เทคนิคการให้น้ำลำใย

แฟนเทคโนโลยีชาวบ้านจากจังหวัดเชียงใหม่เขียนจดหมายขอให้ลงเรื่องการให้น้ำต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะลำไย ช่วงหน้าแล้งในที่ดอน เลยขอให้ผมนำเรื่องดังกล่าวมาลง เผอิญผมมีโอกาสไปเชียงใหม่ แล้วไปหา ผศ.พาวิน มะโนชัย ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องลำไย ซึ่งกรุณามอบข้อมูลของ อาจารย์สมชาย วงศ์ประเสริฐ นำมาให้ท่านได้ทราบกัน

หัวสปริงเกลอร์

วิธีการให้น้ำแก่สวนลําไยที่ชาวสวนทํากันแบ่งออกได้  3 วิธี คือ วิธีให้น้ำทางผิวดิน วิธีโดยสปริงเกลอร์ และวิธีโดยน้ำหยด โดยการให้น้ำทั้ง 3 วิธี มีเป้าหมาย คือ ต้องการให้น้ำซึมลงเปียกดินในทรงพุ่ม ถึงความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร ขึ้นไป เพราะรากลําไยส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในดินที่ระดับความลึกนี้

การให้น้ำแก่ต้นเล็ก ที่มีอายุ 1-2 ปี

การให้น้ำแก่ต้นลําไยปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก เกษตรกรจะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และทุนทรัพย์ที่จะลงทุน ตั้งแต่การหาบน้ำรด ใช้ปั๊มน้ำท่อยางหรือวางระบบสปริงเกลอร์เล็กหรือน้ำหยด ถ้าจะวางระบบสปริงเกลอร์หรือน้ำหยดก็ควรพิจารณาวางระบบเผื่ออนาคตที่ต้นโตขึ้นด้วย โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นที่ปลูกในปีแรก ประมาณ 20 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 เมตร) และปีที่ 2 ประมาณ 60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ ดินเปียกกว้าง 1.0 เมตร)

การให้น้ำแก่ต้นลําไยที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป

การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์

การให้น้ำทางผิวดิน กรณีที่สวนลําไยอยู่ในบริเวณที่ลุ่ม และมีลําเหมืองไหลผ่านสวน การให้น้ำโดยทางผิวดินเป็นการให้น้ำที่ให้ครั้งหนึ่งๆ ปริมาณมาก เพื่อให้ดินที่ลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ทําให้ต้นลําไยค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ปริมาณน้ำที่ต้องให้ ครั้งหนึ่งๆ จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม และปริมาณน้ำที่ต้นลําไยใช้ประโยชน์ได้ของดินลึก 40 เซนติเมตร นํ้าที่ใช้ประโยชน์ได้ของดินแตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำเป็นความลึกของน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ดินเนื้อต่างๆ อุ้มไว้ให้พืชใช้ในความลึก 40 เซนติเมตร ต่อการให้นํ้า 1 ครั้ง

การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุด คือการไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวนลําไย ให้ได้น้ำลึกเท่ากับความสูงที่ต้องการของดินเนื้อต่างๆ การที่จะทําเช่นนี้ได้พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกัน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทําคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลําไยแต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขัง ในคันให้ได้สูงตามต้องการของดินเนื้อต่างๆ ถ้าน้ำในเหมืองอยู่ต่ำกว่าสวน เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ กรณีเช่นนี้ยิ่งมีความจําเป็นต้องทําคันดินรอบทรงพุ่มเพราะจะทําให้ประหยัดน้ำมากกว่าสูบน้ำใส่ทั้งสวน

การเดินท่อส่งน้ำสู่ระบบสปริงเกลอร์ หรือระบบน้ำหยด

เมื่อให้น้ำทางผิวดิน ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มน้ำไว้ให้พืชค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ความบ่อยถี่ของการให้น้ำขึ้นกับฤดูกาล และเนื้อดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มากน้อยต่างกัน ในฤดูร้อนที่กลางวันยาว และอากาศร้อน พืชย่อมดูดน้ำจากดิน และคายน้ำมากกว่าในฤดูหนาวที่กลางวันสั้น และอากาศเย็น ดินที่อุ้มน้ำไว้ได้น้อย เช่น ดินร่วนปนทราย จึงต้องให้น้ำถี่กว่าดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มาก เช่น ดินเหนียว สวนลําไย ในจังหวัดเชียงใหม่-ลําพูน ประมาณว่าควรมีรอบการให้น้ำ

การให้น้ำโดยใช้ท่อและสายยาง สําหรับสวนลําไยในที่ดอนมักต้องใช้น้ำบาดาล และสูบน้ำโดยใช้ท่อหรือสายยาง ถ้าดินเป็นดินร่วนหรือดินเหนียวที่ซึมน้ำได้ช้า ก็อาจทําเช่นเดียวกับที่ลุ่ม คือทําคันดินรอบทรงพุ่มแล้วเอาน้ำขังในคันดินสูง แต่ถ้าเป็นดินที่น้ำซึมได้เร็ว (อาจจะเป็นดินทรายร่วนปนทรายหรือดินเหนียวสีแดง) การให้น้ำทางสายยางลงในคันให้ได้น้ำสูง 4-6 เซนติเมตร จะต้องใช้น้ำเกินความต้องการมากและจะสูญเสียโดยการซึมลึก ในกรณีเช่นนี้เกษตรกรควรจับเวลา และตวงวัดว่าท่อหรือสายยางนั้นให้น้ำได้ นาทีละกี่ลิตร จากนั้นจึงคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำต้นละกี่นาที จึงจะได้น้ำเป็นจํานวนลิตร

สูบน้ำท่อพญานาคสำหรับการให้น้ำแบบผิวดิน

การประหยัดน้ำเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับสวนเช่นนี้ เพราะต้นทุนค่าสูบน้ำจะแพงกว่าสวนในที่ลุ่ม และน้ำมีจํากัด เกษตรกรควรปรับดินในทรงพุ่มให้ราบเรียบเพื่อให้น้ำที่ให้กระจายซึมลงดินในทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ รอบการให้น้ำในกรณีให้โดยใช้ท่อและสายยางเหมือนกับการให้น้ำโดยใส่น้ำเข้าขังในสวน หรือในทรงพุ่ม สําหรับความถี่ห่างนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล และเนื้อดิน

การให้น้ำโดยสปริงเกลอร์และสปริงเกลอร์เล็ก สปริงเกลอร์ที่นําเข้าจากต่างประเทศมักมีราคาแพง  แต่สปริงเกลอร์ และสปริงเกลอร์เล็ก (มินิสปริงเกลอร์) ที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาพอซื้อหามาใช้ได้ สปริงเกลอร์ที่ผลิตในไทย เช่น เรนดรอป และดําน้ำหยด ให้น้ำได้ชั่วโมงละ 400-1,000 ลิตร เป็นพื้นที่วงกลม กว้าง 4-6 เมตร เมื่อใช้ความดันของน้ำเหมาะสม คือความดันที่ทําให้น้ำกระจายได้กว้างที่สุดโดยที่น้ำไม่แตกเป็นละออง ความดันน้ำ 8-12 เมตร ปัจจุบัน มีหัวสปริงเกลอร์เล็ก และหัวพ่นนํา (หัวเจ็ท) ไทยทําที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมอีกหลายยีห้อ เช่น อะกรู สามารถจ่ายน้ำอัตราต่างๆ กัน ตั้งแต่ 50-200 ลิตร ต่อชั่วโมง ในพื้นที่กว้าง 1-3 เมตร เกษตรกรสามารถเลือกซื้อหัวสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์เล็ก และสปริงเกลอร์หัวพ่นน้ำ (หัวเจ็ท, หัวผีเสือ) มาใช้หรือให้ผู้ขายออกแบบ และติดตั้งให้เหมาะสมกับสวนได้

เปรียบเทียบลำไย 2 แปลง ที่ติดลูกแล้วกับกำลังแทงช่อดอก

เกษตรกรต้องรู้ว่าโดยเฉลี่ยหัวสปริงเกลอร์หรือหัวเจ็ทแต่ละหัวให้น้ำได้นาทีละกี่ลิตร แล้วคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำแต่ละครั้ง นอกจากนี้ การเลือกใช้หัวสปริงเกลอร์ยังต้องคํานึงถึงอัตราการซึมน้ำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกหัวสปริงเกลอร์ที่ให้น้ำด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าน้ำซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่มและสูญเสียนํ้า เนื่องจากการให้นํ้าโดยสปริงเกลอร์และหัวพ่นนํ้า สามารถทําได้สะดวกเกษตรกรสามารถให้นํ้า เป็นราย 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน ได้โดยง่าย

ดังนั้น แทนที่จะให้นํ้าแต่ละครั้งมากที่สุดที่ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มไว้ได้ โดยให้เป็นระยะ 4 – 10 วัน ต่อครั้ง แล้วแต่ฤดูกาลและชนิดดิน เกษตรกรสามารถเลือกให้นํ้าทุก 3 – 4 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ 3 วันครั้ง ถ้าเป็นดินเหนียวให้ 4 วันครั้ง เป็นต้น และให้แต่ละครั้งมากน้อยตามความต้องการนํ้ารายวัน และคูณด้วยจํานวนวัน

ติดลูก

การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยด การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดมีเป้าหมายเพื่อให้ดินในทรงพุ่มเปียกชื้น ประมาณ 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกับสองวิธีที่กล่าวแล้ว การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดสามารถควบคุมให้นํ้าเปียกเฉพาะที่ที่ต้องการได้ ดีกว่าและมักให้นํ้าหยดตลอดเวลา แต่เกษตรกรก็สามารถดัดแปลงวิธีการให้เป็นการหยดเป็นระยะทุกวัน หรือ 2 วันก็ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราการหยดของนํ้า หัวนํ้าหยดมีหลายแบบ และมีอัตราการหยดตั้งแต่ 4-10 ลิตร ต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแรงดันนํ้าในท่อ ชนิดของหัวนํ้าหยด และความต้องการนํ้ารายวันของทรงพุ่มลําไย

การตรวจสอบการให้น้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าการให้น้ำได้ผลดี คือ ดินเปียกชื้นลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จึงควรมีการตรวจสอบว่า ดินเปียกชื้นตามต้องการหรือไม่ โดยการเจาะหลุมดู สําหรับการให้นํ้าแบบผิวดิน และสปริงเกลอร์ การเจาะหลุมดูความชื้นดินต้องทําเมื่อหลังจากให้นํ้าแล้ว 24 ชั่วโมง สําหรับดินร่วน และ 48 ชั่วโมง สําหรับดินเหนียว สําหรับการให้นํ้าแบบนํ้าหยดสามารถเจาะดูได้ตลอดเวลาหลังให้นํ้า 24–48 ชั่วโมง ถ้าพบว่าดินเปียกไม่ถึง 40 เซนติเมตร ก็ต้องให้นํ้าเพิ่ม แต่ถ้าพบว่ามีนํ้าขังแฉะในดินล่างก็ต้องลดการให้นํ้า

แทงช่อดอก

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก รศ. สมชาย วงศ์ประเสริฐ หวังว่าข้อมูลที่นำมาลงคงจะทำให้แฟนเทคโนโลยีชาวบ้านได้เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์

สนใจรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 0-5349-9218 ทุกวันเวลาราชการ