อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย และผู้นำภาคอุตสาหกรรมการเกษตรพร้อมขับเคลื่อนเพื่อการเกษตรยั่งยืนในอนาคต

ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั่วทุกมุมโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเร่งด่วน อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนอาหาร และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวทางการแก้ไขเชิงนวัตกรรมกำลังเป็นที่ต้องการมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบยั่งยืน งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย (AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA) เป็นงานจัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับนานาชาติ

โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิวัติแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร การจัดงานในปีนี้ถือเป็นการกลับมาครั้งสำคัญร่วมกับผู้นำภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่พร้อมขับเคลื่อนเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนในอนาคตทั้งทางด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการแชร์ประสบการณ์ต่างๆ รวมถึงการนำนวัตกรรมที่สามารถมาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ด้านการเกษตร

งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ ฮอลล์ 98-99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (DLG International) และ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วม สำหรับงานในปีนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมด้านการเกษตรกว่า 300 ราย จาก 28 ประเทศ นับเป็นการรวมตัวของผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรที่หลากหลายในนานาชาติ ตอกย้ำสถานะของงานในฐานะศูนย์กลางด้านเครื่องจักรและนวัตกรรมพืชสวนที่สำคัญในเอเชีย

สำหรับผู้สนใจเข้าชมงานจะมีโอกาสสำรวจเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยล่าสุดด้านการเกษตรจากผู้ผลิตทางการเกษตรและพืชสวนชั้นนำของโลก อาทิ แบรนด์ แอ็กโค่ (AGCO) กับ แมสซี่ เฟอร์กูสัน (Massey Ferguson), เคส นิว ฮอลแลนด์ (Case New Holland), ฉางฟา (Changfa), คลาส (CLAAS), จอน เดียร์ (John Deere), มาฮินทรา แอนด์ มาฮินทรา (Mahindra & Mahindra), และ เนต้า-ฟิม (Netafim ซึ่งแต่ละเจ้าล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม อยู่ในระดับแนวหน้าด้านการพัฒนาโซลูชั่นเครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรสามารถจัดการกับความท้าทายที่สำคัญในภาคส่วนนี้ ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิตพืชผลไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำและทรัพยากร

ในปีนี้ งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ไม่เพียงแต่จะเน้นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มผลผลิตของฟาร์ม แต่ยังเน้นหลักปฏิบัติที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีการทำฟาร์มอัจฉริยะที่มีส่วนช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับปรุงระบบอาหาร กิจกรรมนี้จะทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั่วโลกในการมีส่วนร่วม แบ่งปันองค์ความรู้ และส่งเสริมความร่วมมือที่จะกำหนดอนาคตของการเกษตร

นางแคธาริน่า สแตส์เก้ (Katharina Staske) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าในปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 ของการจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย โดยมีขนาดและผู้เข้าร่วมแสดงนวัตกรรมทางการเกษตรเพิ่มขี้นกว่าเท่าตัวว่า “ภายในงาน ผู้เข้าชมงานได้พบกับผู้ผลิตชั้นนำจากทุกภาคส่วน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกดิน เช่น เล็มเค่น (Lemken) จากประเทศเยอรมนี, แชคติมาน (Shaktiman) จากประเทศอินเดีย, และ เคดับเบิ้ลยู เมทัล เวิร์ค (KW Metal work) จากประเทศไทย”

นางแคธาริน่า สแตส์เก้ (Katharina Staske) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
นางแคธาริน่า สแตส์เก้ (Katharina Staske) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

นางสแตส์เก้ กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงานแล้วจาก 62 ประเทศทั่วโลก ตอกย้ำให้เห็นว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย เป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติสำหรับชุมชนเกษตรกรรมในการเรียนรู้ถึงแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร ภายใต้แนวคิดหลักในปีนี้ “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” (Co-Creation and Sustainable Networks)

“ในส่วนการประชุมและการเสวนา ในปีนี้ เราจะเจาะลึกถึงประเด็นเร่งด่วน เช่น การลดมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติทางการเกษตร, เส้นทางสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน, และการนำโซลูชั่นการทำฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ ซึ่งการอภิปรายหลักทางงานได้รับความร่วมมือจากองค์กรที่มีชื่อเสียง อาทิ สมาคมเทคโนโลยีอ้อยน้ำตาลแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ, สมาคมวิศวกรรมเกษตรไทย, และสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งเอเชีย”

ทางด้าน นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชียแปซิฟิค จำกัด เน้นถึงความสำคัญของการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย กล่าวว่า “ในปีนี้นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 8 ทางคณะผู้จัดงานฯ มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านพืชสวนและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีบริษัทเข้าร่วมกว่า 300 แห่งจาก 28 ประเทศ รวมถึงผู้นำในอุตสาหกรรมชั้นนำ อาทิ เนต้าฟิม (Netafim) และ คลาสมาน-เดลมันน์ (Klasmaan-Deilmann) ร่วมถึงพันธมิตรอย่าง ดูมเมน ออ-เร้นจ์ (Dummen Orange) และ อะการิส (Agaris) งานนี้ถือเป็นงานรวมตัวของเหล่าสุดยอดผู้ผลิตนวัตกรรมทางการเกษตรในอุตสาหกรกรรม ทางคณะผู้จัดงานฯ รู้สึกเป็นเกียรติ และภูมิใจที่มีโอกาสได้ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรสำคัญในภาคส่วนต่างๆ เช่น สถานทูตเนเธอร์แลนด์, สมาคมวิทยาศาสตร์พืชสวนแห่งประเทศไทย, สมาคมเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และความร่วมมือระดับโลกผ่านงานประชุมและสัมมนาวิชาการภายในงานครั้งนี้”

นางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชียแปซิฟิค จำกัด

นางสาวปนัดดา กล่าวเสริมว่า “ภายในงานสัมมนา ทางหน่วยงานที่เข้ามาร่วมจัดงานได้คัดสรรหัวข้อที่น่าสนใจมานำเสนอให้กับผู้เข้าชมงาน อาทิ หัวข้อ “นวัตกรรมพืชสวนที่ยั่งยืน: แรงบันดาลใจไทย-ดัตช์ในบริบทโลก” ซึ่งจะเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา โดยเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีอัจฉริยะและการทำฟาร์มแบบแม่นยำ เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประสิทธิภาพและเสริมสร้างการพัฒนาเชิงก้าวกระโดดให้กับภาคการเกษตรของภูมิภาคโดยการนำเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การคาดการณ์โรค และการติดตามการผลิตผ่านทางแอปพลิเคชั่นอัจฉริยะ”

ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นย้ำถึงการตอบสนองเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทยต่อความท้าทายทางการเกษตรระดับโลกว่า “เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายเร่งด่วนระดับโลกที่เราเผชิญ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน” ดร.วนิดา อธิบายว่า “แนวคิดเชิงนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันถือเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งคุณจะพบได้ที่งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับธีม “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” ประจำปีนี้อย่างสมบูรณ์แบบ”

ดร.ไกส์ ทูนิสเซ่น (Gijs Theunissen) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) – สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย

ดร.ไกส์ ทูนิสเซ่น (Gijs Theunissen) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) – สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศว่า “การจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับพวกเราในภาคเกษตรกรรม” ดร.ทูนิสเซ่น กล่าวเสริมว่า “ที่ ฮอร์ติ เอเชีย 2567 สถานทูตเนเธอร์แลนด์ร่วมกับพันธมิตรชาวไทย จะเป็นเจ้าภาพการประชุมไทย-ดัตช์ ซึ่งเน้นในหัวข้อ ‘นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการปลูกพืชสวน: แรงบันดาลใจของไทย-ดัตช์ในบริบทระดับโลก’ เป้าหมายของเราคือการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมและความรู้ด้านพืชสวน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน จึงอยากขอเรียนเชิญทุกคนที่สนใจในประเด็นสำคัญเหล่านี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เพื่อมีส่วนร่วมและหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์”

นายคาร์สเต้น ซีเบลล์ (Karsten Ziebell)

นายคาร์สเต้น ซีเบลล์ (Karsten Ziebell) หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางการเกษตรเยอรมัน-ไทย หรือ GETHAC ให้ข้อมูลว่า วัตถุประสงค์ของโครงการคือการยกระดับความยั่งยืนของการผลิตทางการเกษตรและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรกรรมของไทย เราจึงอยากเรียนเชิญผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสมัยใหม่มาร่วมสร้างโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ร่วมกันกับเรา

นางวิไลวรรณ ทวิชศรี เลขาธิการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวไทย

นางวิไลวรรณ ทวิชศรี เลขาธิการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวไทย กล่าวว่า ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร สมาคมพืชสวนไทย ชุมชนมะพร้าวนานาชาติ และบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด เราภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมมะพร้าวนานาชาติครั้งที่ 3 หัวข้อหลักของปีนี้ “เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวอัจฉริยะและโอกาสทางการตลาด” จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจาก 6 ประเทศ รวมถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย การประชุมจะมีระยะเวลา 2 วัน โดยมีการบรรยายเชิงลึกและเยี่ยมชมสวนมะพร้าวหอมในจังหวัดปทุมธานี และโรงงานเครื่องสำอางที่ใช้น้ำมันมะพร้าว เราได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชน 8 แห่งและภาครัฐ ผมขอเชิญชวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิผลและรับข้อมูลเชิงลึกอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการผลิตมะพร้าว