พบ “แร้งดำหิมาลัย” ขนาดใหญ่สุดในทวีปเอเชีย สัตว์ป่าคุ้มครองใกล้สูญพันธุ์!

ตื่นตาตื่นใจ! หลังพบแร้งดำหิมาลัย จะอพยพมาไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย ย้ายมาหากินในฤดูหนาวเท่านั้น พบตามทุ่งโล่ง หรือป่าบนภูเขา เป็นนกขนาดใหญ่มาก ขนาดลำตัวยาวประมาณ 122 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัตว์หายากและมีจำนวนน้อย ชอบกินซากสัตว์ต่างๆ
อีแร้งดำหิมาลัยมีฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนมีนาคมถึงเมษายน ทำรังตามยอดไม้สูงๆ แถบภูเขา รังมีขนาดใหญ่ ทำด้วยกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง แต่ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในไทย โดยมักพบร่อนเป็นวงกลมตามภูเขา หรือหุบเขาเพื่อหาอาหาร จะหากินในช่วงกลางวัน โดยแร้งจะร่อนมากับลมหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคม

สำหรับแร้งดำหิมาลัยและแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย จะพบในประเทศไทยในฤดูอพยพ ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป โดยอาศัยลมหนาวพยุงตัวร่อนผ่านมา เนื่องจากแร้งดำหิมาลัยมีน้ำหนักอย่างน้อย 6-12 กก. นับเป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ความยาวปีกถึง 3 เมตร จะพบเพียง 2-3 ปี ต่อ 1 ตัวเท่านั้น ส่วนแร้งสีน้ำตาลความยาวปีก 2.8 เมตร มีรายงานพบ 10-30 ตัวในแต่ละปี

แร้งดำหิมาลัย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562 ด้วยปัจจัยที่ไม่ค่อยมีอาหาร (ซากสัตว์) ประกอบกับระยะทางที่ยาวไกล เมื่อถึงฤดูอพยพบ่อยครั้งจึงมีการพบแร้งหมดแรงลงในพื้นที่ของชาวบ้าน ถ้าคนที่พบเห็นเข้าใจนำมาให้กับเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลช่วยเหลือมันก็จะสามารถรอดชีวิตได้

นกเหล่านี้เป็นนกหากินตามธรรมชาติ และช่วยควบคุมระบบนิเวศในธรรมชาติ มันมีความดุร้ายอยู่แล้ว ขณะเดียวกันการเลี้ยงที่ผิดธรรมชาติ ให้กินเนื้อหมู ไม่มีการเสริมแคลเซียมอาจทำให้นกป่วย ซึ่งบางครั้งทำให้เขาป่วยตายได้

ขอบคุณข้อมูล : zoothailand.org
.
#เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban #แร้งดำหิมาลัย #อีแร้ง #นกล่าเหยื่อ #น้องช้าง