สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัดคว้ารางวัลสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ 2561

สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัดอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดตั้งเมื่อวันที่ 8  กันยายน  2538 สมาชิกแรกตั้ง 21 คน  สมาชิกปัจจุบัน  395 คนภายใต้การนำของประธานกรรมการ “นายสุพล  ชุมแก้ว”

 

ผลงานดีเด่น

สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัดมีความคิดริเริ่มในด้านต่างๆ เช่น 1.โครงการส่งเสริมให้สมาชิกใช้เชื้อราไดรโคเดอร์มา แก้ปัญหาโรคพืชในแปลงเกษตร ซึ่งเป็นโครงการที่ณรงค์ให้สมาชิกป้องกันและแก้ปัญหาโรคเชื้อราในพืช

สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชผลทางการเกษตรมักประสบปัญหาโรคพืชต่าง ๆ ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเกษตรกร และยังมีสารตกค้างในพืช ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม การใช้เชื้อราไดรโกเดอร์ มีประโยชน์สามารถป้องกันและกำจัดโรคได้

สหกรณ์ฯ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาโรคพืชในแปลงเกษตร โดยจัดอบรมให้ความรู้ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติให้เกษตรกรสามารถผลิตเชื้อราไดรโกเดอร์มาไว้ใช้เองทดแทนการใช้สารเคมี ช่วยลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้าง ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งช่วยรักษาสภาพแวดล้อม

สหกรณ์ฯ ส่งเสริมให้สมาชิกใช้เชื้อราไดรโคเดอร์มาแก้ปัญหาโรคพืชในแปลงเกษตร รักษาโรคเชื้อราในดิน โรครากเน่า โคนเน่า ช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมสามารถใช้รักษาโรคน้ำกันเท้าได้อีกด้วย ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร จำนวน 345 ราย เฉลี่ยปีละ 4,500 บาทต่อราย ลดการใช้สารเคมีในการรักษาโรคพืช สมาชิกมีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากไม่มีสารปนเปื้อนในพืช ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่โครงการ

  1. โครงการส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารประเภทเครื่องแกง

ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอิทธิพลจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตในสังคม ทั้งด้านรายที่ลดลงและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกสหกรณ์ประสบปัญหาในการครองชีพ ดังนั้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาของสมาชิก สหกรณ์จึงได้คิดหาอาชีพเสริมให้กับสมาชิกของสหกรณ์ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย โดยจัดตั้งกลุ่มเครื่องแกงและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน

วัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมความรู้ทักษะด้านอาชีพให้แก่แม่บ้าน  เพื่อสร้างโอกาสทางเลือกในการประกอบอาชีพ เป็นการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน เพื่อส่งเสริมและจัดตั้งกลุ่มอาชีพในสหกรณ์เพื่อเสริมสร้างให้สมาชิกพึ่งตนเองได้ และมีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการนี้สามารถแก้ไขปัญหาให้สมาชิกมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ในครัวเรือน สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 3,000 – 4,000 บาทต่อครัวเรือน สมาชิกพึ่งตนเองได้บนพื้นฐานแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนจากการปลูกพืชผักเพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือน เช่น พริกแกง ขมิ้น ตะไคร้ ขิง ข่า ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 1,000 บาทต่อครัวเรือน สมาชิกในชุมชนประมาณ 1,000 ราย ได้ซื้อเครื่องแกงในราคาถูก ประหยัดค่าพาหนะในการเดินทางไปซื้อที่ตลาด

สมาชิกมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่ม สามารถช่วยเหลือสมาชิกในการจำหน่ายเครื่องแกงไว้ใช้ในครัวเรือน มีการจัดสรรกำไรจากการจำหน่ายสินค้าแบ่งให้สมาชิกในกลุ่ม เป็นโครงการที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ ๆ  และได้ดำเนินการขอมาตรฐาน อย. เพื่อมาตรฐานและพัฒนาสินค้าให้ก้าวหน้าต่อไป

  1. โครงการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตในการจัดหาปุ๋ยพร้อมตรวจวิเคราะห์สภาพดิน

สมาชิกส่วนใหญ่ทำสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ทำให้แต่ละปีสมาชิกต้องการปุ๋ยมาใส่พืชผลจำนวนมาก สหกรณ์ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีแนวคิดในการจัดหาปุ๋ยมาจำหน่ายเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้กับสมาชิก โดยจัดทำโรงผสมปุ๋ยเพื่อผลิตปุ๋ยตามสูตรและตามสภาพดินที่เหมาะสม โดยสหกรณ์จะตรวจวิเคราะห์สภาพดินให้กับสมาชิก เพื่อจะได้ทราบถึงธาตุอาหารที่ดินยังขาดอยู่และใช้ปุ๋ยตามสูตรที่ดินต้องการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่สมาชิก โดยใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน โดยผ่านการวิเคราะห์สภาพดินก่อนการใส่ปุ๋ย ดำเนินงานของโครงการ

โดยสหกรณ์ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการก่อสร้างโรงผสมปุ๋ย จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการผสมปุ๋ย จัดหาแม่ปุ๋ยจำนวน 3 สูตร เพื่อนำมาผสมปุ๋ยตามสูตร จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เรื่องข้อดีของการใช้ปุ๋ยผสม เปิดรับตัวอย่างดิน เพื่อวิเคราะห์สภาพดินในแต่ละพื้นที่ แนะนำปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามความต้องการของสภาพดิน

โครงการนี้สามารถแก้ไขปัญหาให้สมาชิกได้ใช้ปุ๋ยตามสภาพดินและพืชที่ต้องการ แถมซื้อปุ๋ยในราคาถูกกว่าท้องตลาด สมาชิกตื่นตัวเกี่ยวกับข้อมูลการในการวิเคราะห์ เป็นโครงการตัวอย่างที่สามารถนำเสนอให้หน่วยงานต่าง ๆ มาศึกษาดูงาน

ความสามารถในการบริหารและการจัดการของสถาบัน

สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัด มีคณะกรรมการดำเนินการ 11 คน เจ้าหน้าที่สหกรณ์  5 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 1 คน ที่ปรึกษาสหกรณ์ 1 คน ปัจจุบันมีทุนดำเนินงาน 15,076,749.78.00 บาท ปริมาณธุรกิจ 83,405,428.55 บาท ธุรกิจสินเชื่อ 3,457,000.00 บาท ธุรกิจรับฝากเงิน 4,316,763.65 บาท

ธุรกิจรวบรวมผลผลิตยางพารา 403,137.94 บาท ธุรกิจรวบรวมยางแปรรูป 37,391,961.63 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 12,889,462.33 บาท ธุรกิจปุ๋ยสั่งตัด 7,693,315.00 บาท ธุรกิจรวบรวมผลปาล์มน้ำมัน 17,253,788.00 บาท กำไรสุทธิ 308,198.71 บาท มีการเก็บรักษาเงินสดไว้ตามระเบียบที่กำหนด สหกรณ์ได้รับการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อยู่ในระดับดี

บทบาทการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

สหกรณ์เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก สร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วม โดยผ่านการประชุมและการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยการประชุมใหญ่ ร้อยละ 75.16  สมาชิกเข้าประชุมกลุ่มร้อยละ 89.39 ประชุมคณะกรรมการร้อยละ 93.18 ค่าเฉลี่ยสมาชิกร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ ร้อยละ 89.39 สมาชิกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ ร้อยละ 70.00 สมาชิกยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหกรณ์ เช่น กิจกรรมงานวันสหกรณ์ กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมวันผู้สูงอายุ กิจกรรมตักบาตรวันแม่แห่งชาติ ฯลฯ

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

จากการดำเนินงานในรอบสามปีที่ผ่านมา สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านเสม็ดจวนพัฒนา จำกัด มีความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีทุนดำเนินงาน 15,076,749.78 บาท ทุนเรือนหุ้น 6,267,250.00  บาท ทุนสำรอง  2,389,952.20 บาท  เงินรับฝาก 4,316,763.65 บาท ปริมาณธุรกิจ 83,405,428.55 บาท  กำไรสุทธิ 308,198.71 บาท  จัดสรรเงินปันผล ร้อยละ 1.5  เป็นเงิน 96,154.00 บาท  เงินเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก 86,531.00 บาท

การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่สหกรณ์ฯ มีให้แก่สมาชิกและครอบครัวสมาชิก กรรมการและพนักงาน ได้แก่ มอบทุนการศึกษาแก่บุตรสมาชิก มอบเงินช่วยเหลือสมาชิกถึงแก่กรรม มอบเงินรับขวัญบุตรแรกเกิด สวัสดิการสมรสหรือบวช

กิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน สหกรณ์ฯ จัดกิจกรรมประเพณีวันสารทเดือนสิบ จัดโครงการหนึ่งสหกรณ์หนึ่งทุนการศึกษาทุนละ 5,000 บาท โดยให้ทุนเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนจบปริญญาตรี จัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ด้านการสหกรณ์ รณรงค์ฉีดวัคซีนประจำปี จัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน หลักสูตรป้องกันเตือนภัยและฟื้นฟูชุมชนในภาวะวิกฤต จัดกิจกรรมถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา

กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธราชาติและสิ่งแวดล้อม รณรงค์ประหยัดไฟฟ้าน้ำประปา และน้ำมันเชื้อเพลิง สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน รณรงค์ใช้กระดาษสองหน้า คัดแยกขยะนำไปรีไซเคิล ให้ความรู้เรื่องการตรวจสภาพดินเพื่อให้เหมาะกับการใช้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ โดยวิทยากรจากเกษตรอำเภอ