เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาอาชีพทำสวน

นายธีรภัทร อุ่นใจ อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

อายุ 53 ปี

การศึกษา ปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สถานภาพ สมรส

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

โทรศัพท์ (097) 068-1971

อาชีพ เกษตรกรรม (ทำสวนผลไม้)

ผลงานดีเด่น

ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

เกษตรกรเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเรียนจบก็ทำงานที่กรุงเทพฯ ในปี 2532 มาทำงานที่จังหวัดจันทบุรี และได้แต่งงานกับภรรยา ซึ่งครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ (เงาะ, ทุเรียนชะนี เป็นต้น) และปี 2537 มีหนี้สิน 2,400,000 บาท จึงช่วยกันคิดวางแผนดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ตั้งเป้าหมายใช้หนี้สินให้หมด ประกอบกับเงาะและทุเรียนชะนี ขายไม่ได้ราคา จึงตัดสินใจปลูกทุเรียนหมอนทองที่ราคาดีกว่า พร้อมกับจดบัญชีอย่างละเอียดเพื่อตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจนสามารถปลดหนี้ได้ในเวลาต่อมา และได้รับรางวัลครูบัญชีดีเด่น ระดับประเทศ เมื่อปี 2555

การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ใช้หลักการการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูก โดยการวางผังปลูก ที่คำนึงถึงทิศทางแสงแดด ทิศทางลม ความลาดชัน พื้นที่ลุ่มต่ำ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เช่น การใช้เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งตัดแทนการใช้สารกำจัดวัชพืช, การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรครากเน่า โรคเน่า โดยราดทางดินและฉีดพ่นทุก 3 เดือน, การปลูกทุเรียนตามแนวลาดเอียง ขุดร่องเพื่อระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตและการจัดการ

– การปลูกทุเรียน 2 ต้น/หลุม ต้นห่างกัน 1 เมตร เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตควบคุมคุณภาพผลผลิตและค้ำยันป้องกันลม แต่ใช้พื้นที่เท่าเดิม ลดต้นทุนการตัดแต่งกิ่ง มีผลตอบแทนเพิ่ม 20%

– ป้องกันการระบาดเชื้อราไฟทอปธอร่า เชื้อสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า ระบาดมากในช่วงฝนตกชุก โดยวิธียกโคกสูง

– การตัดแต่งกิ่งแขนงและยอด เมื่อทุเรียนอายุ 1 ปี เพื่อให้กิ่งขยายออกด้านข้างและควบคุมการเจริญเติบโต

– การผลิตทุเรียนต้นฤดู (มี.ค.-พ.ค.) ด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น โดยการตัดหญ้าโคนต้นให้เตียนในฤดูฝน และเลี้ยงหญ้าโคนต้นในฤดูร้อน สามารถลดต้นทุนด้านน้ำ แรงงานและไฟฟ้า

การแก้ปัญหา

  1. 1. ด้านพื้นที่

– มีการศึกษาลองผิดลองถูกกับการปลูกทุเรียน รวมทั้งปรึกษากับเกษตรกรเครือข่ายที่ปลูกทุเรียนอื่นๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับสวนทุเรียนของตนเอง

– มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการขุดสระเป็นแหล่งน้ำ และขุดบ่อบาดาล 3 บ่อ เป็นแหล่งน้ำสำรอง ใช้เชือกฟางโยงผลทุเรียนกับกิ่งเพื่อป้องกันการร่วงหล่นของผล และปลูกต้นไม้กันลม

– การปลูกทุเรียนตามแนวลาดเอียง ขุดร่องเพื่อระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า

 

  1. 2. ด้านวิชาการ

– เทคนิคการทำทุเรียนคุณภาพและทุเรียนนอกฤดู ต้องวางแผนการปลูก ดูแลรักษาต้นทุเรียนให้สมบูรณ์ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน ฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล ทำให้ทุเรียนออกดอกพร้อมกัน (ส.ค.-ก.ย.) สามารถบริหารจัดการได้ง่าย

– การปลูกทุเรียน 2 ต้น/หลุม แต่ใช้พื้นที่เท่าเดิม เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ควบคุมคุณภาพผลผลิตและค้ำยันป้องกันลม ลดต้นทุนการตัดแต่งกิ่ง

– ป้องกันการระบาดเชื้อราไฟทอปธอร่า เชื้อสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า ซึ่งระบาดมากในช่วงฝนตกชุก โดยวิธียกโคกสูงขึ้น

  1. 3. ด้านเศรษฐกิจและสังคม

– ควบคุมคุณภาพลดปัญหาตัดทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคได้สินค้าคุณภาพ โดยทำทุเรียนเกรดพรีเมียม กำหนดตัดเมื่ออายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน หลังดอกบาน และใช้เชือกฟางโยงผลต่างสีในการกำหนดวันตัดที่เหมาะสม รวมทั้งบันทึกการบานของดอกแต่ละรุ่น

– รวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างพลังการต่อรอง โดยแนวทางการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ คือ แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ สมาชิก 35 ราย พื้นที่ 656 ไร่ ผลผลิตประมาณ 1,000 ตัน

– สร้างมูลค่าเพิ่ม จำหน่ายตรงผู้บริโภคผ่าน online ประมาณ 2% ของผลผลิตทั้งหมด

  1. 4. ด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งตัดแทนการใช้ยาฆ่าหญ้า, อนุรักษ์ไก่ป่าเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช, ขุดร่องระบายน้ำและยกโคกสูงป้องกันการระบาดของโรครากเน่า โคนเน่า ลดการใช้สารเคมี

แนวคิดในการทำงาน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ตอบแทนชุมชนจึงอาสาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ในปี 2548 ลาออกในปี 2550 เนื่องจากได้รับหมายเป็นผู้นำด้านอื่นๆ ของหมู่บ้าน, มีแนวคิดในการดำเนินชีวิต คือ “รักและภูมิใจในอาชีพ มีโอกาสต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน” และมีแนวคิดในการทำงานกลุ่ม คือ “เป็นผู้นำต้องนำให้สุด เป็นผู้ตามต้องตามให้ดี”

ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

ต้นทุน/รายได้ (ย้อนหลัง 3 ปี)

ปี 2558 ต้นทุน 15.20 บาท/กิโลกรัม รายได้ 80,527.41 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,092 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งเป็น

เกรด A 28,306.60 กิโลกรัม เกรด B 12,131.40 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 73.68 บาท/กิโลกรัม

ปี 2559 ต้นทุน 17.43 บาท/กิโลกรัม รายได้ 82,993.08  บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,154 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งเป็น เกรด A 29,890 กิโลกรัม เกรด B 12,810 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 71.91 บาท/กิโลกรัม

ปี 2560 ต้นทุน 9.15 บาท/กิโลกรัม รายได้ 95,009 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,880 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2560 (1,098 กิโลกรัม/ไร่) แบ่งเป็น เกรด A 66,500 กิโลกรัม เกรด B 28,500 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 47.99 บาท/กิโลกรัม

ผลิตตามหลักมาตรฐาน การผลิตเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว จำนวน 48 ไร่ การจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพ โดยปฏิบัติดูแล 3 ช่วง

  1. 1. ช่วงก่อนให้ผลผลิต โดยการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ดูแลรักษาให้น้ำ ปุ๋ย ฮอร์โมนตามระยะเวลาที่เหมาะสม เฝ้าระวังศัตรูพืช
  2. 2. ช่วงติดผล โดยตัดแต่ง คัดผลที่ได้รูปทรงและขนาดเหมาะสมกับขนาดกิ่ง โยงกิ่ง ดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ป้องกันโรคและแมลง และช่วยผสมเกษตร นับวันดอกบานคำนวณวันเก็บเกี่ยว
  3. 3. ช่วงหลังเก็บเกี่ยว รีบตัดกิ่งออก ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือปูนแดง

การลดต้นทุนการผลิต โดยการสำรวจ วิเคราะห์ศัตรูพืช พยากรณ์การระบาดศัตรูพืช ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน เลือกใช้สารเคมีจากร้านที่น่าเชื่อถือ ใช้ตามอัตราแนะนำ สลับกลุ่มสารเคมีในการใช้เพื่อลดการดื้อสารเคมีของแมลง เน้นป้องกันโรคด้วยบำรุงให้ต้นทุเรียนแข็งแรง โดยปรับปรุงดินและให้ปุ๋ยตามการตรวจวิเคราะห์ดิน ติดตามพยากรณ์อากาศทุกวันเพื่อวางแผนการให้น้ำและฉีดพ่นสารเคมีให้ถูกต้องตามสถานการณ์ พร้อมทั้งจดบัญชีเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนการผลิต

การจัดการด้านการตลาด โดยเกรด A มีพ่อค้าคนกลางติดต่อรับซื้อถึงสวน เพื่อส่งประเทศจีน เกรด B มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อส่งตลาดไท

ความยั่งยืนในอาชีพ ทำสวนมาอย่างต่อเนื่อง 25 ปี มีการขยายพื้นที่เพิ่มจากเดิมเป็น 73 ไร่ มีการวางแผนการผลิต ติดตั้งระบบน้ำให้ง่ายต่อการใช้งาน และถ่ายทอดวิธีการผลิต เทคนิค การจัดการสวนให้แก่ธิดา เพื่อสืบทอดการทำสวนให้อยู่ต่อไป และมีเป้าหมายในการแปรรูปผลผลิตในอนาคตร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน รวมทั้งจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับในอนาคต

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– พื้นที่เพาะปลูกมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน

– ควบคุมการใช้สารเคมีตามหลัก GAP

– ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ

– ตัดหญ้าด้วยรถตัดหญ้าแทนการใช้สารเคมี และนำเศษหญ้าเป็นปุ๋ยและวัสดุคลุมดิน

– ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน เช่น ใช้ไตรโครเดอร์ม่าควบคุมกำจัดโรครากเน่า โคนเน่า ของทุเรียน โดยราดและฉีดพ่นทุก 3 เดือน ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งลดการสะสมโรคและแมลง ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น สำรวจศัตรูพืช ศัตรูธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม

– มีการจัดการที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ โรงเรือนเก็บวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ชั้นเก็บสารเคมี อาคารเก็บผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวอย่างเป็นสัดส่วน ดำรงชีวิตด้วยความพอเพียงปลูกผักสวนครัวไว้บริเวณบ้าน และเลี้ยงไก่ไว้กินไข่