ส่องนวัตกรรมและเทคโนโลยี Smart Farming

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนถึง 9.1 พันล้านคนภายในปี 2593 และเพื่อเลี้ยงประชากรกลุ่มนี้การผลิตอาหารควรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 70% ด้วยเหตุนี้ เทคนิคการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมและการใช้แรงงานในฟาร์ม อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงต่อต่อการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลกกว่า 9 พันล้านคนในอนาคต

ความท้าทายของการเกษตรในปัจจุบัน

– ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น/ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

– การปกป้องสิ่งแวดล้อม

– สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

– ทรัพยากรที่จำกัด เช่น น้ำและพื้นที่การเกษตร ต้นทุนการผลิต และแรงงานสูง

– ต้นทุนการผลิตและแรงงานสูง

– ขาดแรงงานที่มีทักษะ

ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกจึงมีการพัฒนาการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ Smart Farming ช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้มากขึ้นเพียงพอต่อความต้องการบริโภค อาทิการใช้งานอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนในภาคเกษตร การให้หุ่นยนต์  หรือการใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ที่ช่วยในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอากาศ ดิน ความชื้น คำนวณระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และรวมถึงความสามารถอีกหลายๆ ด้านที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ

เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งได้รับการตั้งโปรแกรมอัตโนมัติให้สามารถระบุตำแหน่งและความเร็วที่เหมาะสม ใช้กล้องและระบบวิชันซิสเต็ม มี GPS สำหรับการนำทาง และเชื่อมต่อด้วย IoT เพื่อเปิดใช้งานการตรวจสอบระยะไกล รวมถึงมีเรดาร์สำหรับการตรวจจับและหลีกเลี่ยงวัตถุสิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น คนสัตว์หรือสิ่งของในฟาร์ม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเหล่านี้ จะลดความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องเข้ามาควบคุมเครื่องจักร ที่สำคัญมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำ

หุ่นยนต์เพาะเมล็ด

ครั้งหนึ่งการหว่านเมล็ดพืชเป็นกระบวนการที่เสียเวลา แต่เทคโนโลยีอัจฉริยะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยเครื่องเพาะเมล็ด ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นดินได้เร็วกว่าแรงงงานคนมาก โดย Fendt ธุรกิจสตาร์ทอัพด้าน Agritech ได้เปิดตัวโครงการ MARS (Mobile Agricultural Robot Swarms) ซึ่งใช้ ‘หุ่นยนต์เพาะเมล็ด’ โดยใช้โซลูชันบนคลาวด์เพื่อวางแผนและจัดการปลูกข้าวโพดอย่างแม่นยำ และด้วยมีระบบนำทางด้วยดาวเทียมและการจัดการข้อมูลในระบบคลาวด์ จึงช่วยให้สามารถทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และหุ่นยนต์จะคำนวณตำแหน่งและเวลาปลูกของเมล็ดพันธุ์จะได้รับการบันทึกอย่างแม่นยำ

โดรนการเกษตรสำหรับให้ปุ๋ยและรดน้ำ

โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หมายถึง อากาศยานที่ไม่มีคนขับ โดยสามารถควบคุมทิศทางได้ บินต่างระดับขึ้น-ลงได้ แม้ว่าจะถูกควบคุมจากระยะไกล โดรนมีรูปร่าง ขนาด รูปแบบ และการใช้งานที่แตกต่างกันไป

ปัจจุบันโดรนถูกนำมาใช้ในการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ฉีดพ่นสารอารักขาพืช หว่านเมล็ดพืช พ่นปุ๋ย รดน้ำ ให้ฮอร์โมน ถ่ายภาพวิเคราะห์ ตรวจโรคพืช และโดรนสามารถพ่นปุ๋ยได้เร็วกว่าคนถึง 60 เท่าซึ่งปัจจุบัน มีผู้ผลิตและแอปพลิเคชันมากมายสำหรับโดรนเพื่อการเกษตรให้เลือกใช้งาน ที่สำคัญมีการประเมินว่า โดรนจะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการเกษตรสมัยใหม่

IoT เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดในฟาร์ม

Internet of Things (IoT) : เทคโนโลยีที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ สามารถสั่งการและควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยี IoT ผ่านการควบคุมและจัดการโดยสมาร์ตโฟนนั้น สามารถนำมาใช้กับงานด้านการเกษตรได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางการเกษตร (Agricultural Data Collection) และการบริหารฟาร์ม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนา และเปลี่ยนแปลงต่อยอดเศรษฐกิจและความยั่งยืนแก่เกษตรกร

Blockchain สำหรับซื้อขายในภาคเกษตร  

ยกตัวอย่างกรณี Cerealia แพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์สำหรับการเกษตร ที่ช่วยการันตีการซื้อขายสินค้าให้กับผู้เข้าร่วม โดยในการตัดสินใจทำการแลกเปลี่ยน ระบบก็จะออกสัญญาที่มีการลงนามแบบดิจิทัลของทั้งสองฝ่าย และบันทึกการซื้อขายนี้ลงในระบบ ซึ่งด้วยความสามารถเฉพาะตัวของบล็อกเชน ทำให้รายละเอียดเหล่านี้ไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงหรือลบออกไปได้ ซึ่งต่างจากการซื้อขายดั้งเดิมที่มักเกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์และไม่แน่นอนเสมอไป

ตัวอย่างหนึ่งของการใช้งานบล็อกเชนนี้ คือ The Pully บริษัทจากสวิสเซอร์แลนด์ที่นำระบบนี้ไปใช้ในการซื้อข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และน้ำมันพืชจากรัสเซีย โดยการใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวช่วยให้การซื้อขายรวดเร็ว และมีความโปร่งใสตรวจสอบย้อนหลังได้ และจากข้อมูลในเว็บไซต์ แพลตฟอร์มนี้มีส่วนที่ช่วยจัดการกับการเงิน และการโอนเงินข้ามประเทศด้วย

 

จะเห็นว่าได้เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในวงการเกษตรสมัยใหม่ทั่วโลก ซึ่งคลอบคลุมตั้งแต่การปลูกพืชไร ผักผลไม้ การทำฟาร์มแนวตั้ง และการทำปศุสัตว์ ยกตัวอย่างอาทิการใช้งานแว่น VR กับโคนมเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนม ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวและกำลังปรับเปลี่ยนการทำเกษตรรูปแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเป้าหมายการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.agritechtomorrow.com/

https://www.adpt.news/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333