ทำไม กัญชา กัญชง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

รศ. ดร. เภสัชกรหญิง กรกนก อิงคนันท์ ผู้อำนวยการสถานีจิวัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านกัญชาและกัญชง จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวบรรยายในหัวข้อ การเตรียมสารสกัดและการควบคุมคุณภาพ “กัญชา-กัญชง” ที่งานมหกรรมกัญชา กัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน เล่าเรื่องการเตรียมสารสกัดและก็การควบคุมคุณภาพของสารสกัดจากกัญชงและกัญชา เราจะเห็นว่าทุกท่านที่มารวมตัวกันอยู่ที่นี้มุ่งหวังจะสร้างนวัตกรรมเพื่อสุขภาพจากกัญชาและกัญชง และสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อสุขภาพคือ

1.ถูกกฎหมาย

2. มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

3. ปลอดภัย

ความแตกต่างระหว่าง กัญชา กับกัญชง

กัญชา และกัญชง อยู่พืชชนิดเดียว ซึ่งลักษณะที่แตกต่างกันเราทราบกันอยู่แล้ว ในทางกฎหมายถ้าเป็นกัญชง มีฤทธิ์ทางเภสัชด้วยแต่ก็ทำให้เมาได้ ทำให้สาร THC เป็นจุดออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำช่อดอกกัญชาและกัญชงเป็นยาเสพติด ประเภท 5 ถ้าเป็น กัญชง ทุกส่วนรวมกัน THC จะต้องไม่เกิน 1% ถ้า THC เกิน 1% จะเรียกว่า กัญชา ถ้าเป็นทางกฎหมายบางทีจะพูดถึงเรื่องศัพท์สปีชีส์ไว้ว่าชื่อกัญชง คือ Cannabis sativa ศัพท์สปีชีส์ sativa และ กัญชา Cannabis sativa ศัพท์สปีชีส์ Indica กัญชาจะต้นเล็กกว่า ใบกว้างกว่ากัญชง แต่นักพัฒนาสายพันธุ์บอก จริงๆ แล้วตรงนี้ไม่สำคัญ เพราะกัญชาและกัญชงสามารถพัฒนาสายพันธุ์ให้มีต้นเล็ก ต้นใหญ่ ใบเล็ก ใบใหญ่ ถ้าจะมองตามกฎหมายจริงๆ ให้มองที่ตัวสาร THC จะดีกว่า

ส่วนที่ใช้จากกัญชงจะเน้นเรื่องของเมล็ด เส้นใย ตอนนี้เริ่มที่จะเอาช่อดอกมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพบ้างแล้ว ในขณะที่ กัญชาใช้ในส่วนของช่อดอกตัวเมีย

ในหลายประเทศอนุญาตให้ปลูกกัญชง เพื่ออุตสาหกรรมแล้ว เช่น จีน อเมริกา แคนาดา แต่กัญชามีบางประเทศเท่านั้นที่ปลูก เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสันทนาการ

ทำไม กัญชา กัญชง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

เมื่อการกินกัญชาหรือกัญชงถูกบอกว่า แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กินแล้วอยากอาหาร นอนหลับง่าย แก้ปวดด้วย เพราะว่าในร่างกายของคนเรามันมีตัวรับที่สามารถรับสารจากกัญชา ที่เรียกว่า Cannabinoid receptor (แคนนาบินอยด์ รีเซ็ปเตอร์) อยู่ในหลายๆ ส่วน ถ้าในส่วนสมองของเราจะเป็นตัวรับที่ 1 ส่วนที่ 2 จะอยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน

อย่างที่บอกว่า THC ในต้นกัญชงต้องไม่เกิน 1% เมื่อสารตัวนี้เป็นเจอกับตัวรับที่ 1 จะเกิดฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หากถามว่ากลัวไหม เพราะกัญชงจะออกฤทธิ์ได้ดีมาก แต่ต้องมีการควบคุมการใช้ในขนาดที่เหมาะสม

ในส่วนของสารอีกตัวคือ CBD มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้ดี แม้จะจับกับตัวรับก็ไม่ออกฤทธิ์ เพราะฉะนั้น CBD ไม่ใช่สารเสพติด ซึ่งใน CBD สามารถนำมาพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้ โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด การปกป้องเซลล์ประสาท ถ้าเป็นยาก็คือ ยาต้านชักในเด็ก (เด็กที่มีอาการดื้อยา) ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท ฤทธิ์ต้านเนื้องอก แก้ปวด และก็ต้านอักเสบ  เป็นต้น

 การจำแนกประเภทวัตถุดิบที่ได้จากพืช กัญชา-กัญชง

ในประเทศเรา จัด industrial cannabis (Fiber-type) ก็คือ กัญชา กัญชง แบ่งเป็น ยา (drug type) จะถูกนับเป็นพวกกัญชา เพราะว่าจะมีปริมาณสาร THC มากกว่า 1-20% แต่ถ้าเป็นกึ่งกลางระหว่างยากับเส้นใย (intermediate type) คือ กัญชง จะมีสาร THC 0.1- 1% และเส้นใยจะต้องมีสารน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.3% โดยในต่างประเทศจะเข้มงวดกันมาก อย่างเช่น ในยุโรป จะมีค่า THC ไม่เกิน ร้อยละ 0.2%

ประเทศแคนาดา ไม่เกิน ร้อยละ 0.3% แต่ประเทศไทยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นเมืองร้อน เพราะจากการทดลองที่ได้มีการควบคุมแล้วก็ยังเกิน ทำให้ประเทศไทยจึงกำหนดไว้ว่า สาร THC ห้ามเกินที่ 1%

โอกาสทางด้านธุรกิจ

การที่กฎหมายจะให้กัญชาและกัญชงหลุดออกยาเสพติดนั้น สาร CBD ต้องมีสาร THC ไม่เกิน 0.2 เมล็ดและน้ำมันจากเมล็ดก็ไม่เป็นยาเสพติด

โดยรายการเกี่ยวกับ hemp ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด

  1. 1. เปลือกแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากส่วนดังกล่าวไม่เป็นยาเสพติด
  2. 2. สารสกัด CBD ที่ได้จากการสกัดมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 99 โดยที่มี THCไม่เกิน ร้อยละ 0.01 โดยน้ำหนักและสารสกัด หรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลัก และมี THC ไม่เกิน ร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
  3. 3. เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ด ซึ่งเป็นอาหารตามกฎหมายว่าอาหารและเครื่องสำอาง และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางอาหารและเครื่องสำอางเท่านั้น

*ในระยะ 5 ปีแรก กำหนดให้ยกเว้นเฉพาะผู้ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ผู้ประกอบการจากที่อื่นไม่สามารถเข้ามาผลิตและค้าขายได้*

 เมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีราชกิจจานุเบกษาออกมา เปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถขออนุญาตปลูกและสกัดกัญชงได้ โดยปกติแล้วกัญชงต้องร่วมกับภาครัฐเท่านั้น แต่กัญชายังต้องร่วมกับภาครัฐอยู่ แล้ว 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้ระบุเรื่องของใบกัญชาไม่เป็นยาเสพติดแล้ว แต่ในส่วนเมล็ดกัญชา ช่อดอกกัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติด และผู้ผลิตกับผู้ปลูกยังคงต้องขออนุญาตอยู่

เนื่องจาก ใบกัญชาไม่เป็นสิ่งเสพติดแล้ว แต่จากตัวอย่างกัญชาจากโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น เราก็เลยรู้ว่าเปอร์เซ็นต์ในผงกัญชามีเท่าไร แล้วเราก็ชั่งน้ำหนักและกะน้ำหนักว่า 1 ใบ ควรจะมี THC เท่าไร่ ซึ่งสามารถสูงไปได้ถึง 4 มิลลิกรัม ในใบใหญ่ ในใบเล็กจะมีแค่ 1 มิลลิกรัม หากกินเข้าไปในร่างกาย ขนาดของ THC ที่ร่างกายปกติรับประทานแล้วออกฤทธิ์ มันจะอยู่ประมาณ 2 มิลลิกรัมขึ้นไป ดังนั้น ถ้าเรากินใบกัญชาเข้าไป สามารถออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้ภายใน 1 ใบ แต่ถ้าไปประกอบในอาหาร เช่น ชงน้ำร้อนแล้วเอาไปดื่ม ซึ่งผลจากการตรวจไม่พบ THC เนื่องจากว่าชงแป๊บเดียว ทำให้ THC ละลายในน้ำมันได้ดีมาก ละลายน้ำได้น้อย จึงทำให้สารออกมาน้อยมา แต่ถ้าเกิดแช่ไว้ในหม้อตุ๋นนานๆ สารก็อาจจะออกมาได้ หรือว่าทอดในน้ำมันก็จะออกมาเช่นกัน ทำให้เราต้องระมัดระวังในการใช้ใบกัญชาประกอบอาหารอีกด้วย

กัญชง มีความน่าสนใจในการพัฒนา เพรา ช่อดอกตัวเมีย มี CBD สูง น้ำมันจากเมล็ดมีกรดโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 สูง เส้นใยมีคุณสมบัติที่ดี

องค์ประกอบทางเคมีใน กัญชง-กัญชา

ในกัญชงและกัญชานั้น จะมีสารออกฤทธิ์ 3 จำพวกใหญ่ๆ เช่น

1.ตัวรับสารต่างๆ จะเกี่ยวข้อง Cannabinoids

2. พวกน้ำมันหอมระเหย เรียกว่า Terpenoids

3. Flavonoids เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นเยอะ ซึ่งมีอยู่ในพวกทั่วไป ในส่วน Cannabinoids จะอยู่ในพวกกรดต้องละลายน้ำได้ดี แต่ในธรรมชาติ จริงๆ แล้ว THC ไม่มี เพราะมันอยู่รูปแบบ THCA (9-Tetrahydrocannabinolic) และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ก็จะเปลี่ยนรูปแบบเป็น THC

เมื่อการทางสารออกฤทธิ์ทั้ง 3 ตัว มารวมกันจะเรียกว่า Entourage effect ทำให้เวลาทำสารสกัดจึงมีหลายแบบ เช่น full spectrum ก็การสกัดเอาสารสกัดแถบทุกอย่างของ กัญชา-กัญชง และ broad spectrum เป็นการสกัดเอาสารทั้ง 3 อย่าง แต่จะเอา THC ไม่เกิน 2% แต่สารเดี่ยวๆ จะเรียกว่า isolate

แล้วสารต่างๆ มาจากไหน?

ช่อดอกตัวเมีย จะมีตุ่มขาวๆ เรียกว่า Phytocannabinoids จะมีอยู่ในทั้งช่อดอกและอยู่ในใบ แต่ช่อดอกจะมีมากกว่าประมาณ 10 เท่า ตัวสารที่เรียกว่า cannabinoids ทั้ง THC หรือ CBD จะอยู่ในขนพวกนี้ รวมทั้งน้ำมันหอมระเหย Terpenoids ทำให้มีกลิ่น

ถึงเรื่องที่เล่าจะมีสารเคมีเยอะไปหน่อย แต่จะบอกว่าต้นกำเนิดพืชจะสังเคราะห์แสงสาร จะมีเอนไซม์ในพืชมาสังเคราะห์สาร ถ้านักพัฒนาสายพันธุ์มาปรับแต่งให้ THC หรือ CBD เยอะ จะทำให้การสร้างสารเปลี่ยนไป ซึ่งจริงๆ แล้วตรงนี้มีความสำคัญมาก

 สารต่างๆ ที่ถูกนำใส่ในผลิตภัณฑ์

ถ้า Cannabinoids จะถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นสาร Cannabinoids ที่ละลายไขมันได้ดีมาก ถ้าผ่านเข้าไปในร่างกายก็จะสามารถไหลผ่านเข้าสู่สมองได้ แต่ว่าการเข้าไปในร่างกายต่ำ ถ้าให้ทางการกิน แต่การสูดดมหรือเข้าใต้ลิ้นจะทำได้ดีกว่า โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จะใช้สาร THC ใน cannabinoids ที่ต่างกันออกไป

ต่อมาเป็นเรื่องของกลิ่น หากเป็นนักพัฒนาใต้ดินจะพัฒนาให้กัญชามีกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นมะนาว กลิ่นสน และอื่นๆ เพราะว่า สารในน้ำมันหอมระเหย เช่น monoterpens beta-myrcene limonenec และอื่นๆ ซึ่งจะเจอในพืชต่างๆ เช่นกัน แต่ว่าพวกนี้จะไปเสริมฤทธิ์ให้กับ cannabinoids ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นอยู่ในต่อมขน (glandular trichome) เหมือนๆ กันกับ cannabinoids ซึ่งในเครื่องสำอางอาจจะใช้พวกน้ำมันหอมระเหยนำพาสาร cannabinoids เข้าสู่เซลล์ได้ นอกจากนั้น พวกน้ำมันหอมระเหยจะมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น beta-myrcene มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ limonene มีฤทธิ์ทำให้ต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ aphle-pinece มีฤทธิ์ต้านอักเสบ ขยายหลอดลมและต้านเชื้อ เป็นต้น

สารสกัดกัญชา (Cannabis extract)

จากสารสกัดที่กล่าวมาข้างต้น เช่น

  1.  Full spectrum คือสารสกัดกัญชา-กัญชง ที่เก็บสารตามธรรมชาติไว้ทั้งหมด หากจะนำไปรักษาต้องมั่นใจว่าคุณภาพของต้นกัญชาจะไม่เปลี่ยน เพราะสาร THC แม้จะแค่ 1% ก็ออกฤทธิ์แรง หากผู้ใช้ได้รับ THC เกิน จะส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับยาเกินขนาด
  2.  Broad spectrum CBD ต้องมี THC น้อย ไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด
  3. Cannabinoid enriched extract คือ สารสกัด cannabinoids ที่ผ่านกระบวนการแยกเอาสารตัวอื่นออกแล้ว เช่น terpenes flavonoids phenols กรดไขมันอิ่มตัว รวมทั้งแร่ธาตุ และวิตามินต่างๆ
  4.  CBD isolate คือ การเอาสารตัวอื่นแยกออก แล้วเหลือแค่สาร CBD บริสุทธิ์เท่านั้น

กระบวนการเตรียม

กระบวนการเตรียมอย่างแรกที่เน้นก็คือ พืชวัตถุดิบ จะปลูกแบบ GAP ต้องมีวิธีการที่ดีในการปลูก และผลผลิตทีได้จากทุกรุ่นต้องเท่ากัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

  1.  การเตรียมพืชกัญชาในการสกัด เริ่มตั้งแต่การหาวัตถุดิบแล้วนำไปอบ (ถ้าหากต้อง decarboxylate จะต้องที่อุณหภูมิสูง หรือจะต้องไป decarboxylate ตอนนำไปสกัดมาแล้ว) จากการทดลองครั้งแรกของทางมหาวิทยาลัยนเรศวรได้นำใบกัญชงมาอบ 115 องศา เป็นเวลา 60 นาที โดยช่วงแรกในการอบ CBDA จะสูงเป็น Acids form และเมื่อโดนความร้อนจะถูกแทนที่เป็น CBD ฉะนั้นการอบจะช่วยการเพิ่ม CBD ในช่อดอกได้
  2.  เครื่องมือที่ใช้ในการสกัด จะมีทั้ง 3 เครื่องด้วยกัน คือ
  3.  เครื่องเขย่าสารละลายแนวราบ คือเครื่องที่ช่วยเวลาที่สกัดด้วยการทำละลาย การเขย่าจะทำให้ได้สารเร็วขึ้น
  4.  อ่างส่งคลื่นความถี่สูง คืออุปกรณ์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ในช่วง 20-100 กิโลเฮิร์ท
  5.  เครื่องระเหยด้วยความดันต่ำ คือเครื่องที่ใช้ระเหยสารตัวทำลายออกจากสารละลายตัวอย่างเพื่อให้ปริมาณสารละลายตัวอย่างนั่นมีสารที่เข้มขึ้น
  6.  เทคนิคการสกัดสารสำคัญแคนนาบินอยด์ใยพืชกัญชาสามารถทำได้ด้วยเทคนิคการหมัก (หมักได้ด้วยเอทานอล หมักด้วยเฮกเซน หมักด้วยตัวทำลายอื่นๆ) ข้อดีคือ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน ได้ปริมาณร้อยละของสารสกัดมาก ข้อเสียคือ ใช้เวลานานและมักจะสกัดเอาคลอโรฟิลล์ออกมาด้วย หรือจะเพิ่มความสามารถในการทำลายด้วยเทคนิคการสกัดคลื่นอัลตราโซนิค (แล้วแต่ความจำเป็นของเรา หากสกัดในปริมาณน้อยจะใช้ได้ดี) ข้อดีคือ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน ใช้เวลาไม่นาน ข้อเสียคือ มักจะสกัดเอาคลอโรฟิลล์ออกมาด้วย ไม่เหมาะกับการสกัดนานๆ เพราะอุณหภูมิจะสูงขึ้น ทำให้สารที่ได้ไม่ทนความร้อนสลายตัวได้

และก็เทคนิค Supercritical CO2 Extraction คือการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของไหล (ทำโดยการเพิ่มอุณภูมิและความดันอัดให้คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเปลี่ยนสภาพจากแก๊สเป็นของไหลและทำในห้องปิด เพราะการสกัดจะแยกตัวสาร THC และ CBD ในกัญชาออกมาในรูปแบบน้ำมันกับแก๊สออกจากกัน เมื่อน้ำสารสกัดออกมาจากห้อง คาร์บอนไดออกไซด์จะระเหยออกไป ทำให้เหลือแต่สารสกัดจากกัญชา)

เมื่อได้สารสกัดออกแล้วด้วยเทคนิคต่างๆ แล้ว แต่ต้องการทำให้บริสุทธิ์ขึ้น ก็จะใช้วิธีการแยก ที่เรียกว่า Medium Pressure Liquid Chromatography (MPLC) ,Centrifugal Partition Chromatography (CPC), Molecular distillation ก็จะได้สาร THC CBD CBN

การควบคุมมาตรฐานวัตถุดิบ

การควบคุมวัตถุดิบนั้น เราต้องควบคุมตั้งแต่สายพันธุ์ วัตถุที่อยู่ใต้กล้อง (มีขน ใบ หรือองค์ประกอบทางเคมีต่างๆ) ดังนั้น ทำให้วัตถุดิบที่เข้ามาให้ทดลองจะต้องตรงกัน แล้วก็นำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC ว่าในนั้นมีองค์ประกอบทางเคมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างสารสกัดกัญชา/กัญชง

เมื่อเราจะสกัดกัญชาเพื่อจำหน่ายแล้ว เราต้องบอกค่าสารต่างๆ ให้ทุกคนทราบ เพราะผู้ใช้โดยจะยกตัวอย่างจากผลทดลองของทางมหาวิทยาลัยนเรศวร เช่น Full spectrum cannabis extract จะมี CBD 3.15% CBN 2.84% THC 26.56%,Full spcetrum CBD extract จะมี CBDA  24.42% CBD32.71% THCA 0.21% THC 1.89% แม้จะถูกทำให้เป็น CBD สูง แต่ค่าของ THC ก็ยังคงสูงอยู่เช่นกัน แต่ถ้าเป็น Full spectrum ของกัญชง ก็จะมี CBD 8.77% CBDA 10.53% และ THC 1.09

ถ้าเราทำให้เจือจางลงหลายๆ เท่า ก็สามารถทำให้ถูกกฎหมายได้ ก็คือ จะนำไปละลายในตัวทำละลาย เช่น Full spectrum hemp extract in PG คือ Full spectrum ของกัญชงที่ผ่านการทำให้เจือจางแล้วจะมีสาร CBD 0.26% CBDA 0.36% THC 0.06% ซึ่งปลอดภัยและสามารถนำไปใช้ได้เลย

และก็มีเรื่องของการทำ Isolate คือการแยกเฉพาะส่วน ผลที่ได้คือ CBD isolate 95%, CBN isolate 95% และTHC isolate ได้ 95% เช่นกัน แล้วหากถามว่าจะแยกออกมาแล้ว จะเราจะมีอะไรยืนยัน คำตอบคือ ต้องมีใบ Certificate of Analysis (สารที่นำมาใช้ ควรมีใบวิเคราะห์ออกมาด้วย) โดยสารที่นำมาวิเคราะห์ควรบอกความบริสุทธิ์ ชื่อวิธีวิเคราะห์ ปริมาณน้ำเท่าไร สิ่งเจือปนเท่าไร และการพิสูจน์เอกลักษณ์จะต้องใช้อะไร

ใบ Certificate นี้ หากเราผลิตสารสกัดเราต้องทำออกมา แต่ถ้าเราซื้อวัตถุดิบจากคนอื่นมา เขาต้องมีใบ Certificate ให้เราเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ว่าในนั้นมีอะไรบ้าง

สรุป

  • สารสกัดกัญชงและกัญชา มีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย ซึ่งอาจจะเสริมฤทธิ์กัน (entourage effect)
  • กระบวนการสกัดต้องคำนึงถึงความคงตัวของสาร การกำจัดสารที่ไม่ต้องการออก
  • เทคนิคทางการแยก ทำให้ได้สาร isolate ถ้าต้องทำผลิตภัณฑ์ ต้องทำให้ THC ไม่เกินกำหนดของกฎหมาย
  • วัตถุดิบต้องมีคุณภาพ และต้องควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐานเสมอ โดยจะให้ห้องแล็บ (lab) ที่มีใบรับรอง ISO/IEC 17025 เพื่อวิเคราะห์สารสกัดกัญชงและกัญชา