มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แชร์เทคนิคการให้น้ำลำไยอย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด

วิธีการให้น้ำแก่สวนลําไย ที่ชาวสวนทํากัน แบ่งออกได้  3 วิธี คือ วิธีให้น้ำทางผิวดิน วิธีโดยสปริงเกลอร์ และวิธีโดยน้ำหยด โดยการให้น้ำทั้ง 3 วิธี มีเป้าหมาย คือ ต้องการให้น้ำซึมลงเปียกดินในทรงพุ่ม ถึงความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร ขึ้นไป เพราะรากลําไยส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในดินที่ระดับความลึกนี้

การให้น้ำแก่ต้นเล็กที่มีอายุ 1-2 ปี

การให้น้ำแก่ต้นลําไยปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก เกษตรกรจะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และทุนทรัพย์ที่จะลงทุน ตั้งแต่การหาบน้ำรด ใช้ปั๊มน้ำท่อยางหรือวางระบบสปริงเกลอร์เล็กหรือน้ำหยด ถ้าจะวางระบบสปริงเกลอร์หรือน้ำหยดก็ควรพิจารณาวางระบบเผื่ออนาคตที่ต้นโตขึ้นด้วย โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นที่ปลูกในปีแรกประมาณ 20 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 เมตร) และปีที่ 2 ประมาณ 60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกกว้าง 1.0 เมตร)

การให้น้ำแก่ต้นลําไย ที่มีอายุ 3 ปี ขึ้นไป

การให้น้ำทางผิวดิน กรณีที่สวนลําไยอยู่ในบริเวณที่ลุ่ม และมีลําเหมืองไหลผ่านสวน การให้น้ำโดยทางผิวดินเป็นการให้น้ำที่ให้ครั้งหนึ่งๆ ปริมาณมาก เพื่อให้ดินที่ควรลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ทําให้ต้นลําไยค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ปริมาณน้ำที่ต้องให้ ครั้งหนึ่งๆ จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม และปริมาณน้ำที่ต้นลําไยใช้ประโยชน์ได้ของดินลึก 40 เซนติเมตร นํ้าที่ใช้ประโยชน์ได้ของดินแตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำเป็นความลึกของน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ดิน เนื้อต่างๆ อุ้มไว้ให้พืชใช้ในความลึก 40 เซนติเมตร ต่อการให้นํา้หนึ่งครั้ง

การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุดคือ การไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวนลําไย ให้ได้น้ำลึกเท่ากับความสูงที่ต้องการของดินเนื้อต่างๆ ตามตารางที่ 1 การที่จะทําเช่นนี้ได้พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกัน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทําคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลําไยแต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขัง ในคันให้ได้สูงตามต้องการของดินเนื้อต่างๆ ถ้าน้ำในเหมืองอยู่ต่ำกว่าสวน เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ กรณีเช่นนี้ยิ่งมีความจําเป็นต้องทําคันดินรอบทรงพุ่ม เพราะจะทําให้ประหยัดน้ำมากกว่าสูบน้ำใส่ทั้งสวน เมื่อให้น้ำทางผิวดิน ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มน้ำไว้ให้พืชค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ความบ่อยถี่ของการให้น้ำขึ้นกับฤดูกาล และเนื้อดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มากน้อยต่างกัน ในฤดูร้อนที่กลางวันยาวและอากาศร้อน พืชย่อมดูดน้ำจากดิน และคายน้ำมากกว่าในฤดูหนาวที่กลางวันสั้น และอากาศเย็น ดินที่อุ้มน้ำไว้ได้น้อย เช่น ดินร่วนปนทรายจึงต้องให้น้ำถี่กว่าดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มาก เช่น ดินเหนียว สวนลําไยในจังหวัดเชียงใหม่-ลําพูน ประมาณว่าควรมีรอบการให้น้ำในเดือน และดินเนื้อต่างๆ

Advertisement

การให้น้ำโดยใช้ท่อและสายยาง สําหรับสวนลําไยในที่ดอนมักต้องใช้น้ำบาดาล และสูบให้น้ำโดยใช้ท่อหรือสายยาง ถ้าดินเป็นดินร่วนหรือเหนียวที่ซึมน้ำได้ช้าก็อาจทําเช่นเดียวกับที่ลุ่ม คือทําคันดินรอบทรงพุ่มแล้วเอาน้ำขังในคันดินสูง ตามตารางที่ 1 แต่ถ้าเป็นดินที่น้ำซึมได้เร็ว (อาจจะเป็นดินทรายร่วนปนทรายหรือดินเหนียวสีแดง) การให้น้ำทางสายยางลงในคันให้ได้น้ำสูง 4-6 เซนติเมตร จะต้องใช้น้ำเกินความต้องการมากและจะสูญเสียโดยการซึมลึก ในกรณีเช่นนี้เกษตรกรควรจับเวลาและตวงวัดว่าท่อหรือสายยางนั้นให้น้ำได้นาทีละกี่ลิตร จากนั้นจึงคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำต้นละกี่นาที จึงจะได้น้ำเป็นจํานวนลิตร

Advertisement

การประหยัดน้ำเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับสวนเช่นนี้ เพราะต้นทุนค่าสูบน้ำจะแพงกว่าสวนในที่ลุ่ม และน้ำมีจํากัด เกษตรกรควรปรับดินในทรงพุ่มให้ราบเรียบเพื่อให้น้ำที่ให้กระจายซึมลงในดินในทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ รอบการให้น้ำในกรณีให้โดยใช้ท่อ และสายยางเหมือนกับการให้น้ำโดยใส่น้ำเข้าขังในสวน หรือในทรงพุ่ม สําหรับความถี่ห่างนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล และเนื้อดิน

การให้น้ำโดยสปริงเกลอร์และสปริงเกลอร์เล็ก สปริงเกลอร์ที่นําเข้าจากต่างประเทศมักมีราคาแพง  แต่สปริงเกลอร์ และสปริงเกลอร์เล็ก (มินิสปริงเกลอร์) ทีผลิ่ตในประเทศไทยมีราคาพอซื้อหามาใช้ได้  สปริงเกลอร์ที่ผลิตในไทย เช่น เรนดรอป และดําน้ำหยด ให้น้ำได้ชั่วโมงละ 400 – 1,000 ลิตร เป็นพื้นที่วงกลมกว้าง 4 – 6 เมตร เมื่อใช้ความดันของน้ำเหมาะสม คือความดันที่ทําให้น้ำกระจายได้กว้างที่สุด โดยที่น้ำไม่แตกเป็นละออง ความดันน้ำ 8 – 12 เมตร  ปัจจุบันมีหัวสปริงเกลอร์เล็ก และหัวพ่นนํ้า (หัวเจ็ท) ไทยทําที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมอีกหลายยี่ห้อ เช่น อะกรู สามารถจ่ายน้ำอัตราต่างๆ กัน ตั้งแต่ 50 – 200 ลิตร ต่อชั่วโมง ในพื้นที่กว้าง 1 – 3 เมตร เกษตรกรสามารถเลือกซื้อหัวสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์เล็ก และสปริงเกลอร์หัวพ่นน้ำ (หัวเจ็ท, หัวผีเสื้อ) มาใช้หรือให้ผู้ขายออกแบบ และติดตั้งให้เหมาะสมกับสวนได้

เกษตรกรต้องรู้ว่าโดยเฉลี่ยหัวสปริงเกลอร์หรือหัวเจ็ทแต่ละหัวให้น้ำได้นาทีละกี่ลิตร แล้วคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำแต่ละครั้งเพื่อให้ได้น้ำ นอกจากนี้ การเลือกใช้หัวสปริงเกลอร์ยังต้องคํานึงถึงอัตราการซึมน้ำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกหัวสปริงเกลอร์ที่ให้น้ำด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าน้ำซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่มและสูญเสียนํ้า เนื่องจากการให้นํ้าโดยสปริงเกลอร์และหัวพ่นนํ้า สามารถทําได้สะดวก เกษตรกรสามารถให้นํ้า เป็นราย 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน ได้โดยง่าย ดังนั้น แทนที่จะให้นํ้าแต่ละครั้งมากที่สุดที่ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มไว้ได้ โดยให้เป็นระยะ 4 – 10 วัน ต่อครั้ง แล้วแต่ฤดูกาลและชนิดดิน เกษตรกรสามารถเลือกให้นํ้าทุก 3 – 4 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ 3 วันครั้ง ถ้าเป็นดินเหนียวให้ 4 วันครั้ง เป็นต้น และให้แต่ละครั้งมากน้อยตามความต้องการนํ้ารายวันใน ตารางที่ 4 และคูณด้วยจํานวนวัน

การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยด การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดมีเป้าหมายเพื่อให้ดินในทรงพุ่มเปียกชื้นประมาณ 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกับสองวิธีที่กล่าวแล้ว การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดสามารถควบคุมให้นํ้าเปียกเฉพาะที่ที่ต้องการได้ ดีกว่าและมักให้นํ้าหยดตลอดเวลาแต่เกษตรกรก็สามารถดัดแปลงวิธีการให้เป็นการหยดเป็นระยะทุกวัน หรือ 2 วันก็ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราการหยดของนํ้า หัวนํ้าหยดมีหลายแบบ และมีอัตราการหยดตั้งแต่ 4 – 10 ลิตร ต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแรงดันนํ้าในท่อ ชนิดของหัวนํ้าหยด และความต้องการนํ้ารายวันของทรงพุ่มลําไย

การตรวจสอบการให้น้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าการให้น้ำได้ผลดี คือดินเปียกชื้นลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จึงควรมีการตรวจสอบว่าดินเปียกชื้นตามต้องการหรือไม่ โดยการเจาะหลุมดู สําหรับการให้นํ้าแบบผิวดินและสปริงเกลอร์ การเจาะหลุมดูความชื้นดินต้องทําเมื่อหลังจากให้นํ้าแล้ว 24 ชั่วโมง สําหรับดินร่วน และ 48 ชั่วโมง สําหรับดินเหนียว สําหรับการให้นํ้าแบบนํ้าหยดสามารถเจาะดูได้ตลอดเวลาหลังให้นํ้า 24 – 48 ชั่วโมง ถ้าพบว่าดินเปียกไม่ถึง 40 เซนติเมตร ก็ต้องให้นํ้าเพิ่ม แต่ถ้าพบว่ามีนํ้าขังแฉะในดินล่างก็ต้องลดการให้นํ้า

สนใจรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0-5349-9218 ทุกวันเวลาราชการ

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2562