วิทยาลัยรัตภูมิ เข้าร่วมโครงการ INTERNATIONAL ACCOUNTING EDUCATION AND ACCULTURATION CAMP 2023 ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2566 ณ วิทยาลัยรัตภูมิ

ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2566 ดร.ภาณุมาศ สุยบางดำ ผู้อำนวยการวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย ดร.ณัฐชา สาระมาศ หัวหน้าโครงการ คณะอาจารย์สาขาการบัญชี บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาวิทยาลัยรัตภูมิกับนักศึกษาต่างประเทศ (ประเทศมาเลเซีย) ณ วิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี กล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับ PROF MADYA DR AZRUL ABDULLAH (HEAD OF LEARNING CENTRE) คณะอาจารย์และนักศึกษาจาก Universiti Teknologi MARA (UiTM) Perlis จำนวน 38 คน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร และ ดร.ลมุล เกยุรินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ บรรยายภายใต้หัวข้อ “MANAGEMENT ACCOUNTING FOR SHORT-TERM DECISION MAKING Cost-Volume-Profit Analysis A single product”

โครงการดังกล่าวเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge management – KM) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร และเป็นการพัฒนาผ่านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยเป็นการนำจุดแข็ง (Strengths) ด้านบุคลากร และการมีเครือข่ายทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ดีที่มีโอกาสเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการเรียน การสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ทั้งแนวทางปฏิบัติและทฤษฎี โดยคณาจารย์สาขาวิชาการบัญชีวิทยาลัยรัตภูมิและคณาจารย์สาขาวิชาการบัญชีของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ล้วนเป็นนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นผู้นำทางการศึกษา อีกทั้งนักศึกษาของสถาบันในต่างประเทศที่จะทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ล้วนจัดอยู่ในมาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรและนักศึกษาเหล่านี้และกับเครือข่ายทางวิชาการ จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ อันจะนำไปสู่การมีนวัตกรรม (Innovation) การพัฒนาขีดความสามารถ (Competency) และการเสริมสร้างประสิทธิภาพ (Efficiency) ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีผ่านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติทางบัญชีร่วมกัน

ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติทางบัญชีระหว่างวิทยาลัยรัตภูมิและสถาบันการศึกษาต่างประเทศนั้น ย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพการเป็นบุคลากรและบัณฑิตนักปฏิบัติของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี การถ่ายทอดแนวคิดทางการบัญชีให้คณะคณาจารย์ได้ประเมินระดับประสิทธิภาพขององค์ความรู้ของนักศึกษา การนักศึกษาประยุกต์ความรู้ ทักษะทางการบัญชีในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งยังเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ทางวิชาการต่อนักศึกษา คณาจารย์ และสถาบันการศึกษา