แผ้ว ดิษกุล…ตัวจริง เสือ กลิ่นสัก ในละครร้อยป่า ลูกแม่โจ้รุ่น 11 อดีตพนักงานป่าไม้ตงฉินจนลือลั่นสนั่นป่า

นักอ่านหนังสือประเภทนวนิยาย เมื่อกึ่งศตวรรษที่ผ่านไปจวบจนปัจจุบัน คงจะเคยได้สัมผัสเคยอ่านเรื่องร้อยป่า ที่ประพันธ์โดยนามปากกานักเขียนชื่อดังของฟ้าเมืองไทย โดย อรชร กับ พันธุ์ บางกอก นักประพันธ์เรื่องร้อยป่าที่นักอ่านทุกเพศวัยต่างพากันติดนวนิยายเรื่องนี้อย่างงอมแงมกันเลยทีเดียว เป็นนวนิยายที่เคยขายดีสูงสุดในสมัยนั้น

เป็นเรื่องราวของลูกผู้ชาย ลูกแม่โจ้ ลูกป่าไม้ (แพร่) ที่นักเขียนโดยเฉพาะ พันธุ์ บางกอก เคยเป็นศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 11 รุ่นเดียวกับ แผ้ว ดิษกุล ในฐานะเคยเรียนด้วยกันสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ราวปี พ.ศ. 2487 ต้องติดตามอ่านถึงประวัติชายคนนี้

สุดท้ายต่างก็มาเรียนจบแม่โจ้แล้วมาเรียนต่อโรงเรียนป่าไม้แพร่ด้วยกัน แล้วมาทำงานที่กรมป่าไม้แห่งเดียวกัน จึงเกิดเป็นเรื่องร้อยป่าขึ้นมา

ด้วยความเป็นคนมีพรสวรรค์ของนักเขียนที่นำตัวละครของเพื่อนที่มีบุคลิกเป็นคนรักอาชีพป่าไม้ รักษาผืนป่ามาด้วยความรัก ความเป็นคนตรงไปตรงมา ไม่ก้มหัวให้นายทุนค้าไม้เถื่อนที่จะครอบงำ ไม่แปลกนัก ที่เนื้อหาเรื่องราวของป่าไม้ในนวนิยายร้อยป่า ได้มโนภาพเรื่องป่าไม้ได้กลมกลืนกับตัวละคร ทั้งผู้เขียนและผู้ถูกอุปโลกน์ให้เป็นตัวละครป่าไม้ที่ตงฉิน ฝ่าฟันกับคู่อริที่เข้ามาทำลายป่าที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บรรดามอดไม้และนายทุนต่างเข็ดขยาดตามๆ กันในท้องเรื่อง เสือ กลิ่นสัก จึงได้รับความนิยมชมชื่นของบรรดานักอ่านประเภท บู๊ บุ้น รักป่า ให้เยาวชนรุ่นหลังมาปกป้องผืนป่าที่ถูกทำลายลงไปทุกปี

ในตัวละครจริง พระเอกของ “ร้อยป่า” เป็นพนักงานป่าไม้ สมกับความรอบรู้ผู้ประพันธ์ที่สอดแทรกอิงนวนิยายสมจริงสมจัง ในภาษาผู้รอบรู้เรื่องป่าไม้ของ พันธุ์ บางกอก

ได้เวลารับประทานอาหารกันแล้วระหว่างพักเรียน

ส่วนนักเขียนนามว่า “อรชร” ต่างถนัดในบทบาทนักประพันธ์ เนื้อหาในด้านบทบู๊ บทรัก มาผสมผสานความรู้ในเรื่องราวป่าไม้ที่ถูกนำมาถ่ายทอดให้เป็นนวนิยายที่สมจริงสมจังในท้องเรื่อง จึงไม่ต้องแปลกใจที่นักอ่านทั้งทุกเพศวัยติดกันเหมือนเสพติดยาอย่างไรอย่างนั้น

ด้วยความโด่งดังสนั่นป่า สำนวนระดับอ๋องจนทำให้คนอ่านติดตามอ่านกันอย่างงอมแงมก็แล้วกัน ในที่สุดก็ได้มีนักสร้างภาพยนตร์ในอดีตสนใจ ต้องนำสร้างภาพยนตร์เมื่อหลายสิบปี โดยมี มิตร ชัยบัญชา เป็นเสือ กลิ่นสัก แม้ตัวละครเอกจะหล่อเหลาเกินคนจริง แตกต่างกับพระเอกจริงในนวนิยายก็ยังมีคนแห่ดูกันมาก นักสร้างไม่ขาดทุน คนอ่านอาจจะผิดหวังบ้าง

ต่อมายุค สมบัติ เมทะนี ก็มารวมบทบาทเป็นพระเอกภาพยนตร์เรื่องร้อยป่า เป็น เสือ กลิ่นสัก ป่าไม้นักสู้คนพาลยังมีคนแห่ไปดูเช่นกัน ทั้งสองเรื่องนี้ทำให้สถาบันแม่โจ้ และสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้แพร่ โด่งดังเป็นพลุแตกเลยทีเดียวจากภาพยนตร์ดังกล่าว

ส่วนเรื่องละครโทรทัศน์ไม่ต้องห่วงเรื่องกระแสร้อยป่า จัดทำเป็นละครร้อยป่า ของช่อง 7 สี ก็เรตติ้งดี

แต่นักอ่านรุ่นเก่าอาจจะไม่สบอารมณ์และผิดหวัง เพราะเนื้อหาเรื่องร้อยป่าถูกแปรสภาพเป็นนวนิยายสมัยใหม่ แตกต่างกับในนวนิยายร้อยป่าหนังสือเหมือนหนังคนละม้วนกันเลย คนรุ่นใหม่กลับนิยม

การสร้างภาพยนตร์ที่ผ่านมาในยุคกลางก็คือมีพระเอก บิณ บรรลือฤทธิ์ รับบทเป็นตัวพระเอก เสือ กลิ่นสัก ก็ได้รับการต้อนรับจากแฟนอ่านนวนิยายเป็นจำนวนมากเช่นกัน

เมื่อหลายคนอ่านแล้ว เรื่องร้อยป่าเป็นภาพยนตร์และเนื้อหาในนวนิยายควบคู่กับป่าไม้ เพราะคนเขียน หรือประพันธ์ร้อยป่านั้น ว่าทำไมเขาจึงรู้เรื่องป่าได้ดี เจ้าของนามปากกา ว่า “พันธุ์ บางกอก” ที่มีนามจริงว่า คุณสมพันธุ์ ปานะถึก อดีตศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 11 และอดีตเคยศึกษาที่โรงเรียนป่าไม้แพร่ และรับราชการอยู่ที่กรมป่าไม้ ในตำแหน่งประชาสัมพันธ์

ไม่แปลกอะไรครับที่ คุณพันธุ์ บางกอก หรือ คุณสมพันธุ์ ปานะถึก จึงเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับป่าไม้ได้อย่างลึกซึ้งและกินใจ จากผู้อ่านเป็นจำนวนมากที่สามารถสร้างตัวละครอย่างสมจริงสมจัง ที่แท้ได้เปิดเผยเรื่องราวของนวนิยายที่ลือลั่นสนั่นป่า นิตยสารสิ่งตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายขายดี โดยเฉพาะนิตยสาร “บางกอก” ฉบับสัปดาห์ ทุกคนเฝ้ารอการออกวางจำหน่ายอย่างใจจดใจจ่อเลยทีเดียว เพราะพิมพ์เรื่องราวของร้อยป่าได้อย่างตรงใจ แฟนนักอ่านที่เฝ้ารอคอย พร้อมนักประพันธ์ถามว่า “อรชร” นักเขียนชื่อดังมานาน ย่อมจะเป็นที่ไว้ใจในฝีมือนักเขียนที่แฟนรู้จักกันดี

แผ้ว ดิษกุล แม่โจ้ รุ่น 11 วัย 95 ปี ถูกนักประพันธ์เพื่อนร่วมรุ่นสร้างเป็นตัวละคร “ร้อยป่า” นามว่า เสือ กลิ่นสัก หรือเสือแผ้ว ที่เพื่อนๆ เรียกกัน

คราวนี้ต้องมาถามความรู้สึกที่คุณสมพันธุ์ ปานะถึก ที่มีแรงจูงใจเรื่องนี้มาจากเพื่อนคนหนึ่งที่เรียนอยู่ในรุ่นแม่โจ้ที่เดียวกัน มีชื่อว่า “แผ้ว ดิษกุล” หรือ เสือแผ้ว ในนาม เสือ กลิ่นสัก พระเอกในนวนิยายร้อยป่าที่เรียนแม่โจ้ รุ่น 11 รุ่นเดียวกับคุณสัมพันธ์ นักประพันธ์ที่สถาปนาเรียกเพื่อนว่า เสือแผ้ว ที่คุณแผ้ว หรือพี่แผ้วไม่รู้ตัวว่า ถูกตั้งฉายาเรียกเป็นต้นแบบในพระเอกเรื่องร้อยป่าจริงๆ ว่า เสือ กลิ่นสัก

คุณแผ้ว เป็นนักเรียนร่วมสถาบันกับนักประพันธ์ ที่ชื่อ พันธุ์ บางกอก และทำงานกรมป่าไม้จนเกษียณ ที่แปลกกว่านั้น เขาล่ะ เสือ กลิ่นสัก หรือเสือแผ้ว อดีตข้าราชการกรมป่าไม้ อดีตป่าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษียณราชการแล้วในปี พ.ศ. 2529

ปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่ด้วยวัย 95 ปี พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ แม้เข้าสู่วัยชรา ก็ยังพบปะสังสรรค์กับรุ่นน้องๆ แม่โจ้

เหตุเพราะคุณสมพันธ์ จับเอาคุณแผ้วมาเป็นตัวละครเอก คงจะทราบถึงอุปนิสัยของเพื่อนดี ในยุคเรียนแม่โจ้ยังเป็นป่าและความเจริญ ในยุคนั้นแสนจะลำบาก จึงทำให้ลูกแม่โจ้รักและสามัคคีกันมาจนปัจจุบัน รุ่นแม่โจ้ 87 แล้ว กลายมาเป็นถิ่นเจริญรุ่งเรือง

เพราะว่าชีวิตของนักเรียนป่าไม้แพร่ ก็คงจะพบวิบากกรรม การเรียนและทำงานต่างอดทนและแข็งแกร่ง จึงรอดมาได้ไม่ต่างกับนักเรียนแม่โจ้ ความพยายามและอดทนจึงมีวันนี้

อ่านชีวประวัติของคุณแผ้ว ดิษกุล เป็นมาอย่างไร ผมจะขอเล่าถึงการศึกษาและทำงานพอสั้นๆ ไว้เป็นการศึกษาชีวิตของผู้ที่ฟันฝ่าการเรียน และวิบากกรรมการย้ายที่เรียนบ่อยมาก

คุณแผ้ว ดิษกุล เกิดปี พ.ศ. 2469 เขาเป็นลูกคนที่ 5 ในพี่น้อง 7 คน อาชีพชาวนา เกิดที่หมู่บ้านคลองกะไห ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

พออายุได้ 6 ขวบ บิดา มารดา ก็นำมาฝากเลี้ยงอยู่กับ พระภิกษุเพียร ที่มีศักดิ์เป็นญาติ

แผ้ว ดิษกุล หรือเสือ กลิ่นสัก ในวัย 95 ปี ด้วยความศรัทธาพระช่วงเกษตรศิลปการ ทุกวันที่ 20 กรกฎาคม เขาจะทำบุญให้กับอาจารย์ผู้มีพระคุณ สมัยครั้งยังเรียนที่แม่โจ้ ครบรอบวันเกิดผู้มีพระคุณ

แต่ด้วยพระภิกษุเพียร ต้องย้ายวัดบ่อย เพราะเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ต้องหอบหิ้วเอาเด็กชายแผ้ว ย้ายโรงเรียนบ่อย จึงฝากไว้ที่วัดในเมืองแปดริ้ว จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปี พ.ศ. 2480 แล้วเข้าเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา ชื่อโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี พ.ศ. 2486

จบแล้วไปสมัครเป็นครูได้ 1 ปี ต่อมาปี 2487 บิดาขอให้ลาออกเพื่อให้ไปสมัครที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2487 ขณะนั้นยังมีสงครามโลกครั้งที่ 2 และเข้าไปเรียนในรุ่น 11 เป็นปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียน จำนวน 133 คน การเดินทางจากกรุงเทพฯ ด้วยขบวนรถไฟกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ เมื่อเดินทาง ทางโรงเรียนนำรถยนต์มารับไปแม่โจ้

เมื่อเข้าไปเรียนทุกคนต้องนอนอยู่หอพัก หลังคามุงด้วยใบตองตึง มีอาหาร 3 เวลา ตื่นเช้าเวลา 6 โมง ออกมาฝึกงานภาคสนามจนถึง 7 โมงเช้า ใช้จอบ เสียม เป็นเครื่องมือ แล้วรับประทานอาหารเวลา 7-8 โมงเช้า ตามปกติ

เข้าเรียนเช้า พักเที่ยง ถึงเวลาบ่าย 4-6 โมงเย็น ต้องฝึกงานภาคสนามอีก เสร็จแล้วเข้าพักหอรอรับประทานอาหารมื้อเย็นเป็นเวลาปกติทุกวัน หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และหยุดเทอม 2 เดือน เมื่อสอบไล่ประจำปีเสร็จแล้วระหว่างภาวะสงครามโลกยังไม่เลิก การเดินทางไปมาระหว่างจังหวัดเป็นไปอย่างลำบากมาก บ้านใครอยู่ใกล้ได้กลับบ้านเร็ว ใครอยู่ไกลกลับไม่ได้ ทำนองนั้น

ปฏิบัติงานกลางแจ้ง ลูกแม่โจ้ แข็งแกร่ง สู้แสงแดด

แล้วคุณแผ้วกับเพื่อนอยู่บ้านไกลไม่ได้กลับ ระหว่างปิดภาคเรียนเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2488 คุณแผ้วกับเพื่อนที่ไม่ได้กลับบ้านต่างปลูกผักขาย เพื่อหารายได้ไว้ใช้ ไม่ต้องขอเงินจากพ่อแม่ ครั้นเรียนจบแม่โจ้ ปี พ.ศ. 2489 จบแม่โจ้แล้วก็ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 1 ปี พ.ศ. 2489 เรียนรวมกันหมด ยังไม่แยกคณะ จนได้ขึ้นปี 2 พ.ศ. 2490 ต่างคนต่างแยกกันไปเรียนตามคณะที่ตนเองชอบ

คุณแผ้ว เลือกเรียนคณะวนศาสตร์ ซึ่งสถานที่ศึกษาอยู่ที่จังหวัดแพร่ ต้องนอนหอพักเหมือนเดิม ทำให้นักเรียนอยู่รวมกัน สนิทสนมกันดี การเรียนป่าไม้ต้องออกฝึกภาคสนามปีที่ 1 ที่ฝึกงานป่าเบญจพรรณ ที่ป่าพุแค จังหวัดสระบุรี ขึ้นปีที่ 2 ออกฝึกที่ป่าเขาสน ที่ดอยสุเทพ เชียงใหม่

ระหว่างฝึกงานที่ดอยสุเทพ คุณแผ้ว พบรักกับ คุณเยาวภา อินทะมา ที่บ้านเชิงดอยสุเทพ เป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2491

หลังปิดภาคการศึกษา จึงได้ลาบวชที่บ้านเกิด ปี พ.ศ. 2492 ได้ 1 เดือน ก็ออกมาเรียนต่อปีสุดท้าย ปี พ.ศ. 2492 เป็นการฝึกงานหนักเพิ่มโดยเริ่มต้นที่สวนสัก ห้วยไร่-เด่นชัย สวนสักแม่ต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ แล้วต่อที่สวนสัก-ห้วยทาก อำเภองาว จังหวัดลำปาง และแหล่งสุดท้ายป่าทุ่งเสลี่ยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จนจบการศึกษาได้อนุปริญญา

มาเริ่มต้นทำงานที่กรมป่าไม้ พ.ศ. 2493 ไปเป็นลูกจ้างกรมป่าไม้ กองบำรุง ถูกส่งตัวไปที่สวนสนหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผู้ช่วยหัวหน้า พอทำงานได้ 3 เดือน ก็ขึ้นไปแต่งงานกับคุณเยาวภา อินทะมา ที่ดอยสุเทพ เชียงใหม่

หอพักสมัยเขาเรียน เป็นเรือนพักสมัยใหม่สุดในยุคนั้น โดยอาจารย์พระช่วง โลจายะ คอยควบคุมดูแล

กระทั่งปี พ.ศ. 2496 จึงได้สมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการสามัญชั้นตรี ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี ประจำสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดนครสวรรค์

หน้าที่รับราชการของคุณแผ้ว เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ จนกระทั่งไปดำรงตำแหน่งป่าไม้จังหวัดระนอง สตูล และประจวบคีรีขันธ์ จนครบอายุข้าราชการเกษียณ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 ที่น่าแปลก สมัยทำงานครั้งแรกก็เริ่มจากที่ประจวบคีรีขันธ์

ในระหว่างรับราชการได้ใช้ชีวิตอย่างโลดโผน ต่อสู้กับแหล่งมอดไม้ทำลายป่าอย่างมากมาย ผลงานที่ปรากฏออกมาจากเนื้อหาบางตอนในนวนิยายเรื่องร้อยป่า ได้นำเอาชีวิตของเสือแผ้ว ที่คุณสมพันธ์ ใช้เรียกชื่ออยู่เสมอ เอามาสอดแทรกในเนื้อหาร้อยป่า และที่สำคัญไม่ก้มหัวให้นายทุนพ่อค้าไม้เถื่อนอย่างเด็ดขาด

ความอาวุโสด้วยวัย 95 ปี ยังไม่ใช่คนแก่หลงลืม สุขภาพที่แข็งแรง ความทรงจำดี แม้คุณสัมพันธุ์ ปานะถึก จะจากไปก่อนหลายปี…สิ่งที่คุณแผ้วรำลึกถึงภรรยาที่จากไปเกือบ 20 ปี และทุกปีจะกราบไหว้สักการะอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปการ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกครั้งยังสำนึกถึงพระคุณอาจารย์พระช่วง โลจายะ ที่สอนลูกศิษย์ได้ดี แม่โจ้ที่เขารักและปรารถนาทำให้ชีวิตเขามาถึงวันนี้ได้

หอพักสมัยเขาเรียน เป็นเรือนพักสมัยใหม่สุดในยุคนั้น โดยอาจารย์พระช่วง โลจายะ คอยควบคุมดูแล

เสือ กลิ่นสัก ตัวจริง

ในนวนิยายเรื่อง “ร้อยป่า” จากนามปากกาของ อรชร-พันธุ์ บางกอก (สมพันธุ์ ปานะถึก ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 11) ได้สร้างปรากฏการณ์แม่โจ้ฟีเวอร์ในช่วงหลายสิบปีก่อนตราบจนปัจจุบัน งานเขียนเรื่องนี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง เรื่องราวต่างๆ ของเรื่องส่งผลให้ลูกผู้ชาย (ตัวจริง) จำนวนมากใฝ่ฝันที่จะมาเรียนต่อที่แม่โจ้ เพราะหลงใหลในตัวละครเอกที่ชื่อ “เสือ กลิ่นสัก” ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า เสือ กลิ่นสัก นั้นมีตัวตนจริงหรือไม่ ถ้าใช่แล้วบุคคลนั้นเป็นใคร หรือเป็นเพียงตัวละครสมมติในจินตนาการของผู้ประพันธ์เท่านั้น ซึ่งในวันนี้จดหมายข่าวพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ได้นำความจริงมาตีแผ่ให้ทุกท่านได้รับทราบกัน

แผ้ว ดิษเลิศ (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 11) คือต้นแบบของเสือ กลิ่นสัก นั่นคือคำบอกเล่าจากปากของ คุณเยาวภา ภรรยาคู่ชีวิตของท่าน ซึ่งเป็นผู้เปิดเผยเมื่อครั้งที่คุณเยาวภายังมีชีวิต และปรากฏทางสายตาหลายครั้งที่คุณสมพันธุ์ เจอหน้ากันมักจะเรียกคุณแผ้ว ว่า “เสือแผ้ว” (แต่หลายท่านไม่ทันได้คิด)

 


พิเศษ ลด 40%!
สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน รายปี 24 ฉบับ ลดราคาพิเศษ 40% เฉพาะสมัครวันนี้ถึง 11 ตุลาคม 2563 เท่านั้น คลิกดูรายละเอียดที่นี่