คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ลงพื้นที่ อุดรธานี-สกลนคร ติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมลุยขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ อย่างเข้มข้น

คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ  ลงพื้นที่ตรวจเข้ม ผลการดำเนินงาน จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนครเดินหน้าขับเคลื่อนทุกภาคส่วนตามนโยบาย “สานพลังประชารัฐ” มุ่งผลักดันเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็ง อย่างยั่งยืน นำโดย คุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ และคณะกรรมการเศรษฐกิจ นำโดย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน พร้อมด้วย คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด คุณประวิช สุขุม  เลขานุการร่วมภาคเอกชน และคณะทำงาน ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.อุดรธานี เพื่อประชุมหารือและรับฟังการนำเสนอแผนการดำเนินงานจากตัวแทน บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ในพื้นที่ 12 จังหวัดโดยมี คุณสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้การต้อนรับ และร่วมรับฟังข้อเสนอ ณ ห้องประชุม โรมแรมเซ็นทารา          โดยได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ก้าวหน้าและสำเร็จเพื่อให้เห็นผลที่เกิดในชุมชนต่างๆ ได้แก่  เกษตร แปรรูปและท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 12 จังหวัดของภาคอีสานตอนบน  พร้อมทั้งประชุมร่วมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ จ.อุดรธานี โดยได้ดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี สิ่งที่ต้องการให้เกิดมากที่สุด คือ การดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง โดยบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นรูปแบบการทำงานที่ถูกออกแบบมาให้ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม  ภาควิชาการ และประชาชน ทำงานร่วมกัน จึงไม่มีสูตรสำเร็จในการทำงาน แต่มีเป้าหมายหลัก คือ การสร้างรายได้ให้ชุมชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย

การทำงานให้สำเร็จนั้นจะประกอบด้วยคีย์เวิร์ด 3 คำสำคัญ คือ 1. ชุมชนเป็นตัวตั้ง คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อมก่อน 2. เอกชนร่วมขับเคลื่อน คือบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ฯ เป็นรูปแบบบริษัทจำกัด ที่เข้ามาขับเคลื่อน โดยบริษัทฯ ต้องทำกำไร เพียงแต่กำไรจะไม่ปันผล เพราะต้องนำกำไรนี้ไปช่วยเหลือชุมชน และ 3.รัฐบาลสนับสนุน มีคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบาย สานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) จะคอยเป็นแบ็คอัพช่วยเหลือ ในการขับเคลื่อน

คุณธนัชชัย สามเสน ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า “3 กลุ่มงานของ จ.อุดรธานีเริ่มจากส่วนของ

การเกษตร  ศักยภาพอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์  มีกลุ่มที่ทำข้าวอินทรีย์อยู่ประมาณ 300 กลุ่ม  มีประมาณ 25 กลุ่มที่จะได้รับการรับรองจากวิชาการเกษตรที่เหลือก็เป็น GPS ยังติดอยู่ในเรื่องเอกสารสิทธ์ไม่มีโฉนดที่ดินทางจังหวัดก็ไปทำตามแผนของทางจังหวัดเองการเกษตรยังมีเรื่องของมะม่วงน้ำดอกไม้ของหนองบัวซอทางเรามีการนำส่งออก เพราะมะม่วงมีคุณภาพที่ได้รับมาตรฐานขอเสียของทางเกษตรเองคือผู้ที่มารับชื้อคัดเลือกขนาดมะม่วงเองซึ้งทางเกษตรเห็นว่ายังเป็นเรื่องการเสียเปรียบต่อผู้ชื้อเองทางบริษัทเลยไปช่วยของเรื่องตลาดโดยตรงและช่วยในเรื่องมะม่วงแปรรูปสำหรับมะม่วงที่ตกเกรด ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน จุดเด่นก็ยังคงอยู่ที่บ้านชียงซึ้งส่วนหนึ่งก็ช่วยตัวเองได้ดีทางเราก็เข้าไปมีส่วนช่วยโดยบ.ไทยเบฟ และทศภาคมีส่วนเข้ามาจัดอีเว้นเผื่อให้บ้านเชียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นและมีแหล่งท่องเที่ยวที่ใหม่คือสะพานหินท่าลี่กุมพวาปีซึ้งเป็นทางพื้นที่ทางทรนีวิทยาที่มีอายุเป็นร้อยล้านปีมีจุดท่องเที่ยวหลายจุดอยู่บนนั้นชุมชนเองมีเอกลักษณ์ในเรื่องอาหารการกิน และที่ผ่านมาอุดรธานี มีการจดทะเบียนตั้งแต่ 29 เมษายนที่ธรรมเนียมรัฐบาลเป็น 5 บริษัทนำร่องที่เริ่มต้นในความเข้าใจของส่วนอาจจะยังมีไม่มากเราใช้เวลาเรียนรู้มาสักระยะหนึ่งและมีการลงพื้นที่มาตลอดเพื่อรู้ปัญหาของคนในชุมชน         จากนั้น คณะทำงานฯได้กำหนดเดินทางลงพื้นที่ต่อยัง จ.สกลนคร ในวันที่ 23 เมษายน  2560 เพื่อรับฟังสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ จ.สกลนคร โดย นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ประธาน คสป.จังหวัด สรุปผลการดำเนินงาน ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮัง พร้อมลงพื้นที่ดูของจริงที่กลุ่มป่าเศรษฐกิจครอบครัว ที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเพื่ออนุรักษ์ไว้ด้วยความภาคภูมิใจ สามารถลดรายจ่ายและสร้างรายได้ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มเครือข่าย อีกทั้งยังกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและเครือข่าย เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในระดับครอบครัวและระดับประเทศ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เศรษฐกิจพอเพียง”   และวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพริกบ้านหนองหอย และแปลงเกษตร ปราชญ์เกษตรนางบังอร ไชยเสนา ตำบลเชียงเครือ อ.เมืองสกลนคร เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านการเกษตรและการแปรรูป หลังจากนั้นได้เดินทางจากแปลงเกษตรไปยังกลุ่มสกลเฮ็ด ต.ธาตุเชิงชุม โดยจะมีผู้นำกลุ่มผู้แทนสกลเฮ็ดนำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน  แนวทางการขับเคลื่อน อุปสรรค และแนวทางการขับเคลื่อนในการจัดการปัญหา

คุณขวัญตา บุญโต หนึ่งในสมาชิกกลุ่มข้าวจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า ข้าวผลิตจากข้าวนาอินทรีย์ปลอดสารเคมีต่างๆ ทางเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นกลุ่มฟื้นฟูอนุรักษ์พันธ์ข้าวเป็นพันธ์พื้นเมืองมีอยู่เป็น 100 สายพันธ์ มีทางศูนย์วิจัยข้าวจากสกลนครมาให้ความรู้ด้านวิชาการและยังมาช่วยผสมสายพันธุ์พื้นเมืองขึ้นมาอีก  ทางเราทำมา 3 ปีแล้ว พันธุ์ข้าวจะส่งขายภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงเช่น จ.ยโสธร จ.มหาสารคาม จ.เลย เป็นต้น ตอนนี้เรามีเครือข่ายจากจ.มหาสารคามที่มาให้ความรู้เราครั้งแรกโดยการปลูกข้าวทำแปลงนาแบบปาณีต ซึ้งเราจะใช้ต้นกล้าเพียงต้นเดียวปักนำ โดยทางเราจะมีนักเรียนเข้ามาช่วยในการดำนาของกลุ่ม  วิธีเพาะต้นกล้าคือการเพาะในผ้าพลาสติกแล้วก็จะค่อยๆ ถอนต้นกล้าที่ละต้นวิธีปลูกก็คือการใช้วิธีขลึงเชือกที่แปลงนาให้มีเส้นตรงเวลานำต้นกล้าลงไปปลูกก็จะเป็นแถวตรงเรียงกันสวยงาม คนที่เป็นสมาชิกของทางกลุ่มเรา ก็จะใช้วิธีการเดียวกับเรา นาของเราจะต้องถูกล้อมล้อมด้วยป่า เพราะว่าระบบนิเวศที่ถูกล้อมรอบด้วยป่ามันจะปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ ก่อนที่จะไปบรรจุเราก็มีการตรวจสอบก่อนว่าข้าวเราปลอดสารเคมีจริงๆ ถึงจะไปดำเนินขั้นต่อไป นอกจากนี้ จะมีส่วนของจมูกข้าวที่หักออกจากเมล็ดข้าวหรือที่เราเรียกว่าปลายข้าวเรานำมาแปลรูปเป็นสบู่  น้ำข้าวจะทำให้ผิวเรานุ่มขึ้น กลุ่มเราที่ผลิตเราใช้ตั้งแต่หน้ายันทั่วร่างกายสบู่น้ำข้าวจะมาแต่ละสายพันธุ์ของข้าว

คุณลัดดาวรรณ ครุธตำคำ เกษตรกรปลูกพริก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกพริกบ้านหนองหอยใหม่ กล่าวว่า ทางเรามองว่าเรื่องของพริก มีการส่งพริกไปขายทางเครื่องบินทางประชารัฐเองก็ได้รวบรวมเกษตรกรให้ได้มาก เผื่อที่จะมีการขายช่องทางให้เกษตรกรมากขึ้น ในเรื่องของรายรับรายได้จะมีแนวโน้มว่าสูงขึ้นอีกแน่นอน  ในส่วนของการขยายผลไปส่วนอื่นๆก็อยู่ในโครงการที่กำหนดไว้มีการขยายผลไปทางสหกรณ์การเกษตรอีกด้วยในพื้นที่ปลูกพริกมีประมาณ100ไร่ ก่อนหน้าที่ยังไม่มีโครงการประชารัฐทางเกษตรกรเองก็มีปัญหาที่ไม่มีที่ส่งออกพริก ในส่วนของประชารัฐเองก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเพิ่มช่องทางการส่งออกให้ชาวบ้านมีรายได้ที่มากขึ้นกว่าเดิม ในการปลูกพริกเองก็จะต้องใช้สารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ เครือข่ายที่เป็นส่วนกลางของประชารัฐก็ช่วยหาวิธีแก้ไขในเรื่องสารพิษ เพื่อที่จะทำพริกที่ปลอดสารเคมี         คุณธนะสรรค์ ศริวาลย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กล่าวว่าในปัจจุบันสภาบันสมุนไพรแห่งประเทศไทยได้คัดเลือกให้จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดต้นแบบที่ใช้สมุนไพร ทางสาธารณสุขจังหวัดก็เปรียบเสมือนเป็นเลขาของทีมที่เข้ามามีส่วนร่วมของประชารัฐตัวสมุนไพรทางจังหวัดสกลนครด้วยพื้นฐานแล้วเป็นจังหวัดที่มีป่าเยอะ ทางชาวบ้านเองก็ได้รู้จักการนำเอาสมุนไพรมาใช้ ได้2ทางคือ นำมาจากแห่งธรรมชาติและอีกทางหนึ่งก็คือปลูกเอง การปลูกเองก็จะเป็นสมุนไพรระยะสั้นส่วนใหญ่ ทางเราก็ได้มีการพัฒนามาตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและต้นทาง ต้นทางก็คือสร้างสหกรสมุนไพรของจังหวัดสกลนครขึ้นซึ้งสหกรเองเป็นการขับเคลื่อนในการเก็บเกี่ยวพร้อมอนุรักษ์ นโยบายของภาครัฐอยากส่งเสริมให้สมุนไพรมีรายได้ที่สูงไม่ว่าจะเรื่องเวสสำอางที่ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรมาช่วยเรื่องความสวยความงามได้เข้ามามีบทบาทสมุนไพรมากขึ้น จังหวัดสกลนครจะโด่งดังเรื่องคราม หลังที่ได้ร่วมโครงการประชารัฐก็ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น รายได้เราเห็นชัดเจนอยู่แล้วในอีกส่วนก็จะเห็นว่ามีสมาชิกมาเข้าร่วมโครงการอย่างมาก ในการร่วมโครงการประชารัฐครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักหน่วยงานเพิ่มมากขึ้นทำให้เราได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดกัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนใน 3 กลุ่มงาน เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ จะมี KPI หรือตัวชี้วัด ที่จะประเมินผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เน้นที่ประชาชนที่ประสบปัญหาความยากจน เพื่อเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย เน้นให้ความสำคัญมาโดยตลอดการดำเนินงานทั้งหมดนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามเป้าหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่า พลังประชารัฐนั้นยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญโดยที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา และเสริมสร้าง พัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความเข้มแข็งของชุมชน อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมของทั้งประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป