พัทลุง เปิดโฉมใหม่วงการปศุสัตว์ไทย ควายน้ำ ผสม ควายนม ต่อยอดให้เกิดมูลค่ามากขึ้น

จากกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยกรรมาธิการเศรษฐกิจ พาณิชย์ อุตสาหกรรม แรงงาน และที่ปรึกษาโครงการโคเนื้อศรีวิชัยจังหวัดพัทลุง มีความเห็นว่า ควายหรือควายน้ำจังหวัดพัทลุงมีการขยายผลต่อยอด จึงได้มีโครงการส่งเสริมการผสมพันธุ์ ระหว่างควายน้ำพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง กับควายนม ประเทศปากีสถาน เพราะมีสภาพที่คล้ายคลึงกัน จึงเหมาะสมกว่าควายนมของประเทศอินเดียและประเทศอิตาลี จากการไปศึกษาดูงานมาจากประเทศดังกล่าว

โครงการนี้ จะเป็นการขยายผลต่อยอดอย่างขนานใหญ่ในวงการปศุสัตว์ไทย จึงใช้คอนเน็กชั่นส่วนตัว ประสานงานและอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศปากีสถาน เพื่อนำควายนมมาผสมพันธุ์กับควายน้ำพัทลุง แต่หากไม่ได้ตัวควายนมก็ให้ได้น้ำเชื้อมาผสมพันธุ์ จะได้ลูกผสม ประเทศปากีสถานไม่ส่งเสริมการนำควายนมออกนอก ซึ่งเป็นการต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ดีกว่าการรอขาย หรือเชือดชำแหละขายเนื้อ เป็นต้น สำหรับเนื้อควาย กับเนื้อวัวนั้นราคาค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน

ประเด็นสำคัญการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นอย่างมาก โดยควายนมจะมีปริมาณน้ำนมสูงกว่านมวัวกว่าเท่าตัว สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายไม่ซ้ำกับใคร การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาควายน้ำ ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างมีศักยภาพ อีกยังเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงด้วย

นอกจากนี้ น้ำนมควาย แปรรูปเป็น ชีส เนย โยเกิร์ต เฉพาะเนย สามารถนำไปปรุงอาหาร ทอดไข่ ทอดเนื้อ แกงแทนกะทิ นอกนั้นยังให้เนื้อปริมาณที่มาก เลี้ยงประมาณ 2-3 ปี ประมาณ 400-500 กิโลกรัม ขณะที่ควายพื้นบ้าน 200-300 กิโลกรัม และขนาดใหญ่จะเป็น 700-800-900 กิโลกรัม/ตัว

สำหรับประเทศปากีสถาน เลี้ยงควายเป็นอาชีพ มีประมาณ 50-60 ล้านตัว และอินเดียก็มีมากเช่นกัน โดยจะเลี้ยงกันทุกครัวเรือน ซึ่งนอกจากการรีดน้ำนมดื่มเป็นหลัก แล้วยังแปรรูป เป็นชีส โยเกิร์ต เนย เฉพาะเนย จะปรุงอาหาร ทอดไข่ ทอดเนื้อ แกง โดยให้คุณภาพสูงสุขภาพดี และปริมาณความต้องการของตลาดมาก

โดยถัดไปจะเกิดการสร้างโรงงานแปรรูปน้ำนมควายนม เป็นผลิตภัณฑ์ โดยสร้างแบรนด์ของท้องถิ่น ชุมชนเอง ซึ่งดีกว่าการเลี้ยงปัจจุบัน ที่ชำแหละขายเป็นเนื้อและขายเป็นตัว

สำหรับการเลี้ยงควายจังหวัดพัทลุง จากประสบการณ์การเลี้ยงโคนมที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้น ในการหันมาพัฒนาเลี้ยงควายนมจะไม่เป็นเรื่องที่ลำบาก และจะประสบความสำเร็จ ซึ่งดีกว่าเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งดังเดิม โดยจะเป็นแบบเดิมอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีการต่อยอด เมื่อประสบความสำเร็จก็จะส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดพัทลุงด้วย

อย่างไรก็ตาม ควายน้ำ จังหวัดพัทลุง ที่มีปริมาณอยู่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และจะต้องอนุรักษ์ไว้เป็นฐาน โดยเลี้ยงแบบเป็นธรรมชาติ พัฒนารูปแบบไม่มีสารเคมี สารปนเปื้อน สารตกค้าง โดยผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างและกำหนดมูลค่าราคาได้ โดยควายนมจะให้ปริมาณน้ำนมประมาณ 5-6 กิโลกรัม/วัน/ตัว ถือว่าเป็นปริมาณที่มาก

สำหรับตลาดศูนย์แหล่งจำหน่าย คือ จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต ตรัง นำร่อง ทั้งนี้ แต่เดิมเคยมีควายเล่นน้ำทะเลที่จังหวัดภูเก็ต แต่ได้สูญหายไป ที่จริงหากมีการอนุรักษ์ไว้ที่หายากของประเทศไทย ควายเล่นน้ำทะเล สนับสนุนการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก แต่โดยวันนี้เหลือควายที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จึงอยากให้อนุรักษ์ไว้ และที่สำคัญที่สุดคือพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติม

คุณฤชัย วงศ์สุวัฒน์ ที่ปรึกษา สหกรณ์โคเนื้อพัทลุง จำกัด กล่าวว่า สำหรับควายน้ำพัทลุง ถือว่าเป็นรายใหญ่ของภาคใต้ หากได้รับการส่งเสริมจะเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญมาก และตลาดยังมีความต้องการอยู่ โดยเฉพาะราคาควาย ก็ไม่แตกต่างโคเนื้อ วัวพื้นบ้าน ราคาแล้วแต่ขนาด ตั้งแต่ 20,000-30,000 บาท และ 80,000 บาท/ตัว

“บางแห่งบางพื้นที่ นำไปรับประทานเป็นอาหาร โดยไม่ใช้แรงงานควายต่อไปแล้ว เมื่อมีโครงการนโยบายหาพ่อพันธุ์ควายนม มาดำเนินการผสมพันธุ์ โดยการผลิตนมควายเพื่อแปรรูปและจำหน่าย สามารถขยายส่งเสริมเป็นอาชีพและสร้างรายได้มากขึ้น”

ปัจจุบันพื้นที่ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บริเวณควนขี้เสียน หมู่ที่ 4 ตำบลทะเลน้อย และบ้านหัวป่าเขียว หมู่ที่ 7 ตำบลทะเลน้อย ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีควายอาศัยอยู่มากที่สุด เป็นพื้นที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นอาหารที่ดีของฝูงควาย โดยทุกปีเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำท่วมสูงและท่วมนาน ได้ส่งผลให้ควายล้มตายจำนวนมากทุกปี จังหวัดได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากควายจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญของพัทลุง และยังมีพฤติกรรมที่ปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ได้ดี สามารถดำน้ำกินหญ้าได้ ซึ่งรู้จักกันในนามของควายน้ำ ขยายผลเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว ที่สำคัญของจังหวัด

ดังนั้น จังหวัดพัทลุง ได้แก้ปัญหาด้วยการแจกจ่ายอาหารและยา การหาสถานที่ให้ควายหยุดพัก เมื่อน้ำท่วมสูง รวมทั้งการชดเชยค่าเสียหายกรณีควายเสียชีวิต แต่สามารถทำได้เพียงรายละไม่เกิน 2 ตัว เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวในการหาทางช่วยเหลือ และยังมีประสานกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย และองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมในการสร้างคอกควายให้เพียงพอ ซึ่งมีควายมากกว่า 3,000 ตัว ได้อยู่อาศัยหากเกิดกรณีน้ำท่วมสูงในฤดูน้ำหลาก เพื่อลดความเสียหาย