ผู้เขียน | มติชนออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า รู้สึกกังวลสถานการณ์ภัยแล้งปี 2560 ว่าจะมีความรุนแรง ซึ่งล่าสุด 3 อำเภอ คือ อ.วัฒนานคร อ.อรัญประเทศ อ.โคกสูง ในจ.สระแก้วกำลังเผชิญภัยแล้ง โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวเสียหายสิ้นเชิง 100,476.50 ไร่ ครอบคลุมเกษตรกร 6,106 ราย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงมหาดไทย จึงเตรียมหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อย่างไม่เป็นทางการ ก่อนเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อของบประมาณ 13,000 ล้านบาท จากงบกลุ่มจังหวัดเพื่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้งของประเทศ ที่คาดว่าจะรุนแรงหากไม่เตรียมรับมืออาจสร้างความเสียหายให้ภาคเกษตรได้
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า สำหรับมาตรการภายใต้แผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง ด้านการเกษตร มีทั้งหมด 6 มาตรการ 29 โครงการ และเพิ่มเติม 1 โครงการ วงเงิน 17,324.82 ล้านบาท จำแนกเป็น 1.มาตรการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง อาทิ โครงการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำช่วงฤดูแล้ง 2. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร อาทิ โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง 3. มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำแก้มลิง อาทิ โครงการก่อสร้างขุดลอก/ปรับปรุงแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน 4. มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย อาทิ การช่วยเหลือตามระเบียบ กระทรวงการคลังก การจ้างแรงงานเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน 5. มาตรการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ อาทิ การประชาสัมพันธ์ป้องกันภัยแล้ง ด้านการเกษตร โครงการสร้างการรับรู้เพื่อลดความเสี่ยง 6. มาตรการจัดทำแผนความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้งโครงการเพิ่มเติม คือ โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาฯ
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่จะประสบภัยแล้งปีนี้ คือ จังหวัดพะเยา กว๊านพะเยา ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 47.44 ล้าน (ลบ.ม.) ส่งน้ำเฉพาะเพื่อการอุปโภค-บริโภค ใช้น้ำวันละ 17,400 ลบ.ม. สิ้นสุดถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม จะใช้น้ำทั้งสิ้น 3.20 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำมีเพียงพอ กรณีปริมาณน้ำไม่เพียงพอสามารถผันน้ำจากอ่างฯ แม่ต๋ำ ซึ่งปัจจุบันมีน้ำใช้การได้ 36.74 ล้าน ลบ.ม. มาเสริมที่กว๊านพะเยา ได้ จ.สุโขทัย มีน้ำใช้การ 11.66 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่เพาะปลูกข้าว 105,286 ไร่ เก็บเกี่ยวเสร็จเดือนมีนาคม2560 มีน้ำเพียงพอ ถึงสิ้นเมษายน 2560 อ่างฯ ขนาดกลาง 6 แห่ง มีน้ำใช้การ 109.33 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และปลูกพืชฤดูแล้ง วันละ 0.75 ล้าน ลบ.ม. ใช้ถึง 30 เม.ย. 2560 รวม 67.5 ล้านลบ.ม. คาดการณ์ 1 พฤษภาคม 2560จะมีน้ำ 54.13 ล้าน ลบ.ม. โครงการทุ่งทะเลหลวง เป็นน้ำใช้การ 13.23 ล้าน ลบ.ม. ปลูกข้าวรวม 7,086 ไร่ คาดว่า 1 พฤษภาคม 2560 คงเหลือน้ำใช้การ 5 ล้าน ลบ.ม. สามารถสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคได้ถึงฤดูฝน
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า อ.อู่ทอง คลองมะขามเฒ่าจัดทำแผนการจัดรอบเวรการใช้น้ำ.ในอัตรา 10 – 15 ลบ.ม./วินาที และประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ จ.นครปฐม คลองจินดาซึ่งเป็นแหล่งปลูกกล้วยไม้รับน้ำจากแม่กลอง ให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ปตร. คลองท่านา 2 เครื่อง ประตูระบายน้ำคลองบางช้าง 2 เครื่อง และ ประตูระบายน้ำบางกระสัน 1 เครื่อง เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำท่าจีน เมื่อความเค็มมีค่าที่กำหนด และใช้เครื่องมือวัดความเค็มแบบเรียวไทม์ 8 แห่ง ในแม่น้ำท่าจีน พร้อมกับเตรียมรถบรรทุกน้ำไปช่วยเหลือสวนกล้วยไม้ที่ขาดแคลนน้ำจืด ตั้งแต่ต้นฤดูแล้ง จ.นครราชสีมา เนื่องจากได้มีการ เพิ่มความจุเก็บกักจาก 2 ล้าน ลบ.ม. เป็น 4 ล้าน ลบ.ม. อัตราการใช้น้ำ 25,000 ลบ.ม. /วัน สามารถใช้น้ำได้อีกอย่างน้อยประมาณ 5 เดือนหรือถึงเดือนมิถุนายน 2560 จ.จันทบุรี สนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือ ช่วยเหลือสวนผลไม้ ตั้งแต่ 6 มกราคม 2560 รถยนต์บรรทุกน้ำ อ.ขลุง 2 คัน อ.แก่งหางแมว 1 คัน เครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว อ.มะขาม 1 เครื่อง สำรองเครื่องจักร ช่วยเหลือสวนผลไม้ รถยนต์บรรทุกน้ำ 14 คัน เครื่องสูบน้ำ 17 เครื่อง
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า จ. พิษณุโลก ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 15.95 ล้าน ลบ.ม.รวม 3 บึง (ตะเคร็ง ระมาณ ขี้แร้ง) พื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 3,700 ไร่ ปริมาณน้ำเพียงพอสนับสนุนการเพาะปลูก จ.พิจิตร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่เก็บกักหน้าฝายทั้งหมด รวม 8.42 ล้าน ลบ.ม.เพาะปลูกข้าวจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 33 สถานี รวม 45,000 ไร่ ใช้น้ำวันละประมาณ 0.28 ล้าน ลบ.ม จะใช้น้ำจากแม่น้ำยมได้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จากนั้นเกษตรกรจะใช้น้ำจากบ่อตอก บ่อน้ำตื้น และแหล่งน้ำใกล้เคียง จนกระทั่งเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จโดยไม่เกิดความเสียหาย บึงสีไฟ ต้องการเติมน้ำ 2 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำไปแล้ว 2 รอบ รวม 1.3 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลือจะดำเนินการในรอบเวรการส่งน้ำระยะต่อไป