“แร้ง” วัดสระเกศ ตำนานเล่าขานระบบนิเวศในอดีตของไทย┃Animal Fact

หลายคนอาจจะคุ้นกับคำว่า “ยักษ์วัดแจ้ง แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์” เรื่องเล่าที่มาจากเรื่องจริง จนกลายเป็นวลีติดปากของคนในสมัยก่อน แต่ที่น่าสนใจคือคำว่า “แร้ง” หรือ “นกอีแร้ง” สัวต์ที่กินซากศพ และหน้าตาที่แสนน่ากลัว

ต้องเล่าย้อนกลับไปยังอดีตในสมัยที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมมากมายดั่งวันนี้ แต่ก่อนวัดในกรุงเทพ หรือวัดในเมืองไม่ได้มีเมรุที่ใช้สำหรับเผาศพ ทำให้ในสมัยก่อนคนที่ตายกันในเมือง ญาติต้องเอาศพออกไปเผานอกเมือง 

ซึ่งส่วนมากก็จะนำมาเผาที่วัดสระเกศ จนวัดสระเกศ กลายเป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่อง “แร้งชุม” และนี่ก็คือที่มาของวลีดัง “ยักษ์วัดแจ้ง แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์” เพราะในอดีตการจะเผาศพจำเป็นต้องมีการแยกชิ้นส่วนเพื่อให้เผาได้เร็ว ชิ้นเนื้อจะถูกตัดแบ่งออกมา และบางส่วนจะนำไปโยนทิ้ง

และเมื่อชิ้นเนื้อที่โยนทิ้งไปจะถูกกำจัดโดยพวกแร้งที่อาศัยอยู่ระแวกนั้น พวกมันจะลงมาจิกกิน เห็นแบบนี้เจ้าแร้งมีประโยชน์กับมนุษย์มากกว่าที่ทุกคนคิด พวกแร้งช่วยกินซากศพทำลดปริมาณของเน่าเสียในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคหลายชนิดได้

ในอดีตประเทศไทยมีบันทึกเกี่ยวกับแร้งไว้ในประวัติศาสตร์สมัยรัชการที่ 4 ในสมัยนั้นเกิดอหิวาตกโรคระบาดหนัก ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ศพจำนวนมากถูกขนย้ายไปที่วัดสระเกศ ในระหว่างที่รอการเผา นกแร้งจำนวนมากลงมาจิกกินซากศพจนเห็นถึงกระดูก เป็นภาพที่ไม่หน้าดูของคนในสมัยนั้น ทำให้คนไทยมีทัศนคติที่ไม่ดีกับแร้ง จนถึงขั้นบันทึกไว้ในตำรา “สกุณฤกษ์” ซึ่งคือตำราที่กล่าวถึงฤกษ์ที่ดีในการทำสิ่งต่างๆ ไว้ว่า “ถ้าเห็นพญาแร้งบินมา ดุจพระยามาร ถ้าเห็นนกกระเรียนมา ดุจมนตรีหรือเสนาบดีมา ถ้าแลเห็นนกกาบินมา ดุจอำมาตย์ผู้ใหญ่มา ถ้าแลเห็นนกทั้งหลายบินมา ดุจสมณะและพราหมณ์มา”