เทคนิคการนำรถตัดอ้อยมาใช้ในการทำไร่นั้น มีส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น

การเติบโตอย่างน่าประทับใจของกลุ่ม บริษัท KTIS แห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากการลงทุนด้านเครื่องจักรอุปกรณ์สมัยใหม่ในการผลิตน้ำตาล ซึ่งรวมไปถึงรถตัดอ้อยของ
Case IH

การผลิตน้ำตาลเป็นความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยอดเยี่ยมด้านหนึ่งของประเทศไทย ในตลาดน้ำตาลทั่วโลก
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองของโลกรองจากบราซิล และมีโรงงานผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือ 200 กิโลเมตร กลุ่ม บริษัท KTIS เป็นเจ้าของโรงงานดังกล่าวพร้อมโรงงานอีก 2 แห่ง ของบริษัทได้เพิ่มผลผลิตของโรงงานเพื่อรองรับความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทยอยเพิ่มกำลังการผลิตจาก ระดับ 11,500 ตัน ไปสู่ระดับ 88,000 ตัน ต่อวัน

การทำไร่อ้อยของเกษตรกรคู่สัญญา ของ KTIS ก็ได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานจำนวนมากมาใช้เครื่องจักรอุปกรณ์มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และอัตราผลผลิตที่สามารถนำส่งเข้าสู่โรงงานได้เพิ่มสูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากอุปกรณ์ อย่าง เช่น รถตัดอ้อย รุ่น Austoft®
A8000 ของ Case IH KTIS ได้รับประสบการณ์จากรถตัดอ้อย รุ่น Austoft 8000 ว่า เป็นอุปกรณ์ขั้นสูง มีผลิตภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในตลาดเป็นครั้งแรก

โดยในตอนแรกที่พิจารณาซื้อรถตัดอ้อยนั้น พวกเขายังดูต่อต้านเสียด้วยซ้ำ KTIS คำนวณว่าอุปกรณ์จะต้องสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้ 300 ตัน ของต้นอ้อยต่อวัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มค่าของอุปกรณ์ แต่เดิมแรงงาน 1 คน มีอัตราการเก็บเกี่ยวที่ 1 ตัน ต่อวัน หรือ 2 ตัน ถ้าเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น โดยการเผาไปด้วย
ซึ่งรถตัดอ้อยจะต้องทำงานให้ได้เท่ากับแรงงาน 150 คน ถึง 300 คน หากคิดว่าเครื่องเก็บเกี่ยวไม่มีทางทำได้ตามระดับอัตราผลผลิตดังกล่าว KTIS ก็จะเลิกพิจารณาซื้อทันที

ทั้งนี้ รถตัดอ้อยเครื่องแรกของบริษัทได้ซื้อเครื่องจักรมือสองมาจากออสเตรเลีย ซึ่งทำงานได้ตามเป้าหมายทั้งหมดของพวกเขา ปัจจุบัน KTIS ใช้เครื่องเก็บเกี่ยว Case IH มือหนึ่งที่ซื้อมาจากศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคในกรุงเทพฯ ของ Case IH ซึ่งให้อัตราผลผลิตในการเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น ฤดูเก็บเกี่ยวมีข้อจำกัดของช่วงเวลาที่สั้น ซึ่งอยู่ที่ ประมาณ 130 วัน ซึ่งรถตัดอ้อยช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาการเผาอ้อยซึ่งทำให้หน้าดินเกิดความเสียหายในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวจึงช่วยให้ผลต่อสภาวะโลกร้อนนั้นได้ลดลงอย่างมาก

เครื่องเก็บเกี่ยว Austoft 8000 Series เป็นเครื่องเก็บเกี่ยวที่ทำได้ตามความต้องการด้านประสิทธิภาพตลอดเวลาและอัตราผลผลิตได้มากที่สุดจากกลุ่มเครื่องเก็บเกี่ยวที่มีอยู่ทั้งหมด รถตัดอ้อย รุ่น 8000 Series
ออกแบบมาเพื่อการเก็บเกี่ยวในไร่แบบแถวเดียว ที่มีระยะห่างแถวที่ 1.5 เมตร หรือแบบแถวคู่ ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่การผลิตขนาดใหญ่

โดยสามารถรองรับการผลิตได้ผลสูงสุดถึง 100 ตันอ้อย ต่อชั่วโมง สมรรถนะและความน่าเชื่อถือที่ยอดเยี่ยมของ Austoft 8000 มาจากการรวมกันของปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ เครื่องยนต์ทรงพลัง ขนาด 353 แรงม้า พร้อมเทคโนโลยี Smart Cruise ซึ่งปรับความเร็วรอบ (rpm) ของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ
การเน้นความสำคัญที่ระบบไฮดรอลิกน้อยลงและลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้สูงสุดถึง 0.7 ลิตร ต่อตันของต้นอ้อย ชุดตัวแยกใบอ้อย ขนาด 45 องศา พร้อมขอบหมุนวนตัวนอก ระบบการทำความสะอาด Antivortex ในชุดแยกขจัดตัวหลัก ความเร็วชุดตัวสับสูง ขนาด 205 รอบ ต่อนาที และขนาดมิติที่ใหญ่ของชุดตัวสับ แผ่นจานมีดตัดใกล้ระดับพื้นดิน และลูกกลิ้งตัวป้อนประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยคุณลักษณะเพิ่มเติมของ Cruise Control

ซึ่งจะควบคุมและจดจำความเร็วบนพื้นดินโดยอัตโนมัติ และ Auto Tracker ในตัวซึ่งจะควบคุมความลึกใบมีดตัดที่ฐานโดยอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจในการตัดที่ระดับใกล้พื้นดินที่แม่นยำและสม่ำเสมอโดย
มีการสูญเสียลำต้นอ้อยน้อยที่สุด ประสิทธิภาพเหล่านี้ช่วยลดความเสียหายของรากหน่ออ่อนโดยเฉลี่ยที่ 27% ลดการถอนรากที่ส่วนปลายของแถวได้ถึง 28% และลดการสูญเสียส่วนลำต้นของอ้อยโดยรวมได้ถึง 63% การเติบโตเชิงพาณิชย์ พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน่าประทับใจ กลุ่ม บริษัท KTIS สร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยทำได้ตามมาตรฐานระหว่างประเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โรงงานน้ำตาลรวม

ผลของ KTIS ที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากระดับ 500 ไปสู่ 15,000 ตัน ต่อวัน
ส่วนโรงงานไทยเอกลักษณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เพิ่มกำลังการผลิต จากระดับ 6,000 ไปสู่ 18,000 ตัน ต่อวัน และโรงงานเกษตรไทยฯ ในจังหวัดกาญจนบุรี เริ่มต้นจากกำลังการผลิต ที่ระดับ 5,000 ตัน ต่อวัน และต่อมาได้ย้ายที่ตั้งไปที่จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มกำลังการผลิตไปสู่ระดับ 12,000 ตัน ต่อวัน และ 55,000 ตัน ต่อวัน ในปัจจุบัน โดยปัจจุบัน KTIS ใช้รถตัดอ้อย จำนวน 120 คัน เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานน้ำตาล และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเป็นรถตัดอ้อย ของ Case IH

คุณประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ให้ความคิดเห็นว่า : “รถตัดอ้อย ของ Case IH เป็นเครื่องที่มีคุณภาพสูง จัดการได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย
นอกจากนี้ ยังเพิ่มการรับประกันด้วยบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมด้วย มีทีมผู้เชี่ยวชาญเครื่องเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะ และอะไหล่ที่พร้อมให้บริการอย่างรวดเร็วเมื่อต้องการ อีกทั้งทีมฝ่ายบริหารของ Case ก็ ‘รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า’ นั่นก็ทำให้เราพึงพอใจมาก” Case IH ได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่ในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนผู้ใช้เครื่องเก็บเกี่ยวและอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ สำหรับชาวไทย
การเปิดศูนย์ดังกล่าวเป็นการให้ความมั่นใจว่า ลูกค้าสามารถเข้าถึง

การกระจายอะไหล่ บริการ และคำแนะนำทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญของเราได้โดยตรง นอกจากจะเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของตลาดภายในประเทศแล้ว โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ Case IH เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านเครื่องจักรเก็บเกี่ยวอ้อยระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

มาตรฐานระดับสูงของ KTIS ก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน กลุ่มบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของและดำเนินงานโรงไฟฟ้า 3 แห่ง โดยแต่ละโรงตั้งอยู่ติดกับโรงงานน้ำตาลแต่ละแห่งของพวกเขา กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกัน 160 เมกะวัตต์ ซึ่งมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
และส่วนหนึ่งของไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ป้อนให้โรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง รวมถึงโรงเยื่อกระดาษที่ทำมาจากชานอ้อย ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง เพราะสามารถลดการตัดต้นไม้ได้ถึงปีละ 32 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์ยังเป็น Food Grade อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมี บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม KTIS เป็นผู้ผลิตเอทานอลด้วยกำลังการผลิต 230,000 ลิตร ต่อวัน และใช้น้ำกากส่าซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลนำมาผลิตก๊าซชีวภาพป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อต้มไอน้ำในโรงงานเอทานอล อีกทั้งยังมีการใช้ประโยชน์จากกากตะกอนหม้อกรองซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยนำมาผสมกับสารจุลินทรีย์ต่างๆ
เพื่อเป็นประโยชน์ในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินอีกด้วย คุณประพันธ์ บอกว่า กระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างกันนี้ส่งผลให้เกิด “ของเสียเป็นศูนย์” สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลดีสำหรับธุรกิจและสภาพแวดล้อม และส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการใช้เทคโนโลยี อย่างเช่น การใช้รถตัดอ้อย ของ Case IH

Case IH เป็นทางเลือกที่โดดเด่นสำหรับมืออาชีพ ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่า 175 ปี กลุ่มผลิตภัณฑ์รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวด และรถทำฟ่อนฟางอันทรงพลังที่หลากหลายของเราได้รับการสนับสนุนด้วยเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงของเราที่อุทิศตัวเพื่อมอบการสนับสนุนและโซลูชั่นผลิตภัณฑ์ที่มีสมรรถนะสูงสุดที่จำเป็นสำหรับความต้องการด้านผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21 ให้กับลูกค้าของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ Case IH โปรดดูทางออนไลน์ได้ที่ www.caseih.com

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CNH Industrial
โปรดเยี่ยมชมทางออนไลน์ ได้ที่ www.cnhindustrial.com
ผู้ติดต่อสำหรับข่าวสาร :
Francesca Mazza
ฝ่ายข่าวประชาสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทรศัพท์มือถือ : 0044 (0)7847 568487
อีเมล:[email protected]