ตำรายาสมุนไพรประจำฤดู

คอลัมน์ คนงามเพราะแต่ง โดย ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เขียนไว้ว่า ช่วงนี้ถือได้ว่าอากาศเริ่มเปลี่ยนฤดู จากฤดูร้อนกำลังย่างเข้าสู่ฤดูฝน เริ่มมีฝนโปรยปรายมาในบางวัน ช่วงนี้ควรหมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เช่นนั้นอาจจะเจ็บป่วยหรือเป็นหวัดกันได้ง่ายๆ ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาตำรับยาสมุนไพรประจำฤดู มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของภาษามาฝาก

ขิง

การแบ่งฤดูในปีหนึ่งๆ ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิอากาศ อาจแบ่งเป็น 2 ฤดู 3 ฤดู 4 ฤดู หรือ 6 ฤดู ก็ได้

ประเทศไทยแบ่งฤดูออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว หากจะเรียกชื่อฤดูเหล่านี้ด้วยคำบาลีสันสฤต ก็จะเรียกได้ว่า คิมหันตฤดู คือ ฤดูร้อน เหมันตฤดู คือ ฤดูหนาว ส่วนฤดูฝน มีผู้เรียกว่า วสันตฤดู ซึ่งไม่ถูกต้องตามรูปศัพท์ เพราะวสันตฤดู แปลว่า ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งไม่มีในประเทศไทย แต่เป็นฤดูของประเทศอินเดียทางภาคเหนือ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ฤดู

ชื่อ ฤดูฝน ในภาษาบาลีใช้ว่า วัสสาน ดังนั้น ถ้าจะเรียกฤดูฝนให้ถูกตามรูปศัพท์ต้องใช้ว่า       วัสสานฤดู

พริกไทยดำ
ลูกสมอไทย

สำหรับอิทธิพลของอากาศและสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อร่างกายนั้น ในฤดูหนาว อาการขาดสมดุลเกิดจากความหนาวแห้ง มีปัญหากับธาตุน้ำ ควรปรับตัวด้วยอาหารรสขมร้อน รสร้อนและรสเปรี้ยว สมุนไพรที่เหมาะกับช่วงนี้คือ ตรีสาร ประกอบด้วย รากเจตมูลเพลิงแดง รากช้าพลู และเถาสะค้าน ฤดูร้อน ธาตุไฟได้รับผลกระทบในภาพรวม ควรใช้อาหารหรือสมุนไพรที่มีรสขมเย็น เปรี้ยวจืด เพื่อปรับธาตุ สมุนไพรที่เหมาะกับช่วงนี้ คือ ตรีผลา ประกอบด้วยผลไม้ 3 อย่าง คือ ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก และผลมะขามป้อม ในฤดูฝน ความเย็นชื้นมากระทบธาตุลม ควรปรับตัวด้วยสมุนไพรรสสุขุมและเผ็ดร้อน สมุนไพรที่เหมาะกับช่วงนี้ คือ ตรีกฏุก หมายถึง เครื่องยาที่เผ็ดร้อน รวม 3 อย่าง คือ เหง้าขิง ผลพริกไทยดำ และผลดีปลี รู้แบบนี้แล้วต้องรีบหาตำรับยาตรีกฏุกมารับประทานในช่วงฤดูฝนดีกว่า