ปัญญา ยังประภากร ทายาทฟาร์มจระเข้ กับธุรกิจ “จระเข้ทองการเกษตร”

จระเข้ กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับผู้ผลิต และส่งออก ทั้งเนื้อและหนัง เรียกได้ว่าทั้งตัวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมด นอกจากนี้ ยังสามารถเพาะเลี้ยงทำการฝึกจนเชื่องสามารถนำมาจัดแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ ซึ่งฟาร์มลักษณะนี้อยู่หลายแห่งทั่วโลก

ร้อยเอกนายแพทย์ปัญญา ยังประภากร

หากจะกล่าวถึงฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ ในบ้านเรา ปัจจุบัน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งฟาร์มขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก  ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า เนื่องจากทุกส่วนของจระเข้สามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับอนุญาติให้ทำการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า

ทุกชิ้นส่วนของจระเข้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เลี้ยงโดยเฉพาะหนังที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตผลิต อาทิเช่น รองเท้า เข็มขัด กระเป๋า เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั่วโลก ดังนั้น ผู้ที่เพาะเลี้ยงจระเข้จำหน่ายจึงค่อนข้างจะมีรายได้มากกว่าอาชีพเพาะเลี้ยวสัตว์น้ำอื่นๆ ดังเช่น ร้อยเอกนายแพทย์ปัญญา ยังประภากร ทายาทฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ

บ่อเพาะเลี้ยงขนาดเล็ก

ด้วยประสบการณ์ด้านจระเข้ที่สั่งสมมานาน ประกอบกับความสนใจในการศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์ ในปี 2538 รอ.นพ. ปัญญา จึงก่อตั้งบริษัท จระเข้ทองการเกษตร (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นโดยใช้เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้เพื่ออุตสาหกรรมหนัง ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นศูนย์เพาะขยายพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์ และศูนย์เรียนรู้ของเยาวชนตลอดจนสถาบันการศึกษาที่สนใจ เป็นธุรกิจของตัวเอง

รอ.นพ. ปัญญา เล่าให้ฟังว่า เดิมตนเองเป็นหมอรักษาคน ใช้เวลาอยู่กับอาชีพหมอมาระยะหนึ่งก็ลาออกมาช่วยธุรกิจที่บ้านทำฟาร์มเพาะเลี้ยงจระเข้ โดยใช้เวลาศึกษาและเรียนรู้งานภายในฟาร์มประมาณ 10 ปี คุณพ่อก็ได้แบ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จระเข้ให้มาเพาะเลี้ยงทำเป็นธุรกิจของตัวเองจำนวน 500 ตัว

บ่อเลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์

“ความตั้งใจตอนแรก จะออกมาทำธุรกิจเพาะเลี้ยงปลาสวยงามกับเพื่อนที่จังหวัดนครปฐม แต่พอคุณพ่อแบ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จระเข้ให้ จึงนำมาเลี้ยงในพื้นที่ที่ตอนแรกตั้งในจะทำเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาสวยงามแทน” 

บุกเบิกทุ่งนาแห้งแล้ง ให้เป็นฟาร์มที่ร่มรื่น

รอ.นพ. ปัญญา เริ่มต้นจากที่ดินที่เป็นผืนนา 120 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ดินเป็นดินเหนียวแข็ง ไม่มีธาตุอาหาร เนื่องจากการทำนาซ้ำๆ บนพื้นที่ดินเดิม อีกทั้งยังไม่มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาให้กับสัตว์

ผลิตภัณฑ์จากหนังจระเข้

“การจะสร้างฟาร์มจระเข้บนที่ลุ่มสามารถทำได้ในทันที แต่ผมจะคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วมเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุทำให้จระเข้ในฟาร์มหลุดออกไปรบกวนชาวบ้าน โดยทำการถมดิน ปรับสภาพพื้นที่ให้สูงเท่ากับระดับน้ำที่เคยท่วมเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ส่งผลทำให้พื้นที่ฟาร์มสูงกว่าที่ดินข้างเคียงประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันอุทกภัย

หลังจากทำการปรับสภาพพื้นที่แล้ว รอ.นพ. ปัญญา จึงเริ่มทำการก่อสร้างฟาร์ม ซึ่งประกอบด้วย บ่อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ บ่ออนุบาล บ่อเลี้ยงรอจำหน่าย ตามแบบแผนที่ว่างไว้แล้ว บริเวณโดยรอบฟาร์มที่เวิ้งว้างไม่มีต้นไม้ใหญ่ก็พลิกฟื้น ทำการปลูกต้นไม้สร้างความร่มรื่น สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของสัตว์ โดยการลอกเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด อีกทั้งความร่มรื่นของต้นไม้ที่ปลูกยังช่วยลดอุณหภูมิ สร้างอากาศที่บริสุทธิ์ได้อีกด้วย

ปลูกต้นไม้เลียนแบบธรรมชาติ ภายในฟาร์ม

จากผืนนาที่น้ำท่วมถึง ดินเหนียว และปราศจากแร่ธาตุ ขาดความร่มรื่นจากต้นไม้ ภายในระยะเวลา 3 ปี บริษัท จระเข้ทองการเกษตร (ประเทศไทย) จำกัด โดยการจัดการของ รอ.นพ.ปัญญา ก็สามารถสร้างความร่มรื่นให้เกิดขึ้นพร้อมกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ 

ส่งออกจระเข้มีชีวิต ด้วยเครื่องบินเช่าเหมาลำ

บริษัท จระเข้ทองการเกษตร (ประเทศทไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นได้ไม่นาน ก็มีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามาติดต่อซื้อจระเข้มีชีวิตจำนวนหลายพันตัวกับประเทศไทย โดยจ้างในลักษณะรวมค่าสินค้าและค่าขนส่ง โดยมีเงื่อนไขว่าต้องการให้ส่งจระเข้ทั้งหมดทางเครื่องบิน เนื่องจากต้องการทำข่าวโปรโมตธุรกิจสวนสัตว์ที่กำลังจะเปิดที่ประเทศจีน ซึ่งไม่ว่าจะยื่นข้อเสนอนี้กับบริษัทใดก็ได้รับคำปฏิเสธมาทุกครั้ง รอ.นพ. ปัญญา เห็นว่าเงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขที่สามารถทำได้จึงรับไว้และบินไปดูงานที่ประเทศเพื่อออกแบบบ่อและพื้นที่จัดแสดง พร้อมให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูจระเข้ให้แก่พนักงานชาวจีน

จระเข้ที่พร้อมจำหน่าย

“การส่งจระเข้มีชีวิตทางเครื่องบิน นับเป็นโจทย์ที่ยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ ดังนั้น จึงต้องหาทางทำให้จระเข้มีชีวิตจำนวนพันกว่าตัวสามารถเดินทางไปยังประเทศจีนได้ภายในเที่ยวบินเดียว โดยการเลือกลังไม้ที่ใช้บรรจุจระเข้ที่มีน้ำหนักเบาแต่ต้องแข็งแรงเพียงพอ ที่จระเข้จะไม่สามารถพังออกมาได้ เนื่องจากข้อกำหนดของเครื่องบินบรรทุกสินค้าที่มีการกำหนดน้ำหนักรวมของสินค้าต่อ 1 เที่ยวบิน และกำหนดพื้นที่การวางสินค้าต่อ 1 เที่ยวบิน ที่ค่อนข้างจะจำกัด”

หลังจากประสบความสำเร็จ แก้ไขปัญหาที่กล่าวมาได้แล้ว จระเข้กลุ่มแรกของโลกที่เดินทางข้ามประเทศโดยเครื่องบินก็ถึงประเทศจีนโดยสวัสดิภาพ

จากการประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการส่งจระเข้มีชีวิตทางเครื่องบินเช่าเหมาลำในครั้งแรก (2540) ในปี 2542 นักธุรกิจชาวจีนท่านเดิม จึงได้ทำการสั่งซื้อจระเข้มีชีวิตจาก รอ.นพ. ปัญญา ภายใต้เงื่อนไขเดิมอีกครั้ง 

คิดค้นนวัตกรรม

ฟักลูกจระเข้ ด้วยกล่องโฟม

ลักษณะบ่อเลี้ยงจระเข้

ด้วยความเป็นผู้ที่มีวิริยะอุตสาหะอย่างยิ่ง ประกอบกับการใช้หลักวิชาการในการทำงาน ทำให้ รอ.นพ. ปัญญา ยังประภากร เป็นบุคคลแรกของโลกที่สามารถขนย้ายจระเข้มีชีวิต จำนวน 3,000 ตัว เดินทางโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำได้สำเร็จแล้ว รอ.นพ. ปัญญา ยังเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มในความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการทำงานสร้างผลงานโดดเด่นด้านการเพาะเลี้ยงจระเข้ และสัตว์อื่นๆ จนได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษให้กับสถาบันการศึกษาชื่อดังตลอดจนหน่ายงานของรัฐมาโดยตลอด

หนึ่งในหลายๆ ผลงานที่ รอ.นพ. ปัญญา ใช้เวลาศึกษาและทดลองจนประสบความสำเร็จคือ การคิดค้นนวัตกรรมการฟังลูกจระเข้ด้วยกล่องโฟม เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ เพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมากมารองรับความต้องการของลูกค้า ฟาร์มจระเข้จึงต้องมีความสามารถในการนำไข่เข้าไปฟักให้ได้จำนวนมากที่สุด การใช้ตู้ฟักไข่จึงเป็นทางเลือกที่หลายๆ ฟาร์มเลือกใช้ เพราะนอกจากจะทำให้ได้อัตราการฟักที่สำเร็จสูงแล้ว ยังช่วยให้อัตราการรอดของลูกจระเข้สูงเช่นกัน แต่หากต้องการความสามารถในการนำไข่เข้าฟักให้ได้ปริมาณมาก ฟาร์มจระเข้อาจจะต้องใช้ตู้ฟักหลายใบ ซึ่งเป็นการเพิ่มทั้งต้นทุนด้านเครื่องจักรกลและพลังงาน

จากการได้ศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่ธรรมชาติของไข่ต้องการเพื่อการฟัก ได้ข้อสรุปว่า ปัจจัยที่ไข่ต้องการเพื่อการฟักนั้น ประกอบด้วย ความชื้น ความร้อน ดั้งนั้น รอ.นพ. ปัญญา จึงได้ทดลองทำการฟักไข่โดยใช้กล่องโฟมเพื่อเก็บกักความชื้นและความร้อน โดยการนำขุยมะพร้าวชุบน้ำรองพื้นเพื่อให้ความชุ่มชื้น สูงประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นนำไข่ที่มีเชื้อเรียงใส่ถาดไข่ว่างลงไปในกล่องและปิดฝา ใช้ระยะเวลาประมาณ 70 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว

ส่งไปจีน โดยเครื่องบินเช่าเหมาลำ

“การฟักไข่ด้วยวิธีนี้ สามารถนำไข่เข้าฟักได้จำนวนมาก รวมถึงได้อัตราการฟักสำเร็จและอัตราการรอดของลูกจระเข้สูงมากว่าการฟักใน 1 ฤดูกาล นอกจากนี้ การใช้กล่องโฟมในการฟักไข่ยังเป็นการฟักไข่ที่ทำได้งาย มีต้นทุนต่ำ ผู้ฟักไม่จำเป็นต้องมีความรู้ระดับสูง หรือมีประสบการณ์สูงก็สามารถทำได้ อีกทั้งมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงจระเข้รายย่อยที่ไม่มีประสบกาณ์ในการฟักไข่จระเข้ หรือไม่มีเงินทุนในการซื้อตู้ฟักไข่ที่มีราคาแพงได้”

เผยแพร่ครั้งแรก วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ.2564