เผยแพร่ |
---|
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานพัฒนาแก้มลิง ทุ่งหิน ในพื้นที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ประธานอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายขจร ศรีชวโนทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมแม่กลอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสงครามนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพแก้มลิง ทุ่งหิน เป็นงานที่กรมชลประทาน ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ การประปาส่วนภูมิภาค กรมทางหลวงชนบท และกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยได้มีการกำหนดแผนหลักการในการดำเนินงานพัฒนาโครงการดังกล่าวเป็น 4 ด้าน ดังนี้
- การบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาเบื้องต้น การสำรวจ การออกแบบ ฯลฯ
- การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการเกษตร การขุดลอกแก้มลิงทุ่งหิน การก่อสร้างปรับปรุงอาคารท่อรับน้ำ ฯลฯ
- การปรับปรุงเส้นทางน้ำเข้าโครงการฯ การก่อสร้างอาคารท่อลอดรางรถไฟ
- การปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่โครงการฯทั้งนี้ จากข้อสั่งการของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพัฒนาโครงการแก้มลิงทุ่งหิน เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2564 โดยระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 – 2576
สำหรับโครงการแก้มลิงทุ่งหิน มีพื้นที่ประมาณ 2,623 ไร่ และมีคันกั้นน้ำยาว 11.7 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ บ้านต้นลำแพน ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพิจารณาอนุญาตให้กรมชลประทานเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่เขตป่าตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 ที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลน เนื้อที่2,310 –3 – 56 ไร่ ดังนั้นเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการในลักษณะการพัฒนาพื้นที่แก้มลิง เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากที่เกินความต้องการและก่อให้เกิดปัญหาอุทกภัยไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งขึ้น ภายใต้ชื่อ “โครงการแก้มลิงทุ่งหิน”เมื่อดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จสมบรณ์ทั้งโครงการเป็นที่เรียบร้อย บริเวณพื้นที่แก้มลิงทุ่งหิน นี้ จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำเพิ่มได้อีก 3 ล้านลูกบาศก์เมตร คือ จาก 6 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 9 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถช่วยบรรเทาพื้นที่อุทกภัยได้ถึง 4,000 ไร่ และยังมีมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 5,000 ไร่ ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาน้ำหลากในช่วงหน้าฝน ช่วยลดความเสียหายต่อพื้นที่เศรษฐกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำให้ชาวสมุทรสงครามมีแหล่งน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น