ชีวิตดีๆ บนผืนดินเกษตรอินทรีย์ ที่อุ่นไอรักษ์ เชียงราย

ที่ดิน 69 ไร่ สำหรับ 65 ครัวเรือน เฉลี่ยครอบครัวละ 1 ไร่ ที่ใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้เลี้ยงตัวเองได้ ดูจะเป็นเรื่องไม่ง่ายหากบริหารจัดการไม่ดี และอาจก่อปัญหาซ้ำคือขาดทุนจนต้องอพยพย้ายถิ่นไปทำมาหากินในเมืองใหญ่อีก

แปลงผักเชียงดา

แต่สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเชียงรายอุ่นไอรักษ์ 65 ครัวเรือน มีผู้นำที่ใช้ความเข้าใจ เน้นการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็ง จนสามารถบริหารจัดการที่ดิน 69 ไร่ ได้อย่างน่าชื่นใจ และมั่นใจว่าจะสร้างความสุข ความปลอดภัย ความมั่นคงด้านอาหารให้กับชุมชนนี้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างแน่นอน

เปิดหัวใจสีเขียว “จรัส บำรุงแคว้น” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอุ่นไอรักษ์

“ตอนนี้กำลังขุดสระเพิ่ม แล้วก็ปลูกผักเป็นผักเชียงดา มีเรือนเพาะชำ เพาะกล้าไว้เตรียมลงแปลงผัก สมาชิกยังคงมี  65 ครัวเรือน สมาชิกส่วนมากมีอาชีพหลักอาชีพประจำ การเกษตรที่เราทำเป็นเกษตรแปลงเล็ก ส่วนใหญ่ต้องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ บางคนมี 200 ตารางวา บางคนมี 1 ไร่บ้าง ก็มาจากการสำรวจรายได้ กับความสามารถในการเช่าซื้อ แล้วก็การจัดการ”

จรัส บำรุงแคว้น บอกและเล่าต่ออีกว่า

ภาพถ่ายดาวเทียม แปลงที่ดินริมกก

“แต่ละคนออกแบบพื้นที่ไม่เหมือนกัน บางคนอาจขุดเป็นร่อง ขุดร่องเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ เรามีคลองไส้ไก่น้ำเข้าทุกแปลง มีบ่อเดิมเพราะพื้นที่เดิมมันมีบ่อทราย ก็ใช้น้ำจากตรงนั้น ปีนี้ที่ว่าแล้งสุดๆ ก็ยังมีน้ำใช้ยังไม่แห้ง คือน้ำเราไม่ขาด”

เป้าหมายของจรัสมาค่อนทางแล้ว เมื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเชียงรายอุ่นไอรักษ์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 หลังจาก บจธ. เข้ามาหนุนเสริมตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 เริ่มจากการจัดซื้อที่ดิน เนื้อที่ 68-2-54.5 ไร่ ด้วยงบประมาณ 34,091,635 บาท ในพื้นที่บ้านใหม่กือนา ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แล้วให้กลุ่มที่จดทะเบียนและมีความเข้มแข็ง มีแผนบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินได้เช่าในช่วง 1-2 ปีแรก และเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 30 ปี

คุณจรัส บำรุงแคว้น

เมื่อถามว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

“แนวโน้มไปได้นะ เพราะว่าทุกคนแฮปปี้กับตรงนี้ แต่ละคนมีความกระตือรือร้นมาก ส่วนใหญ่พวกเรามาจากชุมชนเมือง 60% ถึงมีเงินเดือน ทำงาน สุดท้ายก็ต้องเอาไปซื้อสารพิษเข้าบ้าน ทำไมต้องทำร้ายตัวเอง”

“ผมอายุ 58-59 แล้ว เมี่อก่อนรับเหมาก่อสร้างตอนนี้เลิกแล้ว จะตั้งหน้าตั้งตาทำสวนอย่างเดียว ผมกับภรรยาเช่าซื้อแปลง 1 ไร่ มีบ่อ มีสระ บ่อปลาด้วยรวมก็ประมาณ 2 ไร่กว่า ลงปลานิล ปลาตะเพียน ไปแล้ว เราเคยไปอบรม 1 ไร่ 1 แสน ที่อำเภอพาน หลักของผมก็คืออยากกินอะไรก็ปลูกอันนั้นแหละ ผมชอบกินผักเชียงดา ผักกาด ผมก็ปลูก มันก็ปลอดภัย ดีกว่าไปซื้อผักอาบสารพิษเข้าบ้าน เงินก็อยู่ครบ ผักก็มีกิน”

Landscape แปลงอุ่นไอรักษ์

ทำไมต้องผักเชียงดา

“เชียงดา เป็นผักพื้นเมืองทางเหนือ เคยหายากอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนนี้คนเริ่มกลับมาปลูกกันมากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ต้มหรือทำเป็นชา ใบสดกิโลกรัมละ 20 บาท ถ้ายอดมัดเป็นกำ กำละ 10 บาท ทั้งต้นก็กิโลกรัมละ 30 บาท ผมชอบกินผักเชียงดา กะปลูกไว้กิน แบ่งพื้นที่ไว้แล้ว”

จรัส โมเดล

“ผมแบ่งที่เป็น 3 ส่วน 30% แรกก็จะเปิดเป็นร้านเล็กๆ สำหรับสมาชิกมานั่งเสวนา กินข้าวร่วมกัน หรือคนที่มาเยี่ยมเรา ที่ดินส่วนที่ 2 อีก 30% ปลูกผักที่ชอบกิน พวกผักกาดขาว ผักราก ผักเชียงดา ที่ดินส่วนที่ 3 ผมปลูกผักผสมผสาน เรียนรู้ไปเรื่อยๆ เน้นกิน ถ้ามีมากก็จะขายเป็นทุน เราไม่หวังว่าจะทำสวนแล้วรวยขอให้เรามีกินไม่ต้องซื้อ”

แหล่งน้ำ

ภาพแปลงผักในฤดูแล้งที่นี่จึงมีสีเขียวของผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี พริก ผักเชียงดา มะรุม มะเขือ และฟักทอง มาเติมผืนดินให้สดชื่นขึ้นมากทีเดียว

“แนวคิดแบบนี้ก็ถ่ายทอดให้สมาชิก ก็มีความคิดว่าเราสูงอายุขึ้น เราแก่ขึ้นทุกวัน อยากมีอาหาร ปลอดภัยกินในครอบครัว แล้วถ้าเรากินเฉพาะครอบครัวเรา แล้วคนอื่นล่ะ ผมคิดถึงศูนย์เรียนรู้ ถ้าเรามีอาหารปลอดภัย คนจะป่วยน้อยลง ไปโรงพยาบาลกันน้อยลง ก็ชวนชาวบ้านดู มีคนสนใจ ตอนแรกก็เข้ามาเยอะ สุดท้ายก็เหลือแค่คนที่อยากทำจริง เพราะต้องมาร่วมประชุม วางแผน มาอบรม ตามกติกา ทุกวันนี้ก็ทำต่อเนื่อง แล้วก็มีประชุมกันทุกเดือน ทุกคนก็ชอบ”

“ตอนนี้ยิ่งพบว่าเราเดินมาถูกทางหลังสถานการณ์โควิด-19 ระบาด เรามีอาหารปลอดภัย


พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, มติชนสุดสัปดาห์ และศิลปวัฒนธรรม ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 31 พ.ค. 63 เท่านั้น! คลิกดูรายละเอียดที่นี่