เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ “ตบเท้า” เข้ากรุงเทพพบ รมว.กลาโหม ถกปัญหาราคายางตกต่ำ

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ พร้อมด้วยนายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน เลขานุการเครือข่ายฯและนายวิรัตน์ อันตรัตน์ กรรมการเครือข่ายฯและตัวแทนจาก จ.ปัตตานี และจ.สุราษฎร์ธานี รวมจำนวน 5 คน เดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อเข้าพบกับ พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือมติครม. แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องใช้วิธีแทรกแซงราคายางเหมือนที่ผ่านมา
นายประทบ กล่าวว่า การเดินทางขึ้นกรุงเทพของเครือข่ายสถาบันฯ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมเหตุผลแนวทางดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้อำนาจตามมาตรา 44 หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นมาตรการทั้ง 5 ข้อ ตามที่เครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ ประกอบด้วย

1. ให้ทุกหน่วยงานกำหนดสเปคการสร้างและซ่อมถนนลาดยางทุกเส้นทาง ให้ผสมยางพายางร้อยละห้ากับยางมะตอยคือ เป็นผิวถนนแบบพาราแอสฟัลต์คอนกรีต แทนที่จะเป็นผิวถนนแบบแอสฟัลต์คอนกรีต ที่มีมาตรฐานและราคากำหนดไว้แล้ว โดยกำหนดให้หน่อยงานที่สร้างหรือซ่อมแซมถนนลาดยางทุกหน่อยปรับลดระยะทางหรือปริมาณงานลงให้สอดคล้องกับราคาที่เพิ่มขึ้นตามราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณภายในวงเงินงบประมาณเดิม ทั้งนี้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไป

2. ให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ร่วมกับการยางแห่งประเทศไทยร่วมกันวิจัยเพื่อให้สามารถใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมยางมะตอยมากกว่าร้อยละห้า โดยใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนายาง การยางแห่งประเทศไทย

3. ให้การยางแห่งประเทศไทยเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สาธิต และโน้มน้าวการใช้ยางพาราในการสร้างถนนลาดยางกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพสูงในการใช้ยางพาราในการสร้างถนน เช่น สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ยุโรป แคนาดา เม็กซิโก บราซิล อาเจนตินา เป็นต้น

4. ให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จัดหาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการทดสอบคุณภาพยางพาราผสมยางมะตอยให้เพียงพอต่อปริมาณงาน หากไม่มีงบประมาณเพียงพอให้การยางแห่งประเทศไทยลงทุนจัดตั้งและบริการเป็นหน่วยงานทดสอบด้วย

เครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ ได้เหตุผลที่เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการทั้ง 4 ข้อ ว่า1. รัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มในการสร้างหรือซ่อมแซมถนน แม้ว่าต้นทุนการก่อสร้างหรือซ่อมแซมจะเพิ่มขึ้นแต่สามารถปรับลดปริมาณงานลงให้สอดคล้องได้ ทั้งนี้ ราคาผิวถนนหนา 5 เซนติเมตร จะสูงขึ้นร้อยละ 51.87 เมื่อเปรียบเทียบกับไม่มีส่วนผสมของยางพารา (ข้อมูลจากราคามาตรฐานสำนักงบประมาณ ปี 2560 )

แต่เมื่อรวมกับราคาฐานของถนนด้วยแล้วราคาสูงขึ้นเพียงร้อยละ 17.16 ในขณะที่อายุการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 48 (ข้อมูลจากนักวิจัย กรมทางหลวง) มีกรณีตัวอย่างจริง คือ ถนนยางพาราสาธารณะที่บริเวณหน้าศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทราที่ก่อสร้างเมื่อปี 2545 จนปัจจุบันยังใช้การได้ดีโดยไม่ต้องซ่อมแซมเลย ซึ่งประมาณได้ว่ามีอายุการใช้งานยาวนานกว่าปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 200 จึงมีความคุ้มค่าแม้ว่าจะยังมิได้รวมผลประโยชน์จากการช่วยลดปริมาณยางพาราและเพิ่มราคายางพาราให้สูงขึ้นด้วย
2. การกำหนดให้ทุกหน่วยงานใช้ยางพาราผสมยางมะตอยร้อยละ 5 จะทำให้มีการใช้ยางพารามากขึ้นประมาณ 100,000 ตันต่อปี (ปัจจุบันมีปริมาณการใช้ยางมะตอยประมาณ 2,000000 ตันต่อปี) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราตามนโยบายของรัฐบาลได้สูงที่สุด

3.. ประชาชนผู้ได้ใช้ถนนที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม สามารถนำงบประมาณที่ลดลงจากการซ่อมแซมไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างสะพานข้ามแยกหรือสร้างถนนใหม่ได้มากขึ้น

4. เป็นการลดปริมาณยางพาราได้มากและจะส่งผลให้ราคายางพาราสูงขึ้น เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน 5. ให้รัฐบาลทำ MOU กับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อรับซื้อยางจากการยางแห่งประเทศไทย ส่งให้บริษัทผู้ผลิตพารา