ชาวสวนลำไย เชียงใหม่ แนะเทคนิค ทำลำไยผลผลิตดก

คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว

ฤดูกาลแห่งลำไยเริ่มขึ้น ผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาด ปริมาณผลผลิตที่ตลาดต้องการก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวสวนต้องมีเทคนิคเฉพาะสวน เพื่อให้ได้ผลผลิตตามปริมาณที่ตลาดต้องการ และควรให้ได้คุณภาพ เพื่อให้ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาด

คุณมานพ กาวิลุน ใช้ผลิตภัณฑ์ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ต่อเนื่องทุกปี เป็นเวลา 5 ปี
คุณมานพ กาวิลุน ใช้ผลิตภัณฑ์ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ต่อเนื่องทุกปี เป็นเวลา 5 ปี

ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนได้มีโอกาสพบกับ คุณมานพ กาวิลุน เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 6 ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า พื้นที่รอบสวนตนเองส่วนใหญ่เขาจะปลูกข้าวกัน แต่ตนเองเห็นว่าการปลูกข้าวมักมีปัญหาทั้งในเรื่องฝนแล้ง น้ำท่วม ราคาข้าวไม่แน่นอน ตนเองจึงเลือกที่ทำสวนลำไย ในพื้นที่ 13 ไร่ โดยยึดหลักว่า “คนอื่นปลูกข้าว ผมทำสวนลำไย”

สวนลำไยมีอยู่ 2 แห่ง อายุ 5-12 ปี ได้ทดลองใช้และให้ความไว้วางใจผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ทุกผลิตภัณฑ์ เรียกว่าเชื่อมั่น 100 เปอร์เซ็นต์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะตัดแต่งทรงพุ่ม ทางดิน ใช้ ฮิวโม่-เอฟ 65 ละลายน้ำราดทั่วทรงพุ่ม เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ดินชุ่มชื้นตลอดแม้จะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ทางใบ จะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพต้น เมื่อถึงระยะที่ต้นลำไยมีความพร้อม จะใช้สารราดลำไย ลองก้า-เอ็น ทางดิน ประมาณ 3 ขีด ตามขนาดของต้น ใช้ละลายน้ำราดพื้นรอบทรงพุ่ม จากนั้นจะใช้ อิมเพล เปิดตาดอก คุณมานพ กล่าวว่า ช่อดอกแตกออกมาเป็นพุ่ม แขนงตาดอกที่อยู่ก้านใบก็ออกดอกเต็ม ชอบมาก และจะใช้ฮอร์โมนสามสหายเป็นประจำทุกระยะ ฉีดพ่นทางใบ ห่างกัน 7-10 วัน ต่อครั้ง ทำให้ใบลำไยสีเขียวเข้ม ติดผลดก  ผลลำไยเรียงตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าขนาด AA เมื่อระยะใกล้จะเก็บเกี่ยวหรือในช่วงที่เมล็ดในดำ จะใช้เคลียร์ ร่วมด้วยเพื่อช่วยขัดสีผิวผลลำไย ให้ผิวของผลลำไยมีสีเหลืองทอง

“เมื่อปีที่แล้วสามารถขายผลผลิตลำไยได้ประมาณ เกือบ 300,000 บาท แต่ในปีนี้คาดว่าจะได้รับเงินมากกว่าปีที่แล้วโดยประมาณ 700,000 บาท แม้ว่าในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เกิดพายุฤดูร้อนที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่าพายุงวงช้าง ชาวสวนลำไยที่มีอยู่ประมาณ 100 กว่าแห่ง เสียหายจากลมพายุ ประมาณ 70 แห่ง บางรายทั้งใบและผลหล่นร่วงหมดเหลือแต่ต้น แต่ที่สวนของตนเองเสียหายบางส่วนเท่านั้นในช่วงที่ผลลำไยยังเล็กอยู่ เมื่อผ่านพ้นระยะนั้นแล้ว ที่สวนยังมีผลลำไยติดอยู่จำนวนมาก กิ่งก้านใบ และช่อดอกแข็งแรง เป็นเพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด”

คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว
คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว

ส่วนที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ คุณประสิทธิ์ บุญเรือง หรือ ลุงแก้ว ชาวสวน วัย 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 8 บ้านแม่อ้อใน ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรประเภทหัวไวใจสู้ ที่ทำสวนลำไยที่เขตบ้านแม่อ้อใน มีสมาชิก จำนวน 30 กว่าคน แต่ละคนปลูกลำไยมากกว่าคนละ 10 ไร่ เช่น คุณเจริญ แดงหม่อง คุณสงัด ศิริ คุณอุทัย คำแก้ว เป็นต้น โดยมี คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท เป็นผู้ให้คำแนะนำและติดตามผลการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

ลุงแก้ว เล่าว่า พื้นที่ปลูกลำไยที่บ้านแม่อ้อในจะแตกต่างกว่าสวนลำไยที่เป็นพื้นราบทั่วไป ที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำชลประทาน มีระบบน้ำที่สมบูรณ์แบบ แต่ที่บริเวณบ้านแม่อ้อในนี้เป็นการปลูกลำไยบนพื้นที่สูงไหล่เขา อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ได้รับคำแนะนำจาก คุณสงัด ศิริ ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยใช้ผลิตภัณฑ์ สามสหาย ประกอบด้วย โปร-ซีบีเอ็น พรีคัส และ แซมวิก้า ฉีดพ่นที่ใบลำไย เมื่อต้นมีความสมบูรณ์พร้อมแล้วจึงราดลองก้า-เอ็น ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

ลุงแก้ว เล่าอีกว่า แต่เมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทครบทุกตัวแล้ว ได้รับผลผลิตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ต้นลำไยโตมากขึ้น ตามอายุและขนาดของต้นลำไย ปีนี้ลำไย 14 ไร่ ขายได้ 680,000 บาท

ลุงแก้ว บอกด้วยว่า นอกจาก ลองก้า-เอ็น และ ฮอร์โมนสามสหาย แล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ชอบมาก คือ เคลียร์ ทำให้ผิวลำไยสีเหลืองนวลสวยมาก โดยรวมปีนี้อากาศแล้งและร้อนมาก แต่ผลลำไยก็ยังคงอยู่ในเกรด AA มากถึง ร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ และเกรด A ประมาณ ร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น

ส่วน คุณสงัด ศิริ เกษตรกร วัย 58 ปี บ้านเลขที่ 133 บ้านแม่อ้อใน กลุ่มผู้ปลูกลำไยบ้านแม่อ้อใน กล่าวเพิ่มเติมว่า ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมาเป็นเวลา 3 ปี ต่อเนื่องทุกปี แล้วประสบผลสำเร็จทุกปี ตนจึงแนะนำให้เพื่อนบ้านในพื้นที่บ้านแม่อ้อในและพื้นที่ใกล้เคียงใช้ตาม ส่วนใหญ่แล้วประสบความสำเร็จทุกรายที่ใช้ตาม และในปีนี้ได้มีการนำผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาใช้ ชื่อ อิมเพล ทำให้รู้สึกว่าช่อดอกสมบูรณ์กว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา และทนต่อสภาพความแห้งแล้งเมื่อต้นปี ดอกไม่หลุดร่วงง่าย

คุณไพฑูรย์ ชัยวรรณา
คุณไพฑูรย์ ชัยวรรณา

พื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ คุณไพฑูรย์ ชัยวรรณา เกษตรกรชาวสวนลำไย วัย 61 ปี บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 4 บ้านทา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ปลูกลำไยอย่างใส่ใจ และประณีตการปฏิบัติงานในสวนของตนเอง อายุลำไย ประมาณ 10 ปี พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด มาเป็นเวลาประมาณ 6 ปีแล้ว ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้ ลองก้า-เอ็น ฉีดพ่นทางใบและราดบริเวณทรงพุ่มสลับกัน สภาพดินดีขึ้นมาก มีรากฝอยแตกออกมาใหม่ปริมาณมาก ทำให้ลำต้นสมบูรณ์

กลุ่มทำลำไยบ้านแม่อ้อใน
กลุ่มทำลำไยบ้านแม่อ้อใน

คุณอุเทน สุวรรณคาม นักวิชาการประจำบริษัท รับผิดชอบการให้คำแนะนำแก่ชาวสวนลำไยในพื้นที่ ได้ให้คำแนะนำว่า ทางบริษัทได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน 8 ขั้นตอนง่ายๆ กับเทคนิคการทำลำไยในฤดู-นอกฤดู สำหรับเกษตรกรชาวสวนลำไย ได้แก่ 1. ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว 2. ระยะสะสมอาหารก่อนราดสาร 1 เดือน 3. ระยะราดสาร 4. ระยะเปิดตาดอก 5. ระยะดึงช่อดอก-ระยะดอกบาน 6. ระยะติดผลอ่อน 7. ระยะมะเขือพวง 8. ระยะเมล็ดในดำ

ถ้าท่านใดสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เลขที่ 1010/16 ถนนพระราม 4 สีลม บางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. (02) 633-8071 หรือ E-mail : [email protected]