นายเมธี บุญรักษ์ เกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรอินทรีย์ โดดเด่นการพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายเมธี บุญรักษ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2563 สาขาเกาตรอินทรีย์ อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส อายุ 60 ปี การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ช่างยนต์) ที่อยู่ บ้านเลขที่ 45/57 หมู่ที่ 9 ตําบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 087-468-2554

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน

1.แนวความคิดในการทํางาน หลังจากเรียนจบช่างยนต์ได้ไปทํางานอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากต้องการอยู่กับครอบครัว จึงลาออกจากงานและกลับมาทําการเกษตรในที่ดินมรดก พื้นที่ 90 ไร่ ทําการปลูกมังคุดแต่ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความรู้ทางด้านการเกษตร จึงปลูกแบบตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้สารเคมี แต่พบว่าต้นไม้ไม่ตายและยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี นํามาสู่การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการปฏิบัติอย่างจริงจังโดยจุดประกายแนว ความคิดจากรายการโทรทัศน์ “ตามรอยพ่อ” ในการเริ่มต้นการทําเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ต้องดําเนินการ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1.ดิน : ต้องหาวิธีการจัดการให้มีความพร้อม จะนําไปสู่การเจริญเติบโตของพืชและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

  1. น้ำ : ทําอย่างไรให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี มีแหล่งน้ำใช้ในการทํากิจกรรมด้านการเกษตรอย่างเพียงพอ
  2. ป่าไม้ : ปลูกไม้ป่าเพื่อบังแดดยึดหน้าดิน สร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต มีการปลูกต้นไม้ แนวผสมผสาน ตามความสูงต่างระดับเพื่อการพึ่งพาซึ่งกัน พ.ศ. 2555 ทําความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทําการเกษตรแบบผสมผสาน โดยคํานึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายในแปลง ขอคําแนะนําจากสถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาสและสํานักงานเกษตรอําเภอสุไหงโกลก ในเรื่องการทําน้ำส้มควันไม้การทําปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น แล้วนํามาใช้กับพืชที่ปลูกเพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขอนามัย

ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและได้เรียนรู้ระบบการจัดการสวนตามมาตรฐานการผลิต GAP พืช และมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส นําเทคโนโลยีการผลิตมาประยุกต์ปฏิบัติ ในแปลงของตนเอง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชที่พัฒนากิจกรรมให้มีความหลากหลาย จัดทําแนวกันชนหลายชั้นระดับตั้งแต่การขุดคันดินป้องกันน้ําจากภายนอก และกันปลูกหญ้าแฝกบนคันดิน ปลูกไม้พุ่มขนาดเล็กและขนาดใหญ่

พ.ศ. 2561 ได้สมัครขอรับการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช และขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์จนได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Organic Thailand) จากสํานักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร

  1. การพัฒนาใฝ่รู้ ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้มาจากการปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนกลุ่มเกษตรกรหน่วยงานราชการ (โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดําริซึ่งเป็นแหล่งศึกษางานตามที่มีข้อมูลต่างๆอย่างครบถ้วน) พ่อค้า รัฐวิสาหกิจต่างๆ การเข้ารับการ อบรม/สัมมนา รวมถึงการทดลองปฏิบัติจริงในแปลงของตนเอง โดยเริ่มทําการทดลองการปลูกหญ้าแฝกในรูปแบบต่างๆ เพื่อการปรับปรุงบํารุงดิน ซึ่งได้ทําการศึกษาหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในการบริหารจัดการดินและน้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์ จึงนํากล้าหญ้าแฝกจากสถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาสมาจํานวนหนึ่ง หลังจากนั้นได้ทําการเพาะกล้าหญ้าแฝกและ ขยายพันธุ์เพื่อขยายผลการปลูกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเป็น เวลา 4 ปี ส่งผลให้ดินที่เสื่อมโทรมกลับมาอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการปลูกพืช และสามารถต่อยอดการพัฒนา พื้นที่ในรูปแบบเกษตรอินทรีย์และเกิดเป็นองค์ความรู้ต่างๆ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ตลอดจนสามารถพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนศึกษาดูงาน ให้กับบุคคลที่สนใจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและต่างจังหวัด รวมถึงผู้สนใจจากต่างประเทศ
  2. การประยุกต์และการบริหารจัดการใช้ เทคโนโลยีในการทําเกษตรอินทรีย์นั้นจะพยายามปรับ และพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่ให้มากที่สุดในรูปแบบการทําเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีการนําเทคโนโลยีในปัจจุบันมาปรับใช้ ดังนี้
  3. การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
  4. การปลูกหญ้าแฝกรอบๆ โคนต้น เพื่อปรับปรุงและอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดิน
  5. การเลี้ยงไส้เดือนดิน การเลี้ยงปลากินพืช เพื่อนํามูลที่ได้มาทําปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
  6. การผลิตและขยายแหนแดง เพื่อเป็นปุ๋ยชีวภาพและแจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจ
  7. การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้และ ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากผลผลิตที่ร่วงหล่นในแปลง โดยไม่เผาทําลายเศษซากพืชในแปลง ยกเว้นเศษซากพืช

6.การใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ในการป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนกินใต้ผิวเปลือกลองกอง โดยจะใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย 60 ล้านตัว (4 ถุง) ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตามกิ่งที่มีหนอน พ่น 2-3  ลิตร ต่อต้น พ่นจํานวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกมากยิ่งขึ้น 15-20 วัน

  1. การแก้ไขปัญหาด้านการผลิต เศรษฐกิจ

ด้านการผลิต และด้านเศรษฐกิจ : การทําเกษตรอินทรีย์ เป็นการผลิตแบบไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก ใช้ทรัพยากรหมุนเวียนภายในแปลง ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิต และจําหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป มีการบริหารจัดการโดยการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ การคัดคุณภาพก่อนส่งจําหน่าย โดยแบ่งเป็น 4 เกรด คือ A B C และเกรดช่อคละ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจําหน่ายและการจําหน่ายผลผลิตด้วยตัวเอง ผ่านทาง Social Media เช่น Facebook, Line มีการพัฒนา บรรจุภัณฑ์ โดยจัดทํากล่องบรรจุลองกองแบบพรีเมี่ยม สําหรับลองกอง เกรด A และแบบทั่วไปสําหรับลองกอง เกรด B C และเกรดช่อคละ ซึ่งกล่องมีขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัม และ 10 กิโลกรัม

ด้านสังคม : ตั้งใจทําเกษตรอินทรีย์จนได้รับ การรับรองมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานในพื้นที่ และยกย่องให้เป็นเกษตรกรต้นแบบเครือข่ายด้านเกษตรอินทรีย์และเกษตรผสมผสาน พัฒนาพื้นที่ผลิตเป็นศูนย์ 5) เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรที่มาศึกษาดูงานเกิดแรงบันดาลใจ ในการทําเกษตรที่มีคุณภาพ และรักในอาชีพเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

5. การบริหารการจัดการที่ดี

การทําเกษตรอินทรีย์ มีการวางแผนการผลิต เป็นอย่างดีและเป็นระบบ โดยเน้นการพึ่งพาธรรมชาติ ในพื้นที่ให้มากที่สุด ซึ่งมีหลักในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ดังนี้

  1. ด้านแรงงาน : เน้นการใช้แรงงานการผลิตในครัวเรือนเป็นหลัก แต่บางช่วงที่ต้องจัดการสวนแข่งกับเวลา เช่น ช่วงการตัดแต่งกิ่ง ช่อดอก ช่อผล หรือช่วงการเก็บเกี่ยวจะจ้างแรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อช่วยจ้างงานในพื้นที่ และได้คนช่วยสอดส่องดูแลแปลง ในอีกทางหนึ่ง
  2. ด้านพื้นที่และพืชที่ปลูก : เน้นการปลูกพืช ผสมผสานมีการเตรียมแหล่งน้ําให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก การบริหารจัดการน้ําให้เกิดความชุ่มชื้น มีฝายชะลอน้ำ อยู่ในพื้นที่และขุดคลองไส้ไก่ มีบ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็ก
  3. ด้านการผลิตและการรับรองมาตรฐาน : มีความตั้งใจที่จะผลิตพืชให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ผลิตลองกองซึ่งเป็นพืชอัตลักษณ์ของพื้นที่ให้มีความยั่งยืน จึงพัฒนากระบวนการผลิตจนได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) ลองกองตันหยงมัส

ผลงานและความสําเร็จของผลงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานแความยั่งยืนในอาชีพ

  1. การผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพพืชอินทรีย์ เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน/ปลอดภัย/คุณภาพ ปลอดศัตรูพืช
  2. พื้นที่ปลูกมีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน คือ น.ส.3 ก. มีการทําเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลายระดับเป็นชั้นๆ ทําแนวกันชนหลายชั้น หลายระดับ ตั้งแต่การขุดคันดิน ป้องกันน้ำจากภายนอก ปลูกหญ้าแฝกบนคันดิน และปลูกไม้พุ่มขนาดเล็ก
  3. ใช้น้ำจากบ่อบาดาลและขุดบ่อเก็บน้ำตื้น ไว้ใช้ภายในแปลง สร้างฝายชะลอน้ำ และขุดคลองไส้ไก่ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารพิษและโลหะหนักจากภายนอกแปลง
  4. ใช้หลักการขยายพันธุ์พืชจากต้นพันธุ์ที่มีอยู่ในสวนเป็นหลัก หรือจัดหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  5. มีการปลูกหญ้าแฝกรอบๆ โคนต้น เพื่อปรับปรุงและอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของดินและการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน มีการห่มดินจากใบไม้ ที่ร่วงหล่นในแปลง มีการใช้ปุ๋ยหมักธรรมชาติจากใบไม้และใบหญ้าแฝก มีการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ต่างๆ ในสวนที่ตกเกรดการผลิต มีการขยายแหนแดงเพื่อเป็นปุ๋ยชีวภาพ
  6. รักษาระบบนิเวศภายในแปลงอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงหางหนีบ มีการสํารวจแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสํารวจโรคและแมลงศัตรูพืช เน้นการป้องกันมากกว่าการกําจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีเขตกรรมเป็นหลัก กําจัดวัชพืชด้วยวิธีการดายหญ้าแล้วถอนหญ้า และใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยในการ     ป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช
  7. เก็บเกี่ยวลองกอง 13 สัปดาห์ หลังดอกบาน (สําหรับจําหน่าย) และ 15 สัปดาห์ หลังดอกบาน    (สําหรับบริโภค) มีการเก็บเกี่ยวใส่ตะกร้าที่ไม่ผ่านการใช้งานแบบทั่วไปมาก่อนและมีการทําความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อนนํามาใช้และมีการบํารุงรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  8. ไม่มีการเก็บรักษาผลผลิต เนื่องจากนําไปจําหน่ายในตลาดชุมชนทุกวัน และส่งทางระบบขนส่งทันทีเมื่อได้รับยอดสั่งซื้อจากการจําหน่ายทาง Social Media
  9. มีการใช้เครื่องหมายการรับรอง Organic Thailand เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
  10. บันทึกข้อมูลวัสดุที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก การใช้น้ําหมักชีวภาพ ราคาผลผลิต และการปฏิบัติงานภายในแปลง ตลอดจนการจดบัญชีรายรับ-รายจ่าย
  11. แสดง QR Code บนผลผลิตที่จําหน่าย เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับและการติดต่อสื่อสารของผู้บริโภค
  12. ความยั่งยืนและความต่อเนื่องในระบบ การจัดการคุณภาพพืชอินทรีย์

ในการทําเกษตรอินทรีย์สามารถสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวอย่างมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ ในพื้นที่ ปลูกยังมีพืชที่ปลูกเป็นรายได้แบบเงินฝากในรูปแบบของธนาคารต้นไม้ คือรายได้เงินฝากจากไม้เศรษฐกิจ เช่น สะเดายางนา ตะเคียน พะยอม มะค่า ต้นสัก จํานวนรวม 500 ต้น มีอายุเฉลี่ย 20 ปี

การรักษาความเป็นอินทรีย์ตลอดกระบวนการผลิต มีความรักและหวงแหนพื้นที่ทําการเกษตรไว้ให้ลูกหลานมีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพเกษตร ได้ดําเนินชีวิต 4 “ตามรอยพระบาท ศาสตร์พระราชา” และได้ส่งต่อความรักในอาชีพเกษตรกรไปสู่คนในครอบครัว ในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้รู้ต้นทุนการผลิตที่แท้จริง เพื่อสานต่อการผลิตพืชที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานแก่ผู้บริโภคต่อไป

  1. การขยายผล

มอบสิ่งที่ตนเองรู้ด้วยใจจากประสบการณ์การทําการเกษตรให้กับเกษตรกรที่สนใจและเกษตรกรที่มาทัศนศึกษา นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลการทําเกษตรอินทรีย์จากแปลงปลูกไปสู่พื้นที่บริเวณบ้านพักอาศัย ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอําเภอสุไหงโกลก โดยได้เริ่มต้นทําเกษตรอินทรีย์วิถีคนเมือง เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่คนเมืองที่อยากปลูกพืชอินทรีย์ไว้บริโภคในครัวเรือนมีเกษตรกรที่สนใจและกลับไปปฏิบัติตามแล้วกว่า 20 ราย

  1. ผลงาน ความสําเร็จ ความภาคภูมิใจ

จากความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ศึกษาเรียนรู้หาข้อมูลนํามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองเสียสละและอุทิศเวลาส่วนตัว จนสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร ที่เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้และนํากลับไปปฏิบัติได้จริง เป็นผลให้ได้รับรางวัลต่างๆ เป็นขวัญและกําลังใจในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

  1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลผลิตลองกอง ในงานของดีเมืองนรา “งานวันลองกอง” ปี 2554
  2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เกษตรกรดีเด่น (สาขาไร่นาสวนผสม) ปี 2557 จังหวัดนราธิวาส
  3. รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เกษตรกรดีเด่น (สาขาไร่นาสวนผสม) ปี 2555 จังหวัดนราธิวาส
  4. หมอดินอาสาดีเด่นระดับเขต ปี 2558
  5. รางวัลชนะเลิศจากการประกวดการพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝก อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ครั้งที่ 9 ประจําปี 2557-2554 ประเภทการปลูกและการส่งเสริมการปลูก
  6. รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 สาขาอนุรักษ์ดิน และน้ำและการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก ปี 2558 จากกรมพัฒนาที่ดิน
  7. รางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกร GAP ลองกอง ในงานของดีเมืองนรา “งานวันลองกอง ครั้งที่ 42 ประจําปี 2560
  8. รางวัลชนะเลิศเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ในงานของดีเมืองนรา “งานวันลองกอง ครั้งที่ 43 ประจําปี 2561
  9. รางวัลผู้ที่มีความสามารถดําเนินกิจกรรม ของงานพัฒนาที่ดินและขยายผลการดําเนินงานเป็น ประจักษ์เป็นวงกว้าง เมื่อวันที่ 25ธันวาคม 2562

ความเป็นผู้นําและการเสียสละเพื่อประโยชน์ – เครือข่ายคนรักษ์แฝกระดับเขตและระดับ ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

– เป็น Smart Farmer ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ด้วยใช้วิธีการอธิบายและชี้ให้เห็นของจริงที่ปฏิบัติอยู่ในแปลงของตนเอง และสามารถอธิบายเป็น

ภาษาท้องถิ่น (ภาษายาวี) ได้เป็นอย่างดี

– เป็นหมอดินอาสาประจําหมู่บ้านของสถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาส

– เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ประจําตําบลสุไหงโกลก

– เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกและการเกษตรกรรม

– เป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ และเปิดสวนเป็นสถานที่ดูงาน

– เครือข่ายคนรักแฝกระดับเขตและระดับประเทศ

– เครือข่าย ศพก. อินทรีย์ อําเภอสุไหงโกลก

– กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลองกองคุณภาพ

– เครือข่ายการทําเกษตรแบบผสมผสาน และการทําเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่

– เครือข่ายเกษตรกรที่ได้รับรองสิ่งบ่งชี้ภูมิศาสตร์ไทย (GI) ลองกองตันหยงมัส

นอกจากนี้ ยังได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นแปลงเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตลองกองของจังหวัดนราธิวาส มีกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง ช่อดอก/ผล การทําปุ๋ยหมักจากเศษพืชการทําน้ำหมักชีวภาพ (จากปลาพืช) การเผาถ่านทําน้ำส้มควันไม้ การคลุมดินโดยใบหญ้าแฝก การให้น้ำแบบหยด ซึ่งแต่ละปีมีเกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ในแปลงมากกว่า 200 ราย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การทําการเกษตรในชีวิตประจําวันที่ได้ปฏิบัติอยู่ทุกวัน จะทําแบบค่อยเป็นค่อยไป ทําด้วยความขยันและเอาใจใส่ คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมีสติ พึ่งพาตนเองลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกที่สุด ไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและจิตใจที่ดีตามมา ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ครอบครัวที่มีความสุข มีการดแลสุขลักษณะในแปลง ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทําให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกฎสําหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน คือ ห้ามนําอาหาร ถุงพลาสติกเข้ามาภายในแปลง

ในกระบวนการผลิตจะไม่มีการใช้สารเคมี โดยจะใช้วิธีการตัดหญ้าทดแทนการใช้สารเคมีกําจัดวัชพืช จําวันที่ได้ปฏิบัติอยู่ การปลูกหญ้าแฝกพร้อมกับปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อคลุม วัชพืชในสวนและป้องกันการระเหยของความชื้นในดิน ป้องกันการพังทลายของดิน มีการปรับปรุงบํารุงดินโดย ใช้ปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยชีวภาพจากแหนแดง ส่วนการป้องกัน กําจัดแมลงศัตรูพืช จะใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยร่วมกับวิธีเขตกรรม เช่น การดูแลแปลงให้สะอาด การดูแลพืชปลูกให้สมบูรณ์แข็งแรงและใช้สารไล่แมลงจากพืช ที่ทําขึ้นมาเองทดแทนการใช้สารเคมี

 


พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, มติชนสุดสัปดาห์ และศิลปวัฒนธรรม ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 63 เท่านั้น! คลิกดูรายละเอียดที่นี่