ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวดีเด่นปี 2562 แห่งเมืองนครพนม

ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 สมาชิกแรกตั้ง 35 ราย สมาชิกปัจจุบัน 53 ราย

คณะกรรมการ

ประธานกลุ่ม นายอัคเดช มาลี

ที่ทำการกลุ่ม ตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 2 ตำบลปลาปาก จังหวัดนครพนม เบอร์โทรศัพท์ (087) 939-4115

ความคิดริเริ่ม

1)แนวคิดแก้ไขปัญหา เกษตรกรส่วนใหญ่ในตำบลหนองฮีประกอบอาชีพการทำนา 1,885 ครัวเรือน

พื้นที่ปลูกข้าว 25,485 ไร่ ประสบปัญหาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ คุณภาพไม่ดี ขายไม่ได้ราคา การใช้เทคโนโลยียังไม่ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง มีความเสี่ยงต่อโรค แมลง และศัตรูข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้รวมกลุ่มชาวนาจัดตั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี ในปี 2554 โดยมีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร สำนักงานเกษตรอำเภอปลาปาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่มาให้ความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คำปรึกษาแนะนำ และสนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้ได้มาตรฐานได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติ ดูแลรักษา และปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและได้ข้าวคุณภาพดี มีการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน ศูนย์มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในเรื่องของพันธุ์ปนโดยให้มีข้าวแดงไม่เกิน 3 เมล็ด ใน 500 กรัม และพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 10 เมล็ด ใน 500 กรัม ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่ายของทางราชการ (ข้าวแดงปนไม่เกิน 5 เมล็ด ใน 500 กรัม พันธุ์อื่นปนไม่เกิน 15 เมล็ด ใน 500 กรัม) ทั้งนี้ เพื่อลดเรื่องการปนพันธุ์ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อศูนย์ฯ มีแนวทางการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยหมักใช้เองร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพืชสด ปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ผลิตสารสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง และมีการเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลง โดยสำรวจแปลงนา ไม่เผาตอซังข้าว และไถกลบตอซังข้าว มีการสร้างชาวนารุ่นใหม่มาทดแทนคนรุ่นเก่า มีการปลูกถั่วลิสง พืชผักและผลิตเมล็ดพันธุ์ดอกดาวกระจายส่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการเสริมรายได้ในช่วงฤดูแล้งหลังการทำนา

ดูแลอย่างดี

2) มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าวให้แก่ชุมชนและมีโรงสีชุมชน (งบโครงการ 9101) ในการแปรรูปข้าวสาร เพื่อใช้บริโภคในชุมชนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสด เช่น ข้าวจี่จำหน่ายในตลาดชุมชนและงานเทศกาลต่างๆ

3) มีการสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงการตลาด โดยสร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในชุมชนตำบลหนองฮี ร่วมกับศูนย์ข้าวชุมชนของจังหวัดนครพนม 17 ศูนย์ เชื่อมโยงการตลาดกับผู้ประกอบการร้านค้าเมล็ดพันธุ์ เอกชน และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ มีการประชาสัมพันธ์ช่องทางต่างๆ เช่น ไลน์ สถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน

ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน

ประชุมสมาชิก

1) การเตรียมการ

– ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี มีที่ทำการตั้งอยู่ในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

– ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุนการขับเคลื่อน
และพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์และการเชื่อมโยงตลาด

– มีการคัดเลือกสมาชิกจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์มีจำนวน 12-17 ราย พื้นที่ 100-200 ไร่

– ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮีมีการประชุมกลุ่ม เดือนละ 1-2 ครั้ง

2) แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

– ตั้งคณะกรรมการฝ่ายตรวจสอบแปลงและคุณภาพเมล็ดพันธุ์จำนวน 3 คน ตรวจตัดพันธุ์ปน 3 ระยะ โดยเฉพาะช่วงระยะออกดอกถึงก่อนเก็บเกี่ยว ให้คำแนะนำสมาชิกในการตัดพันธุ์ปนหากไม่ปฏิบัติตาม จะนำเสนอคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาถอดถอนไม่รับรองแปลงพันธุ์

ผลิตปัจจัยการผลิตเองบางอย่าง

– รับซื้อเมล็ดพันธุ์คืนจากสมาชิก โดยสมาชิกเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ทยอยนำมาปรับปรุงสภาพตามปริมาณการสั่งซื้อ และวางขายที่ร้านค้าเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี

– สุ่มตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของผลผลิต โดยตั้งมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ ไว้สูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ชั้นพันธุ์จำหน่ายของทางราชการ ในองค์ประกอบของข้าวแดงปน ไม่เกิน 3 เมล็ด ใน 500 กรัม (มาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่าย 5 เมล็ดใน 500 กรัม) และข้าวพันธุ์อื่นปนไม่เกิน 10 เมล็ด ใน 500 กรัม (มาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่าย 15 เมล็ด ใน 500 กรัม)

– ผลิตเมล็ดพันธุ์ 3 ชนิดพันธุ์ตามที่ตลาดต้องการ แต่มีการควบคุมไม่ให้เกิดการปนพันธุ์ โดยแบ่งพื้นที่การปลูกและควบคุมการทำความสะอาดรถเกี่ยวนวด

– ขุดบ่อขนาดเล็ก (บ่อจิ๋ว) เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในกรณีที่ขาดแคนน้ำหรือปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ

– มีโรงสีข้าวชุมชนและเครื่องคัดปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

3) การกระจายพันธุ์ดี

– การผลิตและการกระจายพันธุ์ดี

ปี ผลผลิต

(ตัน)

พื้นที่กระจายเมล็ดพันธุ์

(ไร่)

2558 51.93 6,868
2559 43.18 6,680
2560 42.00 6,720

– มีการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ตรงตามความต้องการของชุมชนและเครือข่าย (ศูนย์ข้าวชุมชน หน่วยงานราชการ องค์กรท้องถิ่น) และลูกค้าประจำที่มาซื้อที่ร้านค้าของศูนย์ข้าวชุมชน
ตำบลหนองฮี

– มีการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ตามคำสั่งซื้อ และวางจำหน่ายหน้าร้านค้าของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี โดยบรรจุใส่กระสอบพลาสติกสานที่มีตราเครื่องหมายการค้า “นฮ” เป็นตัวอักษรสีแดง ป้ายระบุชนิดพันธุ์และรหัสสมาชิกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้

4) การถ่ายทอดเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร สำนักงานเกษตรอำเภอปลาปาก เรื่องกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ กระบวนการตัดพันธุ์ปน วิธีการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นต้น มีการจัดการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบโรงเรียนชาวนาโดยเฉพาะสมาชิกใหม่ร่วมกับสมาชิกเก่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และนำสมาชิกไปศึกษาดูงานศูนย์ข้าวชุมชนที่ประสบความสำเร็จบริษัทเอกชน
ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น เฮียใช้ จังหวัดสุพรรณบุรี

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

1) มีคณะกรรมการบริหารและกำหนดบทบาทภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ กรรมการฝ่ายส่งเสริม กรรมการฝ่ายตรวจสอบแปลงและคุณภาพเมล็ดพันธุ์  กรรมการฝ่ายส่งเสริมการตลาด คณะกรรมการฝ่ายการเงิน และที่ปรึกษาศูนย์ข้าวชุมชน

2) มีระเบียบกฎเกณฑ์การบริหารศูนย์ มีข้อบังคับกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี พ.ศ. 2560

3) มีการประชุมเดือนละ 1-2 ครั้ง มีการจดบันทึกรายงานการประชุม

4) สมาชิกมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ และวางแผนในการผลิต มีการรวมกลุ่มสมาชิกเข้มแข็ง
และให้ความร่วมมือกับกลุ่มเป็นอย่างดีในทุกกิจกรรม

5) มีการบูรณาการระหว่างเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งหมด 17 ศูนย์ของจังหวัดนครพนม

6) การรวมกลุ่มสมาชิกเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือกับกลุ่มเป็นอย่างดีในทุกกิจกรรม

7) องค์กรและสถาบันของรัฐต่างๆ ในชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนา
ในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี เช่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร และสำนักงานเกษตรอำเภอปลาปาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

1) มีกองทุนหมุนเวียน มีคณะกรรมการบริหารกองทุน และข้อบังคับกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี พ.ศ. 2560 หมวดที่ 3 เรื่องทุนที่ชัดเจน

2) มีเงินกองทุนรวม 452,750 บาท ดังนี้

– เงินฝาก จำนวน 40,000 บาท

– เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 255,460 บาท

– เงินสด จำนวน 15,940 บาท

– เงินกู้ จำนวน 77,150  บาท

– เงินหุ้น จำนวน 64,200 บาท

แหล่งที่มาของกองทุน

– รับจากเงินสัจจะสะสมทรัพย์ของสมาชิก โดยสัจจะสะสมไม่ต่ำกว่า 50 บาท และไม่เกิน 500 บาท

– รับฝากเงินของสมาชิกและบุคคลทั่วไป รวมถึงการกู้ยืมเงิน

– เงินสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

– รับจากเงินบริจาค

– เงินรายได้ต่างๆ

3) การใช้ประโยชน์จากกองทุน

– เพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองให้แก่สมาชิกศูนย์

– เพื่อซื้อวัสดุจัดวางเมล็ดพันธุ์ (แคร่)

4) มีการจัดทำบัญชี มีระบบบริหารโปร่งใส มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย  มีฝ่ายตรวจสอบบัญชี

5) การมีทรัพย์สินอื่นๆ นอกเหนือจากกองทุนหมุนเวียน รวมมูลค่า 119,520 บาท ประกอบด้วย ตาชั่ง เครื่องเย็บกระสอบ เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ เครื่องวัดความชื้น 1 เครื่อง โรงเรือน เครื่องพิมพ์เอกสาร 1 เครื่อง   กระสอบบรรจุเมล็ดพันธุ์ ตู้เก็บเอกสาร 1 หลัง และเครื่องปั๊มลม 1 เครื่อง

– การทำกิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1) บทบาทการมีส่วนร่วมพัฒนาหมู่บ้านหรืองานสาธารณประโยชน์ต่างๆ
– เป็นแหล่งศึกษาดูงาน แหล่งเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่ายทอดความรู้ การผลิตปุ๋ยหมัก การผลิตข้าว การทำการเกษตรอินทรีย์ การเลี้ยงปลานิลบ่อดิน กิจกรรมสำรวจตรวจนับแมลง
– ดำเนินการจัดอบรม หลักสูตรการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 30 ชั่วโมง ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
– ดำเนินการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการคนในชุมชน เช่น อบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กิจกรรมบริการตรวจกรด-ด่าง ของดิน
– มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยการถางป่า ตัดหญ้าข้างทาง ทำความสะอาดในวัด ขุดลอกคลองในชุมชน

2) ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี

– มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตน้ำหมักชีวภาพ และการผลิตสารชีวภัณฑ์
– มีการปลูกดอกดาวกระจาย หลังการเก็บเกี่ยว

– มีการไถกลบตอซังและรณรงค์ไม่เผาฟาง

3) การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน

– มีการเฝ้าระวังการระบาดของโรคแมลง
– มีการผลิตสมุนไพรไล่แมลง

4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการป้องกันและรักษาดิน

– รณรงค์ไม่เผาตอซังในนา

– ดำเนินการจัดกิจกรรมการปลูกป่าในชุมชน

ด้วยผลงานยอดเยี่ยม ศูนย์แห่งนี้ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็น

ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวดีเด่นปี 2562

ขอบคุณข้อมูล กรมการข้าว