ยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-Naga Belt Road)

น.สพ. ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนการพัฒนา BCG สาขาเกษตรนั้น มุ่งเน้นปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนในลักษณะของการบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based) โดยในเบื้องต้นได้คัดเลือก 5 จังหวัดพื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดลำปาง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดพัทลุง และการเชื่อมติ่ออุปสงค์อุปทานในลักษณะของกลุ่มสินค้า (Community based) ที่มีความสำคัญในจังหวัดนำร่องนั้นๆ โดยให้ความสำคัญในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน โดยใช้ความร่วมมือ 4P (Public-Private-People-Professional partnership) ระหว่างกลุ่มเกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่นำร่องลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตสินค้า และส่วนเหลือทิ้งจากการเกษตร โดยสร้างความเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องตลอกห่วงโซ่การผลิต การแปรรูป การบริการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการท่องเที่ยวของจังหวัดนั้นๆ

ดร. วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค ทางไบโอเทค สวทช. และ เลขานุการคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาอาหาร ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทาง สายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCG-Naga Belt Road)” เป็นตัวอย่างของการขับเคลื่อน BCG ของกลุ่มสินค้าข้าวเหนียว โดยเป็นการผนึกกำลังระหว่าง สวทช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท เกษตรอินโน จำกัด และหน่วยงานของกระทรวงเกษตร์และสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อผลักดันการใช้ BCG Model ขับเคลื่อนชุมชนที่มีฐานการผลิตข้าวเหนียว ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มแบบครบวงจร โดยบูรณาการด้านการผลิตพืช การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนในชุมชน โดยเชื่อมโยงวัฒนธรรม ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับส่งแวดล้อม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบบูรณาการที่อิงกับวัฒนธรรมท้องถิ่น นำไปสู่การยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต

ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา รักษาการรองผู้อำนวยการไบโอเทค ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร และเลขานุการคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร กล่าวว่าในปี 2565 โครงการ BCG-Naga Belt Road มีเป้าหมายในการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดนครพนม โดยมีแผนการดำเนินงาน 4 แผนงาน ประกอบด้วย 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสมโดยใช้พื้นฐานของความหลากหลายของพันธุ์ข้าวเหนียว  และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเข้มแข็งมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว 2) การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตข้าวเหนียวและการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 3) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับข้าวเหนียว และ 4) การพัฒนาระบบสนับสนุน Enabler System เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจตาม BCG mode

การดำเนินงานโครงการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่บนเส้นทาง สายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (BCGNaga Belt Road)” เป็น Quick Win ของ BCG สาขาเกษตร ที่เป็นแบบอย่างของการทำงานความร่วมมือแบบ 4P (PublicPrivatePeopleProfessional partnership) อย่างแท้จริง โดยหน่วยงานสนับสนุนทุน เช่น สกสว และ สวก ติดตามความก้าวหน้าของโครงการร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิติดตามโครงการ เพื่อให้เห็นแนวทางในการสนับสนุนและผลักดันแนวทางการขับเคลื่อน BCG ในลักษณะของการบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area based) ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป