ผู้เขียน | ลักษิกา กรทรวง |
---|---|
เผยแพร่ |
คำเตือนสำหรับทาสแมวทั้งหลาย รักที่ให้ไปแน่ใจใช่ไหมว่าเจ้าแมวตัวน้อยของเราจะต้องการ? เพราะอย่างแรกแมวเป็นสัตว์ที่หวงตัวและจะรู้สึกไม่สบายใจกับคนที่ไม่คุ้นหน้า ซึ่งบางตัวอาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ แต่ดีกว่าไหมถ้าเรารู้ว่าต้องแสดงออกทางความรักกับแมวแบบไหน
หากจะสรุปงานวิจัยชิ้นนี้เป็นข้อความสั้น ๆ ก็อาจจะสรุปได้ว่า สำหรับแมวนั้นเป็นสัตว์ที่ไว้ใจคนค่อนข้างยาก เพราะไม่รู้ว่าแมวแต่ละตัวผ่านอะไรมาบ้าง บางตัวที่เป็นแมวจรยิ่งแล้วใหญ่ ดร.ลอเรน ฟินกา จึงได้สนใจทำศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ชื่นชอบและเลี้ยงแมว โดยแบ่งแยกเป็นกลุ่มคน 5 ประเภทด้วยกัน
- ความยินยอมเห็นใจ (Agreeeableness)
- ความพิถีพิถัน (Consientiousness)
- ความสนใจต่อสิ่งภายนอก(Extraversion)
- ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (Neuroticism)
- ความเปิดรับประสบการณ์(Openness)
ซึ่งในการศึกษาวิจัย ทีมของดร.ลอเรน ฟินกาได้นำแมว 3 ตัวที่อาสาสมัคร 120 คน ไม่ได้เลี้ยงและไม่คุ้นเคยกันให้เข้ามาใช้เวลาอยู่ร่วมกันระหว่างแมวกับคนแปลกหน้า สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเห็นคือกลุ่มคนที่มั่นใจว่าตัวเองเลี้ยงแมวมานาน และเลี้ยงหลายตัว กับใช้วิธีการแสดงออกที่แมวไม่ชอบ
โดยเริ่มจากการสัมผัสที่บริเวณโคนหาง ขา หลัง และท้อง ซึ่งเป็นบริเวณที่แมวมักไม่ชอบให้สัมผัสหากยังไม่คุ้นเคยกัน สำหรับกลุ่มคนที่เลี้ยงแมวหลายตัวขึ้นไปได้แสดงออกด้านพฤติกรรมด้านการให้อิสระกับแมวในการทดลองน้อยจนแมวรู้สึกได้ และเมื่อพูดถึงประเภทบุคลิกภาพของอาสาสมัคร ทีมวิจัยพบว่าผู้ที่มีบุคลิกประเภทความไม่เสถียรทางอารมณ์ หรือ Neuroticism มีแนวโน้มที่จะจับและควบคุมแมวมากขึ้น
“ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าลักษณะบางอย่างนั้นทำให้บางคนมีปฏิสัมพันธ์กับแมวได้ดี ความรู้ที่พวกเขาพูด ประสบการณ์การเลี้ยงแมวที่พวกเขาระบุ ไม่ควรถือเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้ถึงความเหมาะสมในการรับเลี้ยงแมวบางตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความต้องการด้านการจัดการหรือพฤติกรรมเฉพาะ” ดร.ลอเรน ฟินกา
แต่ที่น่าแปลกคือกลุ่มคนที่ได้คะแนนสูง ด้านความยินยอมเห็นใจ (Agreeableness) พวกเขาจะเลี่ยงไม่สัมผัสส่วนที่อ่อนไหวของแมวตามอำเภอใจ นอกจากนี้สำหรับกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์กับแมวในระดับปกติทั่วไปที่ได้จากการทำแบบประเมิน พวกเขาได้แสดงออกให้เห็นถึงความเป็น ‘มิตรกับแมว’ โดยการสร้างความคุ้นเคยกับพวกมันก่อน
และใครจะรู้ว่าเบื้องหลังงานวิจัยชิ้นนี้ของดร.ลอเรน ฟินกา คือศึกษาพฤติกรรมของคนที่สนใจหรือรักแมว เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อแมว อีกทั้งยังมีความหมายแฝงคือการหาบ้านใหม่ให้กับกลุ่มแมวจรที่รอรับเลี้ยงด้วยเช่นกัน ดร.ลอเรน ฟินกาไม่ได้มีเจตนากล่าวหาใครให้อับอาย เพียงแค่อยากให้งานวิจัยชิ้นนี้บอกเล่าว่าหากคุณที่กำลังเป็นพ่อแม่มือใหม่ของน้องแมว การผูกมิตรกับแมวนั้นสามารถเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ดูแลที่ดีได้นะ
“สิ่งสำคัญคือ ภายในศูนย์พักพิงสัตว์นั้นเราควรหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีแนวโน้มจะรับเลี้ยงแมวโดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเป็นเจ้าของแมวมาก่อน เพราะหากใครก็ตามที่ได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม พวกเขาอาจกลายเป็น ‘ทาสแมวตัวจริงที่ยอดเยี่ยม’ ก็เป็นไปได้” ดร.ลอเรน ฟินกา ได้กล่าวไว้ในชิ้นงานวิจัยนี้เช่นกัน