โลกเปลี่ยนเกษตรปรับ รับโลกร้อน-คนล้น-อาหารไม่พอ หวังเทคฯ”เเบตเตอรี่-โซล่าเซลล์”บูม

ในเสวนาวิชาการไทยศึกษา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ “พลวัตสังคมเกษตรในยุคเสรีนิยมใหม่”  ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง “การปรับตัวของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของประเทศไทยในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง” ว่า ปัจจุบันมีการเปลี่ยนเเปลงทั้งด้านกายภาพเเละด้านชีวภาพอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดเเละความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ โดยเเบ่งเป็นการเปลี่ยนเเปลงใหญ่ๆ ดังนี้  1) การเปลี่ยนเเปลงอากาศทางสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของก๊าซเรือนกระจก เเละที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อย่างการตัดไม้ทำลายป่า โดยสิ่งที่เรากำลังเผชิญกับ ไฟป่า ความเเห้งเเล้ง รวมถึงพายุที่มีบ่อยครั้งขึ้น จึงทำให้เกษตรต้องปรับตัวกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น

ต่อมาคือ 2) การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก  คนอายุยืนขึ้นจากความก้าวหน้าทางการเเพทย์ โดยคาดว่าภายในปี 2050 ประชากรโลกจะทะลุ 9,700 ล้านคน ส่งผลให้ความต้องการทางอาหารก็จะสูงขึ้นเเละปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยทาง FAO ประเมินว่าในปี 2050 การผลิตอาหารจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นจากปัจจุบันอีกราว 60-70 % เพื่อเลี้ยงประชากรทั้งหมดในโลก เเละการที่ประชากรเพิ่มขึ้นอาจไม่ขาดเเคลนอาหารด้านคาร์โบไฮเดรต เเต่ยังขาดอาหารด้านโปรตีน จึงจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหารเเละหาเเหล่งอาหารเเห่งใหม่เพื่อรองรับกรณีดังกล่าว

3) เทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) นอกจากทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงในวงการพลังงานเเล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างมาก โดยรศ.ดร.วิบูลย์  ชี้ว่าเทคโนโลยีด้าน “เเบตเตอรี่ยุคใหม่” ซึ่งใช้โซเดียม อลูมิเนียมเเละสังกะสีเป็นส่วนประกอบสำคัญ จะทำให้สามารถสร้างโครงข่าย ไฟฟ้าขนาดเล็กได้ ซึ่งจะเป็นเเหล่งสะสมพลังงานสะอาดที่ใช้ได้ยาวนาน  อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะมีการเปลี่ยนเเปลงสำคัญ คือ “เซลล์เเสงอาทิตย์เเบบใหม่” ซึ่งจะถูกพัฒนาขึ้นมาเเทนที่เซลล์เเสงอาทิตย์ซิลิคอนเเบบเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน

โดยสองพลังงานเกิดใหม่นี้จะทำให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยจะอยู่ในรูปแบบที่ใช้ง่าย ได้ทุสถานที่เเละที่สำคัญคือราคาถูก  เพื่อทดเเทนความจำเป็นในการใช้พลังงานฟอสซิลเเละพลังงานชีวภาพ ทำให้พืชที่นำไปทำเป็นพลังงานกลับมาเป็นอาหาร เเละอาหารจะถูกลงด้วย

ต่อมาคือ 4) การเปลี่ยนเเปลงตามนโยบายพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goal (SDG) ซึ่งกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ซึ่งให้ความสำคัญกับเป้าหมายการยุติความหิวโหย  ลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการเเละสนับสนุนการเกษตรยั่งยืน โดยไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิก จึงจำเป็นต้องกำหนดเเนวทางของภาครัฐให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวด้วย

5)การเปลี่ยนเเปลงทางการค้าระหว่างประเทศ โดยทิศทางเเละเเนวโน้มความต้องการของสินค้าก็จะเปลี่ยนเเปลงไปตามเศรษฐกิจของชาติคู่ค้า รวมไปถึงนโยบายทางการเมืองเเละสภาวะเศรษฐกิจโลก เกษตรกรในฐานะผู้ผลิตจึงต้องรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนเปลงที่เกิดขึ้นด้วย

เเละ 6)ความเปลี่ยนเเปลงด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเเละสื่อสังคมออนไลน์ เเม้ปัจจุบันเกษตรกรยังเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น เเต่การขยายตัวของสมาร์ทโฟนมีเเนวโน้มเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นความสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเเละสื่อออนไลน์ของเกษตรกรจึงอาจสร้างโอกาสเเละวิกฤตให้เกิดขึ้นพร้อมๆกันได้

โดย รศ.ดร.วิบูลย์ ได้เสนอเเนวทาง การปรับตัวของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในประเทศไทยว่า ควรเริ่มต้นจากภาคการศึกษา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเปลี่ยน “หลักสูตรการเกษตร” จากเเบบดั้งเดิมซึ่งมักจะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เฉพาะทางตามสาขาวิชา ให้เป็นหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ หลากหลายสาขาเข้าด้วยกัน ให้ผู้ศึกษารู้เท่าทันการเปลี่ยนเเปลงของสภาพอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร รวมไปถึง value-chain ของสินค้าเกษตร เป็นต้น

จากนั้นควรจะมีการศึกษาวิจัยเเบบคู่ขนานทั้งการพัฒนาการเกษตรขนาดใหญ่เเละการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งใช้ระบบอัตโนมัติหรือระบบอัจฉริยะเพื่อรองรับการขาดเเคลนเเรงงานเเละการพัฒนาการเกษตรเเม่นยำเเละการเกษตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนเเปลงของอากาศ

ขณะเดียวกัน ระบุถึงการปรับตัวของภาครัฐว่าควรลดความซ้ำซ้อนเเละลดขั้นตอนการปฏิบัติงานลงเพื่อให้สามารถเเบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากร พร้อมการกำหนดนโยบายต่างๆ จำเป็นต้องบูรณาการอย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน

ส่วนการปรับตัวของเกษตร ต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเเปลง  ติดตามข้อมูลข่าวสาร  กระเเสความนิยมเเละเลือกผลิตอาหารหรือระบบการผลิตที่เน้นสุขภาพของผู้บริโภค เลิกการปลูกพืชอย่างเดียวหรือบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศ เป็นต้น

ด้านการปรับตัวของผู้โภค มีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนเเปลงเช่นเดียวกัน โดยอาจมีการปรับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเกษตรเเละอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเก็บเเละถนอมอาหาร เพื่อลดปริมาณเหลือทิ้ง เเละการจัดการของเสียจากการบริโภคอาหารที่เหมาะสม เป็นต้น