“เพื่อนบ้านเพื่อนกัน” บทบาทของมฟล. กับแรงงานข้ามชาติและสถานการณ์โควิด-19

แรงงานเพื่อนบ้านหรือแรงงานข้ามชาติ ไม่ว่าเมียนมาร์หรือลาวล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและในประเทศไทย

เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 กิจการจำนวนไม่น้อยสะดุดล้มลง บางแห่งพัก บางแห่งเลิกกิจการแรงงานเพื่อนบ้านที่เคยเป็นกำลังสำคัญเหล่านั้นจะเป็นอย่างไรระหว่างรอกลับมาทำงานเป็นกำลังให้ผู้ประกอบการ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในฐานะสถาบันการศึกษาบนพื้นที่ชายแดนมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในช่วงสถานการณ์โควิด – 19  หลังการระบาดในระลอกแรก ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางมีนาคม 2563 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยนายสืบสกุล กิจนุกร หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ ได้เข้าไปช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติใน  3 รายการเบื้องต้น ได้แก่ รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายวัน เปิดเพจทางเฟสบุคเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยง่าย และตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติร่วม 10 องค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรภาคประชาสังคม-ประชาชน รุกให้ความช่วยเหลือ 3 ด้าน การยังชีพ สุขภาพ และสิทธิแรงงาน

จากระยะเริ่มต้นดำเนินการใน 3 ชุมชนแรงงาน จำนวน 180 คน เด็กอีก 36 คน ต่อมาขยายผลแล้ว 20 ชุมชน จำนวน 1,000 คน ตั้งเป้าไว้อย่างน้อยที่ 5,000 คน จากจำนวนแรงงานข้ามชาติทั้งหมด 29,000 คน  โดย มฟล.ได้ดำเนินการต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามบทบาทการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในฐานะสถาบันการศึกษาบนพื้นที่ชายแดน ที่เข้าไปช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในช่วงสถานการณ์โควิด – 19  ได้ทางสื่อออนไลน์ดังนี้

facebook: MFUconnect
https://qrgo.page.link/xMS1c

youtube : MFU Connect
https://qrgo.page.link/U27CK

#มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงพื้นที่แห่งการทำงานวิจัยและพัฒนา