เทคนิคฟื้นฟูต้นยางหลังเจอ “ น้ำท่วม ” ให้ดินแข็งตัวก่อนจึงเข้าไปปฏิบัติงาน

ปัญหาน้ำท่วมขัง มักทำให้ต้นยางเสียหายเพราะรากเน่า ปรุงอาหารไม่ได้  เกษตรกรสามารถฟื้นฟูต้นยางโดยการฉีดอีเรเซ่อร์ วัน + พาร์ทเวย์   กิ่ง ก้าน ทรงพุ่มของต้นยาง ที่ฉีกขาดเสียหาย  ควรตัดกิ่งออกให้หมดเพื่อตกแต่งรอยแผลและตัดกิ่งที่เสียหายให้หมด  โดยเน้นตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน  เพื่อป้องกันไม่ให้ทรงพุ่มที่เหลืออยู่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง  กรณีส่วนของต้นยางเป็นแผลเล็กน้อย  หรือ จากการตกแต่ง การตัดกิ่ง ฉีดพ่นที่แผล  ด้วย อีเรเซ่อร์ วัน + พาร์ทเวย์ เพื่อ ป้องกันการ ติดเชื้อจากเชื้อรา  และ รักษาแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าทำลายส่วนของเนื้อเยื่อได้

คุณอารักษ์  จันทุมา แห่งศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี เคยให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การฟื้นฟูสวนยางที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมขัง ว่า ควรรีบระบายน้ำออกจากสวนยางโดยเร็ว  และรอให้น้ำแห้งรวมทั้งดินแข็งตัวเสียก่อนแล้วจึงค่อยเข้าไปปฏิบัติงาน  เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายรากยางโดยตรงเฉพาะรากฝอยที่เจริญขึ้นมาใหม่ให้สามารถดูดอาหารและน้ำไปเลี้ยงต้นยาง

ไม่ควรใส่ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์  ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพในขณะที่น้ำท่วมยังไม่แห้งดี  เพราะทำให้ธาตุไนโตเจนที่อยู่ในรูปของไนเตรทและยูเรียเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรท์  ทำให้เกิดภาวะความเป็นพิษต่อต้นยาง  เนื่องจากส่วนของรากขาดก๊าซออกซิเจน  เป็นการซ้ำเติมต้นยางที่ทรุดโทรมเนื่องจากน้ำท่วมให้อาการหนักขึ้นไปอีก  ต้นยางอาจฟื้นตัวได้ช้า และต้นยางอ่อนแอกระทั่งถึงตายได้

หากเกษตรกรชาวสวนยางฝืนใส่ปุ๋ยคอกในขณะที่ยังมีน้ำท่วมอยู่บ้าง  อาจจะไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดินมีการหายใจมากขึ้น ทำให้รากต้นยางขาดก๊าซออกซิเจนได้ ดังนั้น  เกษตรกรจึงไม่ควรใส่ปุ๋ยทันที ควรรอให้ต้นยางฟื้นตัวและแข็งแรงเสียก่อนสิ่งที่ควรทำคือ  รีบใส่ปุ๋ยในช่วงต้นฤดูฝนปีถัดไป

 เทคนิคเสริมราก  เสริมแกร่งต้นยาง

อย่างไรก็ตามพบว่า สวนยางหลายแห่ง ปลูกต้นยางในพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำ ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเติบโตของต้นยาง ทำให้รากต้นยางไม่ค่อยแข็งแรง เจอลมแรงๆ ทำให้ต้นยางหักโค่นล้มได้ง่าย ทำให้เกษตรกรต้องเสียเงิน เสียเวลาปลูกซ่อมแซมต้นยางกันบ่อยๆ  หากใครไม่อยากเจอปัญหาในลักษณะนี้  ขอแนะนำให้ลองใช้เทคนิคเสริมรากต้นยาง ของ คุณชาตรี แสงทอง เกษตรกรชาวสวนยาง ที่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ (086) 497-7665

เทคนิคเสริมรากให้ต้นยางของคุณชาตรี เริ่มจากถอนเอาต้นยางพันธุ์พื้นบ้านที่เพาะขึ้นมาใส่ถุงไว้ จนมีอายุประมาณ 1 ปี จำนวน 2 ต้น มาปลูกลงใกล้ๆ กับต้นยางพันธุ์ 600 ใช้เวลาปลูกดูแลประมาณ 6 เดือน เมื่อต้นยางทั้ง 3 ต้น เติบโตดีจะใช้มีดคมๆ ปาดต้นยางพันธุ์และต้นยางที่จะเป็นต้นเสริมเป็นแผลกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 1 นิ้ว แล้วเอาช่วงรอยแผลของต้นยางเสริมมาทาบตรงรอยแผลของต้นยางพันธุ์ ทำให้ต้นยางพันธุ์ 600 ถูกปาด 2 รอยเพื่อเอายางเสริมมาทาบ 2 ต้น แล้วเอาผ้าเทปสำหรับตอนกิ่งพันให้แน่น ไม่ให้น้ำเข้า ใช้เวลาดูแลประมาณ 6 -12 เดือน ในช่วงนั้นอาจจะเอาเชือกมาผูกรวบโคนยางทั้ง 3 ต้น โน้มเข้าหากัน เพื่อกระชับไม่ให้แผลเปิดอ้า เมื่อเห็นว่าแผลประสานติดกันดีแล้ว ก็ให้ตัดยอดต้นยางเสริมจากรอยแผลขึ้นมา 1 นิ้ว และหมั่นปลิดยอดยางเสริมออก ถ้ามียอดแตกออกมา

ต้นยางที่เสริมรากจะใช้เวลาประมาณ 18-24 เดือน แผลก็จะเชื่อมติดกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ต้นยางที่เสริมรากนี้นอกจากจะทำให้ระบบรากแข็งแรงโค่นล้มยากแล้ว ต้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นยางที่มีรากเดียว  นอกจากนี้คุณชาตรีให้ปุ๋ยเคมี สูตร 27-6-6 บำรุงต้นยางประมาณต้นละ 100 กรัม เฉลี่ยปีละ 3 ครั้ง ในช่วงก่อนฝน กลางฝน และปลายฝน  เทคนิคดูแลจัดการต้นยางแบบนี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงมั่นคง สู้ปัญหาภัยธรรมชาติได้อย่างสบายๆ