ทุเรียนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่หมอนทอง ชะนี และก้านยาว

คุณกิตติ จันทวิสูตร กับทุเรียนหลงลับแล

เนื่องจากทุเรียนในสมัยก่อน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด จึงพบลักษณะแปลกใหม่อยู่เสมอ ผู้ที่ติดตามทุเรียนได้แบ่งทุเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม หลักการแบ่งนั้น ส่วนหนึ่งยึดบรรพบุรุษ แต่บางพันธุ์ไม่ได้เป็นญาติกัน เพราะมีลักษณะใกล้กัน จึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

นามของทุเรียนต่อไปนี้ บางพันธุ์สาบสูญไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วยังมีเก็บรักษาอยู่

เกษตรกรมีปลูกอยู่ที่สวนละอองฟ้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เขารวมไว้กว่า 40 พันธุ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี เก็บไว้กว่า 200 พันธุ์

เกษตรกรรายอื่นก็มีบางสวน 20 พันธุ์ บางสวน 80 พันธุ์

ทุเรียน 6 กุ่ม มีดังนี้

คุณสุทธิเดช กฤษระเศรณี กับทุเรียนนกหยิบ

หนึ่ง.กลุ่มกบ ได้แก่ จอมกบ กบแม่เฒ่า กบเล็บเหยี่ยว กบตาขำ กบพิกุล กบวัดกล้วย กบชายน้ำ กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) กบสุวรรณ กบเจ้าคุณ กบตาท้วม (กบดำ) กบตาปุ่น กบหน้าศาล กบจำปา (กบแข้งสิงห์) กบเบา กบรัศมี กบตาโห้ กบตาแจ่ม กบทองคำ กบสีนาค กบทองก้อน กบไว กบงู กบตาเฒ่า กบชมพู กบพลเทพ กบพวง กบวัดเพลง กบก้านเหลือง กบตานวล กบตามาก กบทองเพ็ง กบราชเนตร กบแก้ว กบตานุช กบตามิตร กลีบสมุทร กบตาแม้น การะเกด กบซ่อนกลิ่น กบตาเป็น กบทองดี กบธีระ กบมังกร กบลำเจียก กบหลังวิหาร กบหัวล้าน

คุณกิตติ จันทวิสูตร กับทุเรียนหลงลับแล

สอง.กลุ่มลวง ได้แก่ ลวง ลวงทอง ลวงมะรุม ชะนี ชะนีกิ่งม้วน ชมพูศรี ย่ำมะหวาด สายหยุด ชะนี ก้านยาว ชะนีน้ำตาลทราย มดแดง สีเทา

ทุเรียนเมล็ดในยายปราง

สาม.กลุ่มก้านยาว ได้แก่ก้านยาว ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) ก้านยาวสีนาก ก้านยาวพวง ทองสุก ก้านยาวใบด่าง ชมภูบาน ต้นใหญ่

เนื้อทุเรียนเมล้ดในยางปราง

สี่.กลุ่มกำปั่น ได้แก่กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) กำปั่นแดง ปั่นตาแพ กำปั่นพวง ชายมะไฟ ปิ่นทอง เม็ดในกำปั่น เห-รา หมอนเดิม หมอนทอง กำปั่นบางสีทอง ลุงเกตุ

ทุเรียนพวงมณี

ห้า.กลุ่มทองย้อย ได้แก่ ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ฉัตร ฉัตรสีนาค ฉัตรสีทอง พวงฉัตร ทองใหม่ นมสวรรค์ ทับทิม ธรณีไหว นกหยิบ แดงรัศมี อีอึ่ง อีทุย

ทุเรียนย่ำมะหวาด

หก.กลุ่มเบ็ดเตล็ด ได้แก่ กะเทยเนื้อขาว กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง กระดุมทอง กระดุมสีนาก กระโปรงทอง กระปุกทอง (กระปุกทองดี) ก้อนทอง เขียวตำลึง ขุนทอง จอกลอย ชายมังคุด แดงช่างเขียน แดงตาน้อย แดงตาเผื่อน แดงสาวน้อย ดาวกระจาย ตะพาบน้ำ ตะโก (ทองแดง) ตุ้มทอง ทศพิณ ทองคำ ตาพรวด ทองม้วน ทองคำ นกกระจิบ บาตรทองคำ (อีบาตร) บางขุนนนท์ เป็ดถบ ฝอยทอง พวงมาลัย พวงมณี เม็ดในยายปราง(เมล็ดในยายปราง) เม็ดในบางขุนนนท์ ยินดี ลำเจียก สีทอง สีไพร สาวชมเห็ด สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) หางสิงห์ เหรียญทอง ไอ้เข้ อินทรชิต อีล่า อีลีบ อียักษ์ อีหนัก ตอสามเส้า ทองนพคุณ ทองหยอด ทองหยิบ นมสด เนื้อหนา โบราณ ฟักข้าว พื้นเมืองเกาะช้าง มะนาว เม็ดในกระดุม เม็ดในก้านยาว เม็ดในลวง เมล็ดเผียน เมล็ดพงษ์พันธุ์ เมล็ดลับแล เมล็ดสม เมล็ดอารีย์ ย่ามแม่วาด ลวงเพาะเมล็ด ลุงไหล ลูกหนัก สาเก สาวใหญ่ หมอนข้าง หมอนละอองฟ้า หลงลับแล เหมราช ห้าลูกไม่ถึงผัว เหลืองทอง อีงอน ไอ้เม่น ไอ้ใหม่ กะเทยขั้วสั้น

ทุเรียนหลินลับแล
ทุเรียนกบทองคำต้นคมบาง

ผู้สนใจอยากเรียนรู้เรื่องสายพันธุ์ทุเรียน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  กลุ่มส่งเสริมไม้ผล สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 02-579-3816   หรือ เยี่ยมชมแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนโบราณของประเทศไทย ได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อ.ขลุง จ.จันทบุรี http://www.doa.go.th/hrc/chantaburi โดยเปิดให้บริการจำหน่าย-จ่ายแจกพันธุ์ไม้แก่ผู้สนใจ โทร. 0-3939-7030, 0-3939-7146 (ในวันและเวลาราชการ)

ผู้อยากซื้อทุเรียนนกหยิบ ติดต่อได้ที่คุณสุทธิเดช กฤษณะเศระณี อ.ขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร.061-5149829

สนใจซื้อทุเรียนหลงลับแล เมล็ดในยายปราง ติดต่อคุณกิตติ จันทวิสูตร โทร.081-4100596