นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ครบวงจร สจล. เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผลงานวิจัยต่อเนื่องการการค้นพบคีโตเมี่ยมควบคุมโรคพืช ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน ได้ค้นพบสารออกฤทธิ์ชนิดใหม่ จากเชื้อรา Chaetomium globosum, Chaetomium cupreum, Chaetomium cochliodes, Chaetomium brasiliense, Chaetomium lucknowense, Chaetoimum elatum, Chaetoimium siamesnse  ประสบผลสำเร็จในการใช้สารออกฤทธ์ดังกล่าวฉีดพ่นเข้าไปในเซลล์พืช ชักนำให้พืชสร้างสารขึ้นมาต่อต้านโรค (phytpalexin) ได้แก่ มะเขือเทศ พริก ทุเรียน ส้ม และข้าว เป็นต้น

จากนั้นจึงพัฒนาสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด ให้มีอนุภาคเล็กลงในระดับโมเลกุล เรียกว่า อะตอมมิค อลิซิเตอร์ สร้างภูมิคุ้มกันโรคพืช ประสบผลสำเร็จและนำไปใช้ในจริงแล้วในประเทศจีน เวียดนาม พม่า ลาว และไทย

นาโน อลิซิเตอร์ เป็นสารออกฤทธิ์ที่พัฒนาเป็นอนุภาคระดับโมเลกุล โดยปล่อยสารเข้าสู่สนามแม่เหล็ก และยิงด้วยอิเล็คตรอน สามารถซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธฺภาพสูง ชักนำให้พืชเกิดภูมิคุ้มกันโรคให้กับพืช อัตราการใช้ 25-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร  ในพืชล้มลุก ใช้ทุก 10 วัน ในพืชยืนต้น ใช้ ทุก 30 วัน

ความก้าวหน้างานวิจัยต่อเนื่อง

ดร.เกษม สร้อยทอง อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสมาคมเทคโนโลยีการเกษตรแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Agricultural Technology in Southeast Asia, AATSEA) กล่าวว่า คีโตเมี่ยม เป็นผลงานวิจัยเรื่องยาเชื้อป้องกันกำจัดโรคพืชและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 ถึงปัจจุบัน

ดร.เกษม สร้อยทอง

โดยผลิตเป็นชนิดเม็ดละลายน้ำ ชนิดผงละลายน้ำและชนิดเหลว จากเชื้อราคีโตเมี่ยม คิวเปรม 10 สายพันธุ์  ได้แก่ (Chaetomium cupreum CC01-CC10 ) คีโตเมี่ยม โกโบซั่ม 12 สายพันธุ์ (Chaetomium globosum strain CG1-CG12) คีโตเมี่ยม เป็นชีวผลิตภัณฑ์ที่วิจัยพัฒนาให้เกษตรกรนำไปใช้ในการควบคุมโรคพืชให้ต่ำกว่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม มาเลเซีย ลาว กัมพูชา พม่า และไทย

คีโตเมี่ยม  เป็นผลงานวิจัยขึ้นทะเบียนเป็นสารชีวภัณป้องกันกำจัดโรคพืชครั้งแรกของประเทศไทย ใน พ.ศ.2539 และจดสิทธิบัตรของนักวิจัยไทยคนแรกของโลก เมื่อ พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติจากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ และรางวัลวิจัยดีเด่นจากกองทุนวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (IFS, Sweden) รางวัลจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Univertsity of the Philippines at Los Banos) เป็นต้น ผลงานวิจัยต่อเนื่องจากการค้นพบคีโตเมี่ยมควบคุมโรคพืช ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน ได้

ค้นพบสารออกฤทธิ์ชนิดใหม่ จากเชื้อรา Chaetomium globosum, Chaetomium cupreum, Chaetomium cochliodes, Chaetomium brasiliense, Chaetomium lucknowense, Chaetoimum elatum, Chaetoimium siamesnse  เป็นต้น และวิจัยพัฒนาประสบผลสำเร็จในการใช้สารออกฤทธ์ดังกล่าวฉีดพ่นเข้าไปในเซลล์พืช ชักนำให้พืชสร้างสารขึ้นมาต่อต้านโรค (phytoalexin) ได้แก่ มะเขือเทศ พริก ทุเรียน ส้ม ข้าว และพืชอื่นๆ เป็นต้น

จากนั้นจึงพัฒนาสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด ให้มีอนุภาคเล็กลงในระดับโมเลกุล เรียกว่า อะตอมมิค อลิซิเตอร์ (Atomic elicitor) หรือนาโนอลิซิเตอร์ (Nano elicitor) เป็นครั้งแรกของโลก ใช้สร้างภูมิคุ้มกันให้พืชในการต่อต้านเชื้อสาเหตุโรคพืช ประสบผลสำเร็จและนำไปใช้ในจริงแล้วในประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว และไทย

คีโตเมี่ยม คือ  ชีวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเชื้อรา คีโตเมี่ยม  คิวเปรม  10 สายพันธุ์ ที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จากกองทุนวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (IFS, Sweden) มีลักษณะเป็นผง  ซึ่งมีอายุการเก็บรักษามากกว่า 5 ปี อุณหภูมิห้องปกติมีคุณสมบัติ ดังนี้ สามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกมาฆ่าเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ได้ เจริญเข้าพันรัดเส้นใยของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุ (ปุ๋ยอินทรีย์)

ซึ่งจะเจริญได้ดีกว่าเชื้อสาเหตุโรค มีผลให้ลดปริมาณเชื้อที่จะก่อเกิดโรคได้ สามารถสร้างสารกระตุ้นให้พืชเกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ ด้วยคุณสมบัติ 4 ประการดังกล่าว คีโตเมี่ยม จึงสามารถป้องกันและรักษาโรคพืช ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์  

โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ ที่เกิดจากเชื้อ ฟูซาเรี่ยม  อ๊อกซิสปอรัม :  (Fusarium oxysporum)
โรครากเน่าโคนเน่าของพืชตระกูลส้ม ฟัยธ็อปทอร่า พาราซิติก้า :  (Phytophthora  parasitica)
โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน  พริกไทย ฟัยธ็อปทอร่า พาล์มิโวรา :  (Phytophthora  palmivora)
โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง องุ่น ส้ม คอเล็คโตรติกัม   โกอิโอสปอริโอออเดส              (Colletotrichum gloeosporioides)
โรคใบไหม้ของข้าว ไพริคุลาเลีย ออรัยเซ่  (Pyricularia  oryzae)
โรคเน่าคอดินของผัก พิเที่ยม  อัลทิมัม   (Pythium  ultimum)
โรคโคนเน่าของข้าวโพดและมะเขือเทศ สเคอร์โรเที่ย รอฟซิอายส์ (Sclerotium rolfsii)
โรคเหี่ยวของพืชตระกูลแตง ฟูซาเรี่ยม  อ๊อกซิสปอรัม :  (Fusarium oxysporum)

 

ลักษณะการทำงาน

คีโตเมี่ยม  มีผลต่อการป้องกันโรคที่ระบบราก เช่น โรครากเน่า โรคเหี่ยว ใช้ในขณะที่พืชไม่เป็นโรค และสามารถรักษาโรคได้ (พืชเป็นโรคแล้ว กำลังแสดงอาการโรค เช่น รากเน่า เน่าคอดิน เป็นต้น กรณีนี้หากรากเน่าหมดแล้วก็ไม่สามารถช่วยต้นพืชได้ เพราะพืชกำลังจะตาย)

อย่างไรก็ตาม การนำ คีโตเมี่ยม  ไปใช้จำเป็นจะต้องตรวจสภาพดิน พีเอชของดิน แล้วปรับสภาพดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและฮิวมัส ใส่บนดินบริเวณใต้ทรงพุ่มรอบต้น พีเอชจะค่อยๆปรับขึ้นจนเก็นกรดอ่อน (ประมาณ 6.6-6.8) รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ  เมื่อ คีโตเมี่ยม ได้รับความชื้นจะค่อยๆละลายปลดปล่อยสปอร์ออกมาสู่ดินที่กำลังสภาพ เช่น จากพีเอช 3.0 เป็น 6.0 สามารถเจริญได้ดีที่สภาพดินที่มีพีเอช 3-7 แต่เจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินที่มี pH.6.0-6.5

สปอร์คีโตเมี่ยมเป็นสิ่งมีชีวิต จะได้รับอาหารจากการดูดซับสารละลายจากปุ๋ยอินทรีย์หรือสารอินทรีย์ต่างๆ  แล้วปลดปล่อยสารปฏิชีวนะออกมาฆ่าเชื้อสาเหตุโรคในดิน ดินที่ปรับสภาพดี ที่ปุ๋ยอินทรีย์ซึมซับไปทั่วระบบราก คีโตเมี่ยม จะสามารถเจริญได้ตั้งแต่ผิวหน้าดินลงไปจนถึงระดับความลึก 60 ซม.

นับว่าเป็นข้อได้เปรียบกว่าการใช้สารเคมีป้องกันโรค ใส่ลงไปตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น  คีโตเมี่ยม ในดินจะไปไล่จับเชื้อสาเหตุโรค เปรียบเสมือนแมวไปไล่จับหนู เมื่อเชื้อสาเหตุถูกทำลายก็มีผลให้ลดเชื้อก่อโรคในดิน และเชื้อก่อโรคในดินที่เหลืออยู่จะอ่อนแอไม่สามารถเข้าทำลายพืชได้ ในทางปฏิบัติ จะต้องใช้อย่างต่อเนื่อง โดยใส่ทางดินรอบโคนต้นทุก 3-4 เดือน

เนื่องจากคีโตเมี่ยม เป็นสิ่งมีชีวิตและจะอ่อนแอต่อลง เมื่อเจริญสร้างลูกหลานไปประมาณ 4 ชั่วอายุ ตัวเองก็หมดอายุไป และอาจมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ทำลายคีโตซินได้ เช่น ไส้เดือนดิน กิ้งกือ แมลง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆในดิน เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ ในการใช้อย่างต่อเนื่องจะสามารถลดอัตราการใช้ลงไปเรื่อยๆ โดยสังเกตจากความสมบูรณ์ของพืช ทำให้ลดต้นทุนในการปลูกพืชได้

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาร่วมงาน KMITL Innovation Expro. มหกรรมงานแสดงสุดยอดนวัฒกรรมที่คุณไม่ควรพลาด ‼️
📌 เม็ดพลาสติกกราฟิน ผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์หน่วยวิจัยและนวัตกรรมด้านวัสดุอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในงานยังพบกับทัพนวัตกรรมจากพระจอมเกล้าลาดกระบัง 1,111 ชิ้น ห้ามพลาดพบกัน วันที่ 27 – 29 เมษายน 2566 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
📲อัพเดตกิจกรรม และลงทะเบียนที่ www.expo.kmitl.ac.th