“คาเคาโอ้-โกโก้” บริษัทที่พัฒนาตลาดโกโก้ไทยให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ

จุดเริ่มต้นของการทำแบรนด์คาเคาโอ้-โกโก้

คุณธันย์ปวัฒน์ เศวตภัทรวาทิน ประธานวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท คาเคาโอ้-โกโก้ จำกัด กับจุดเริ่มต้นที่อยากกลับมาพัฒนาชุมชน ในปี 2563 คุณธันย์ปวัฒน์ หรือ คุณหนุ่ย ได้คิดอยากจะทำธุรกิจที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน ซึ่งพื้นฐานของคุณหนุ่ยก็เป็นลูกหลานเกษตรกร จึงอยากทำธุรกิจเพื่อชุมชน และสร้างให้พื้นที่ที่บ้านเราเห็นถึงความยั่งยืน

คุณหนุ่ย เล่าว่า “ในอดีตจากที่ผมเป็นลูกหลานเกษตรกรปลูกโกโก้ เรียกว่าเคยช่วยพ่อโค่นต้นโก้โก้ทิ้งเมื่อ 30 ปีที่แล้วนะครับ หลังจากนั้นเมื่อปี 63 ผมได้กลับมา และศึกษาเกี่ยวกับการปลูกโกโก้ ด้วยการรื้อฟื้นการปลูกโกโก้ขึ้นมาใหม่ในจังหวัดระนอง และก็ก่อตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนโกโก้จังหวัดระนอง”

ปัจจุบันโกโก้ที่ปลูกเป็นสายพันธุ์ลูกผสมชุมพร 1 แล้วก็สายพันธุ์ท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในภาคใต้มา 30 กว่าปีแล้ว เป็นโกโก้ท้องถิ่นของเรา จุดเด่นของที่คาเคาโอ้โกโก้ทำก็คือ การสร้างอัตลักษณ์ให้กับโกโก้แต่ละจังหวัด ซึ่งคุณหนุ่ยได้สร้างเครือข่ายโกโก้จากการรับซื้อโกโก้จากเกษตรกรในพื้นที่ และในอีก 6 ภาคของประเทศ จากเกษตรกรโดยรับซื้อกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ทั่วประเทศ

และวางแผนการตลาดของคาเคาโอ้ ที่นำจุดขายอย่าง ‘เครื่องดื่มช็อกโกแลตสด’ แล้วใช้รสความแปลกใหม่ของโกโก้แต่ละภาค ดึงดูดให้คนหันกลับมาบริโภคโกโก้ไทย จนได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งมันเป็นแรงที่ช่วยสนับสนุนให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่ร่วมมือกับคาเคาโอ้ได้มีการขายสินค้า พร้อมกับมีความรู้ในเรื่องของการแปรรูปผลผลิต เพราะคุณหนุ่ยและทีมงานได้ลงไปให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้สามารถต่อยอดผลผลิตต่อไปได้

คาเคาโอ้เองเลยกลายเป็นบริษัทที่ชูสินค้าเด่นๆ อย่างโกโก้ทั้ง 6 ภาค หากถามถึงมุมมองในตลาดอนาคต คุณหนุ่ย มองว่า ตลาดของโกโก้ไทยมีอัตราที่จะโตขึ้นอย่างแน่นอน คุณหนุ่ยได้บอกเล่าถึงมุมมองแนวโน้มการเติบโตว่า

“ประเทศไทยเรานำเข้าผงโกโก้มา 1 ปี เกือบ 5 พันล้านบาท จริงๆ แล้วอัตราการเติบโตคนยุโรปเรากินช็อกโกแล็ต โกโก้อยู่ที่เฉลี่ย 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่คนเอเชียเราเองกิน 8 กรัมต่อคนต่อปีค่าเฉลี่ย” 

ซึ่งคุณหนุ่ยยังได้แชร์ความคิดเรื่องของการที่คนส่วนใหญ่คิดว่าหากปลูกโกโก้ก็ไม่มีคนรับซื้อ และยังไม่รู้ว่าแนวโน้มในอนาคตจะดีหรือไม่ 

“ถ้าทุกคนมองข้ามว่าการปลูกโกโก้มีล้งรับซื้อไหม เราค่อยปลูกตอนอีก 15 ปีก็ไม่สาย แต่ถ้าวันนี้คุณมีการตลาดด้วย คุณต้องเข้าใจให้ได้ว่า สมัยที่ผมปลูกตอน 63 มีคำถามทุกวันว่าเราปลูกแล้วเราจะขายใคร คนอื่นก็ถาม ผมก็บอกเราก็ขายตัวเอง ทุกคนก็งงว่าขายตัวเองอะไรของเรา เราจึงมาสร้างบริษัทเพื่อทำการตลาด เพราะฉะนั้นยุคนี้นะครับ เราต้องปลูกเอง แปรรูปได้เอง และสร้างการตลาดด้วยตัวเองก่อน แต่ถ้ายังมองไม่เห็นตลาดอย่าเพิ่ง เราต้องศึกษาก่อน แล้ววางแผนการก่อน เราจะปลูกเราต้องดูด้วยว่าเราปลูกได้ไหม มีกลุ่มรับซื้อ มีกลุ่มที่ทำด้วยไหม”

หากใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างโกโก้ให้ได้ผลตอบรับที่ดีในอนาคต เทคโนโลยีชาวบ้านขอแนะนำให้มาร่วมฟังกันได้ที่งาน “สัมมนา Pre Top Form พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต”

📌ฟังแนวทางการทำรายได้จากพืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต

ฟังช่องทางการตลาด ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างรายได้

ฟังเกษตรกรเสียงจริงตัวจริง แลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างละเอียด

รู้ลึก ถึงแก่น พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต

————

📣พิเศษ ลงทะเบียนเข้าฟังฟรี!! 

📆วันพุธที่ 27 กันยายน 2566

⏰เวลา 13.00-16.00 น. 

📍ที่ห้องประชุม อาคารหนังสือพิมพ์ข่าวสด