‘บวบ’ ผักพื้นบ้าน ปลูกไว้กินเองได้ไม่ยาก คุณค่าเพียบ

ในช่วงภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ควรต้องระวังสุขภาพกันสักหน่อย เพราะทั้งหวัด ทั้งไข้ และไหนจะโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดอีก อุบัติเหตุจากยวดยานก็เยอะ ก็คงต้องระมัดระวังกันนะค่ะ ทำร่างกายให้อบอุ่นไว้ หากไม่สบายแล้วจะเสียทั้งเวลาและเสียงานหมด

หากท่านรู้สึกอึดอัด คัดจมูก หรือเป็นหวัด ก็ลองใช้ยาแก้หวัดแบบโบราณดู อาจได้ผลดีก็ได้ แถมไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด

บวบงู มีลักษณะกลม ยาว ปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือ

วิธีไล่หวัดแบบโบราณ

ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า เอาหัวหอมหรือหอมแดง มาปอกสัก 4-5 หัว ทุบให้พอแตก แล้วเอาน้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาหัวหอมใส่แล้วยกลง ให้เอาผ้าขาวม้าหรือผ้าขนหนูเช็ดตัวก็ได้ คลุมหัวแล้วก้มหน้าไปที่หัวหอมที่เราทำไว้ทันที ระวังอย่าเอาหน้าไปใกล้มาก เพราะไอน้ำที่ยังร้อนอยู่จะลวกหน้าเอา สูดเอากลิ่นหัวหอมเข้าช้าๆ ลึกๆ เรื่อยๆ จนหมดกลิ่น หรือจนน้ำนั้นเย็น จะทำให้ท่านโล่งจมูก

อาหารโบราณอีกอย่างหนึ่งตอนหน้าฝนที่ทำง่ายๆ และอร่อยด้วย และรับรองว่าหาคนเคยกินยาก จะเป็นขนมหวานก็ไม่เชิง กินกับข้าวก็อร่อย กินเปล่าๆ ก็อร่อย ซึ่งมันก็คือ บวบต้มน้ำตาลนั่นเอง!! ทุกท่านเคยได้ยินกันบ้างหรือป่าว!! และส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จักเลย… สำหรับวิธีการทำก็ไม่ได้ยากอะไร

บวมหอม หรือ บวมกลม นิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ
บวมหอม หรือ บวมกลม นิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ

เริ่มแรก โดยการนำเอาบวบเหลี่ยมหรือบวบหอมก็ได้ มาปอกเปลือกออกแล้วล้างสักหน่อย จากนั้นให้ฝานเป็นชิ้นๆ พอคำ อย่าให้ใหญ่มาก (หั่นเหมือนกับจะผัดนั่นแหล่ะค่ะ) เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด (ใช้หม้อเล็กๆ ก็พอ อย่าทำทีละมากๆ เพราะต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อย)

เมื่อน้ำเดือดพล่านแล้ว ให้เอาน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปี๊บ ปริมาณของน้ำตาลก็ให้กะเอาขนาดเท่าหัวแม่มือเรา

หากน้ำในหม้อมีอยู่ประมาณสักสองชามแกง ใช้น้ำตาลเท่าหัวแม่มือโตๆ จะอร่อยดี เอาน้ำตาลใส่ลงในน้ำเดือด พอน้ำตาลละลายหมดก็เอาบวบใส่ลงไปพอประมาณ รอจนบวบสุก แต่อย่าให้เปื่อย กะว่าพอใส่บวบลงไปสักพัก แล้วน้ำเดือดอีกครั้งก็ยกลง

Advertisement

ทีนี้ก็ตักใส่ถ้วยนั่งซดกันร้อนๆ อร่อย และยังไล่หวัด แถมให้ความอบอุ่นได้ดีอีกด้วย ได้ประโยชน์ทางยาด้วย

เพราะบวบนั้น มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยเจริญอาหาร เป็นกากใยอีกด้วย ใช้กินคู่กับอาหารรสเผ็ดๆ ก็ดี เช่น กินน้ำพริกผักจิ้ม แล้วซดบวบต้มน้ำตาลร้อนๆ ตามไป รับรองอร่อยเหาะเลยค่ะ

Advertisement

มาปลูกไว้กินเองค่ะ

บวบ เป็นผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ และก็เป็นผักพื้นบ้านที่น่าปลูกมากอีกอย่างหนึ่ง บวบเป็นผักที่มีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสมาก รวมทั้งกาก (fiber) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อีกทั้งการปลูกก็ง่าย และเลือกสายพันธุ์ปลูกได้หลายสายพันธุ์อีกด้วยนะคะ

วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอมหรือบวบเหลี่ยมนั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา
วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอมหรือบวบเหลี่ยมนั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา

วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอม หรือบวบเหลี่ยม นั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา การปลูกบวบนอกจากต้องเตรียมดินแล้ว ท่านยังต้องเตรียมไม้ไผ่ไว้ทำค้างให้บวบเลื้อยพันอีกด้วย ซึ่งก็หาซื้อได้แถวๆ ที่เขาขายต้นไม้ ดินปลูก ปุ๋ย หรืออุปกรณ์ปลูกต้นไม้นั่นแหล่ะ!!

เริ่มแรก ต้องเตรียมดินกันก่อน โดยพรวนดินให้ร่วนซุย แล้วผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักสักหน่อย จากนั้นก็ยกร่อง ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมให้ลึกสักฝ่ามือ แล้วเอาเมล็ดพันธุ์บวบหยอดลงไป 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนที่ผสมปุ๋ยไว้แล้ว รดน้ำให้ชุ่ม คลุมหลุมด้วยหญ้าหรือฟางพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน เช้า-เย็นยิ่งดี จะทำให้งอกเร็วขึ้น

เมื่อต้นกล้าบวบงอกขึ้นมามีใบจริงสัก 2 ใบ ให้ถอนต้นกล้าหรือต้นอ่อนที่ไม่แข็งแรงทิ้งไป ให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น ก็พอ จะได้โตดี เมื่อบวบเริ่มเลื้อยก็ให้ทำค้างให้บวบเลื้อยขึ้นพัน

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้าง ถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีค่ะ
สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้าง ถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีค่ะ

ส่วนท่านที่ใช้กระถางปลูกบวบ ก็ให้เอาดินถุงที่ซื้อมา ผสมกับใบไม้แห้งและปุ๋ย เคล้าให้เข้ากัน แล้วแหวกให้เป็นหลุม เอาเมล็ดบวบหยอดลงไปสัก 3-4 เมล็ด แล้วกลบดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้า รดน้ำให้ชุ่ม ตั้งไว้ในที่ที่โดนแดดตอนเช้า ไม่นานต้นกล้าบวบก็จะงอกขึ้นมา

พอมีใบจริงสัก 2 ใบ ก็ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป และรดน้ำไปเรื่อยๆ พอต้นเริ่มทอดยอดจะเลื้อย ก็เอาไม้ไผ่มาปักคร่อมเป็นสามเส้าทำเป็นค้างให้บวบเลื้อยพันได้

การปลูกบวบต้องหมั่นรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพราะบวบเป็นพืชที่ชอบน้ำ ไม่นานก็จะมีลูกบวบที่ออกลูกห้อยระย้า ทีนี้ก็เก็บไปผัด ไปแกง หรือไปทำเมนูอื่นๆ ตามใจท่านแหละกันค่ะ

ชนิดของบวบไทย

พืชผักที่คนไทยเรียกกันว่า บวบ นั้น มีหลายชนิด แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ cucurbitaceac และเป็นไม้เถา ดอกสีเหลืองเช่นเดียวกัน เช่น

1. บวมเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ

2. บวมหอม หรือ บวมกลมนิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ

3. บวมขมเป็นบวบชนิดเดียวกับบวบหอม แต่บวบผลเล็ก สั้น และมีรสขมมาก มักขึ้นเองในป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่กินเป็นผัก แต่ใช้เป็นยาหรือประโยชน์ด้านอื่น

4. บวบงูมีลักษณะกลม ยาว ปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคเหนือ

5. บวบหอม และบวมงู ใช้ปรุงอาหารได้คล้ายคลึงกับบวบเหลี่ยม เพียงแต่มีกลิ่น รส แตกต่าง ออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้กินว่าจะชอบชนิดใดมากกว่ากัน

บวบเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ
บวบเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ

มากด้วยคุณค่า และสารพัดประโยชน์

บวบมีหลายชนิดและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่คนไทยรู้จักบวบในฐานะเป็นผักอย่างหนึ่งมากที่สุด บวบเหลี่ยมนับเป็นผักที่รู้จักแพร่หลาย หาซื้อได้ในตลาดทั่วประเทศไทย และมีให้กินได้ตลอดปี

ผลอ่อนของบวบเหลี่ยมใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู (คนใต้มักจะนำเอาผลอ่อนของบวบเหลี่ยมมาจิ้มกินกับน้ำพริก หรือเหนาะแกงใต้รสเผ็ดๆ)

บวบงู ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายๆ เมนู
บวบงู ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายๆ เมนู

สำหรับคนทางภาคอีสานบางท้องถิ่น เขามักจะใช้ยอดอ่อนของบวบเป็นผัก เช่น นำไปนึ่ง ลวก แล้วเอามาจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า หรือใส่ในแกงอ่อม แกงเหน่อไม้ใบย่านาง และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู ต้องขอบอกว่าแซบดีอยู่เด้อค่า

นอกจากใช้เป็นผักแล้ว บวบยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกหลายประการ เช่น เมื่อผลบวบแก่จนแห้งแล้วจะมีเส้นใยที่เหนียว โปร่ง และยืดหยุ่นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ถูตัวแทนฟองน้ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก (งานโอท็อปมีเยอะมากค่ะ)

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้างถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีอีกด้วยค่ะ ซึ่งพอเลิกใช้แล้วก็เอาไปใส่ต้นไม้ ปล่อยให้มันย่อยสลายเส้นใยไปตามธรรมชาติเอง

ในสมัยปัจจุบัน ยังมีการนำมาใช้ตกแต่งเป็นดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งใช้รองป้านชา และยัดในรองเท้า เพื่อรักษารูปทรงได้

1470889882

ประโยชน์หลักอีกด้านหนึ่งของบวบที่ทุกท่านรับรู้ก็คือ ด้านสมุนไพร เช่น ในประเทศจีนเขาจะนำผลบวบแก่มาเผาให้เป็นเถ้า (นิยมใช้บวบหอม) แล้วนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิและยาขับลม น้ำคั้นจากผลสดใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ ใช้ทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย และน้ำมันที่บีบจากเมล็ดยังใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย

ทีนี้เราก็รู้แล้วใช่ไหมคะว่า บวบ ผักพื้นบ้าน เปี่ยมด้วยคุณค่าแค่ไหน ท่านที่เคยมองผ่านผักชนิดนี้ไป ต่อไปนี้ต้องหันกลับมามองผักพื้นบ้านชนิดนี้บ้าง เพราะนอกจากจะทำอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำมารักษาโรคของคนเราได้หลากหลายชนิดจริงๆ ค่ะ