขนาดเล็ก ดอกชนิดนี้ไม่มีการติดผล ดอกที่พรอมจะนำไปผสมได้ กลีบดอกจะเป็นสีครีมทั้งหมด มีละอองเกสรติดอยู่ที่ปลายของก้านชูละอองเกสรเป็นดอกที่บานแลว
  2. ดอก Elongata คือดอกสมบูรณเพศ (กะเทย) ที่ให้ผลยาว มีลักษณะรังไขขนาดยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงเป็น 2 วง เกิดบนขอบกลีบดอกด้านใน ดอกที่พรอมจะผสมได จะมีลักษณะสีขาวทั้งหมด หรือเป็นสีครีม ถ้าดอกชนิดที่ยังอ่อน กลีบดอกจะเป็นสีเขียวอ่อน ดอกที่พรอมจะผสมจะเป็นดอกที่กำลังจะบาน คือ ก่อนบาน 1 วัน

วิธีผสมเกสร

  1. ในระยะที่ปลายกลีบดอกของดอกสมบูรณ์เพศเริ่มแย้มออกแต่ยังไม่บาน ให้เด็ดดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ดอกตัวผู้จากต้นเดียวกัน หรือจากต้นสมบูรณ์เพศใกล้เคียงมา เพื่อเป็นแหล่งของละอองเกสรตัวผู้ โดยเด็ดกลีบดอกออกเหลือไว้เพียงช่ออับละอองเกสรตัวผู้ที่แก่เต็มที่ (เมื่อเคาะลงบนฝ่ามือจะเห็นเป็นละอองคล้ายแป้งสีเหลืองอ่อน)
  2. ป้ายเบาๆ ลงบนยอดเกสรตัวเมียของดอกสมบูรณ์เพศ
  3. เวลาในการช่วยผสมเกสร ควรเป็นช่วงเวลาเช้า ก่อนเวลา 10.00 น.

การเก็บและทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์

  1. เก็บผลผลิตเมื่อผลมะละกอปรากฏสีเหลือง 25-30% หรือมีสีเหลืองหนึ่งในสี่ของผล นำมาบ่มไว้ 2-3 วัน จนมะละกอสุกเต็มที่ แล้วผ่าขูดเอาเมล็ดออก
  2. นำเมล็ดที่ได้มาแช่ในน้ำสะอาดให้ท่วมเมล็ด หมักไว้ 1 คืน ไม่ควรหมักเมล็ดไว้นาน เพราะจะทำให้ เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
  3. ล้างเมล็ดโดยนำเมล็ดมาใส่ถาดที่มีรูหรือตาข่ายสีเขียว สวมถุงมือขยี้หรือใช้ยางบดเบาๆ เพื่อแยกเอาเยื้อหุ้มเมล็ดออก

 

วิธีการปลูก

  1. การเลือกพื้นที่ปลูกให้ห่างจากแปลงมะละกอพันธุ์อื่นอย่างน้อย 800 เมตร เพื่อป้องกันพันธุ์ปน จากการผสมข้าม
  2. การเตรียมดิน ไถและพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ถ้าดินมีค่า pH ต่ำกว่า 6.0 ให้หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ ในอัตรา 200-300 กิโลกรัม/ไร่ คลุกดินโดยการไถพรวน แล้วทิ้งไว้ 10-15 วัน หลังจากนั้น ไถยกร่อง สูง 20-30 เซนติเมตร กว้าง 1.5 ม. (ระยะระหว่างกลางสันร่อง 2.5-3.0 เมตร) เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณหลุมปลูก
  3. การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกลางร่องปลูก ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 2.0-2.5 เมตร ใส่แกลบดิบและแกลบเผาอย่างละ 5 กิโลกรัม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม หินฟอสเฟตบด 1 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 จำนวน 150 กรัม ผสมดินในหลุมปลูกกับวัสดุปรับปรุงดิน รดน้ำให้ชื้นและยุบตัวดี หว่านเชื้อไตรโคเดอร์มา 50-100 กรัม/หลุม เพื่อลดการสูญเสียจากโรครากเน่าโคนเน่า คลุมบริเวณหลุมด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงปลูกได้
  4. การเพาะกล้าและย้ายกล้าปลูก คลุกเมล็ดพันธุ์มะละกอด้วยสารกำจัดเชื้อราริโดมิล เพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ขนาด 4×6 นิ้ว 3 ต้น/ถุง เมื่อต้นกล้าอายุ 45 วัน จึงย้ายลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้หลุมละ 3 ต้น ไม่ควรปลูกลึกจะทำให้รากเน่า
  5. การคัดเพศเมื่อมะละกอแสดงเพศแล้วจึงถอนแยกให้เหลือต้นกะเทยผลยาวไว้ หลุมละ 1 ต้น

การปฏิบัติดูแลรักษา

  1. การใสปุย ก่อนติดผลใสปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใสปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 1.2 กกโลกรัม/ตน/ป โดยแบ่งใส่เดือนละครั้ง ครั้งละ 50-150 กรัม/หลุม แล้วแต่อายุพืช หลังติดผลใสปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัม/หลุม และใสปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 150 กรัม/หลุม เดือนละครั้ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตทั้งต้นใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 150-200 กรัม/ตน/เดือน นอกจากนี้ อาจให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองพ่นทุกสัปดาห์ วิธีใสปุย หว่านรอบโคนต้นภายในทรงพุ่มและพรวนดินเบาๆ อย่าให้กระทบกระเทือนราก
  2. การให้น้ำและการระบายน้ำ ในฤดูแล้งต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดอย่าให้ดินแห้ง ในช่วงฤดูฝน ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องให้น้ำ แต่ถ้าฝนตกหนักจะต้องดูแลการระบายน้ำไม่ให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น โดยเสริมร่องปลูกให้สูงอยู่เสมอ
  3. การกำจัดวัชพืช ไมควรใช้จอบถางบริเวณโคนต้น เพราะรากจะถูกตัดขาด โรคเขาทำลายได้ แต่ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีวัชพืชขึ้น นอกทรงพุ่มต้องใช้เครื่องตัดหญ้าหรือมีดตัดให้สั้น การคลุมโคนต้น ใช้ฟางข้าวคลุมโคนต้นและหมั่นเติมฟางอยู่เสมอจะช่วยลดวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน
  4. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังปลูกมักพบโรครากเน่าและโคนเน่าจึงควรราดโคนต้นด้วยสารเคมีริโดมิลหรือเทอรราคลอซูเปอรเอ็กซ์ ในช่วงฝนตกชุกก็เช่นเดียวกันจะมีโรครากเน่า โคนเน่าระบาดมาก แม้มะละกอจะออกดอกหรือติดผลแลว จึงต้องราดโคนด้วยสารเคมี ทุกๆ 15 วัน การหว่านเชื้อไตรโคเดอรมาก่อนปลูกและหว่านซ้ำทุกๆ 4 เดือน จะช่วยลดการใช้สารเคมีลงกว่าครึ่ง การพ่นสารเคมีทางใบเพื่อป้องกันกำจัดแมลงหรือเชื้อรา ตองระมัดระวังเนื่องจากใบมะละกออาจไหม้ไดจึงควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
  5. การเก็บเกี่ยวมะละกอ เริ่มเก็บเกี่ยวไดเมื่ออายุ 8-10 เดือน จะเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีสีผิวเปลี่ยนจากเขียว เป็นเขียวอ่อน หรือเมื่อปรากฏแต้มสีเหลืองบริเวณปลายผล                                              เอกสารอ้างอิง
    • อาจารย์แววตา เอกชาวนา นักโภชนาการบำบัดและผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
    • อรวรรณ ศรีโสมพันธ์, นริศ สินศิริ, สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และ วิทวัส บุตรโส. 2561. ความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคมะละกอของร้านส้มตำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารแก่นเกษตร หน้า 46 ฉบับพิเศษ 1
    • จิรภา พุทธิวงศ์, สมพงษ์ สุขเขตต์, อเนก บางข่า และโกมินทร์ วิโรจน์วัฒนกุล. 2551. เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์. ผลงงานวิจัยใช้จริงจากหิ้งสู่ห้าง ครั้งที่ 2