MR. CORN (ตอนที่ 1)

มีใครบางคนว่าไว้ สังคมเกษตร คือ สังคม old style เขาจะไม่เชื่อที่ลมปาก

ถ้าจะเปลี่ยนแปลงเขาได้ ต้องทำให้เขาเห็นตัวอย่าง เหมือนเรื่องของ นิด กับ โอเล่ ที่จุดประกายการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง

“โอเล่” เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ส่วน “นิด” ข้าราชการจากกระทรวงเกษตรฯ ประจำท้องที่

คนหนึ่งรู้พื้นที่ รู้เกษตรกร อีกคนหนึ่งรู้วิชาการ และรู้ตลาด เมื่อสองขั้วมาผสมกัน อะไรจะเกิดขึ้น

เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เขาทั้งสองพบกันในฐานะเพื่อนร่วมรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน และจบมาจากสายเกษตรทั้งคู่ คนหนึ่งเรียน Breeding อีกคนจบสาขาเศรษฐศาสตร์การเกษตร

10 ปี ให้หลัง โชคชะตาพาเขามาพบกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ โอเล่ และลูกพี่ของเขา พี่เปีย บังเอิญขับรถหลงทางเข้ามาใน อำเภอพิบูลมังสาหาร ที่ที่พวกเขาพบว่า เป็นอำเภอที่มีน้ำท่าบริบูรณ์มาก และที่สำคัญเป็นพื้นที่นา ที่เป็นดินเหนียวปนทราย เป็นดินที่เหมาะกับพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งคือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจตัวสำคัญที่ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องการ 8 ล้านตัน แต่เอาเข้าจริง ไทยปลูกได้เพียง 4 ล้านตัน เท่านั้น

แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ทั้งสองรู้ได้ในทันทีว่า ที่นี่มีโอกาส เพียงแต่ยังไม่รู้ว่า เกษตรกรที่นี่เป็นอย่างไร ขยันมั้ย ทำอะไรอยู่ที่ไหน มีรายได้อย่างไร

โอเล่ ค้นหาจนรู้ว่า ที่นั่น มีเพื่อนสมัยเรียน ม.ขอนแก่น คือ นิด เจ้าหน้าที่เกษตรประจำอำเภอในจังหวัดนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ ปีหนึ่งทำข้าวหอมมะลิ 2 รอบ ที่เรียกว่า นาปี และนาปรัง

แต่ปีนี้เป็นปีที่ นิด กำลัง มองหาโจทย์ที่สั่งการผ่านส่วนกลางมาว่า ไทยควรลดข้าวนาปรัง

เพราะ นาปรัง คือ ต้นเหตุของปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น ทำให้เกิดข้าวปริมาณมากในตลาด หากปลูกมากเกิน

ถ้าไม่ปลูกข้าว แล้วเราจะปลูกอะไร

นิด บอกกับ โอเล่ ว่าเราหนะรู้นะว่าผืนดินที่นี่เหมาะกับพืชอะไรบ้าง แต่ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ ไม่ทำตามหรอก…เพราะพวกเขาโดนหลอกมาเยอะ ที่มาสอนมาแนะให้ปลูก แล้วไม่รับซื้อก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องระแวง เขารอฟังว่า ปลูกแล้ว ใครจะมาซื้อ

มันจึงเป็นสิ่งที่ นิด ต้องการคำตอบที่หนักแน่นจากโอเล่ เขาย้ำถามเพื่อนอยู่หลายหนว่า โอเล่ กับเจ้านาย เอาแน่รึป่าว ที่จะมาสนับสนุนชาวบ้าน ทั้งสอนปลูก และที่สำคัญ มารับซื้อผลผลิตที่ปลูกได้

ผลผลิตที่ขายเข้าโรงงานอาหารสัตว์

นิด เริ่มเช็กจนรู้ว่า คนที่ซื้อข้าวโพดประเภทนี้คือ โรงงานอาหารสัตว์ และโรงงานพวก อยู่ที่โคราช ไกลออกไปอีก 340 กิโลเมตร ถ้าลำพังส่งเสริมเกษตรกรปลูกเองเป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วรวบรวมขนขึ้นรถไปขายโคราช คงขาดทุนย่อยยับ

โอเล่ กลับไปทำการบ้านกับบริษัทต้นสังกัด เพื่อสำรวจผู้ซื้อ เพื่อสร้างทำให้เกิดความมั่นใจ เพราะบริษัทต้นสังกัดของเขาก็มีโรงงานอาหารสัตว์เช่นกัน

ป้ายนิทรรศการเรื่องการปลูกข้าวโพดหลังนา

งานที่เริ่มจาก การปลูก กำลังขยายใหญ่ขึ้น เมื่อรู้ว่าพื้นที่มีขนาดใหญ่มากพอที่จะรองรับค่าขนส่ง อีกทั้งยังมีบริษัทท้องถิ่นที่ต้องการวัตถุดิบชนิดนี้อีกด้วย คือ ก้าวหน้าอาหารสัตว์ ที่ปกติเขาต้องไปขนวัตถุดิบนี้จากโคราช

เมื่อตลาดปลายทางชัดเจน เทคนิคการปลูกพร้อม ทีนี้ก็เริ่มเห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ นี่สินะ

ต่อจากนี้คือ การปรับเปลี่ยนเกษตรกร ให้มั่นใจกับการปลูกปัจจัยที่จะทำให้ชาวนาที่ปลูกข้าวมาตลอดชีวิต ให้หันมาปลูกข้าวโพด

นี่แหละคือ เรื่องที่ยากที่สุด

โอเล่ และ นิด ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า คนที่กล้ามาปลูกข้าวโพด รายแรกๆ นั้น ขายได้ และมีเม็ดเงินที่โอเค

เจ้าหน้าที่ ซีพี ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา

ทั้งสองเริ่มทำการบ้านเพิ่มอีกหลายข้อ

ข้อที่หนึ่ง โมเดลรายได้ เขาคิดคำนวณ หากำไรจากการทำนา เทียบกับ กำไรจากการปลูกข้าวโพด พบว่า ทั่วไป ข้าว ได้กำไร ไร่ละ 900 บาท ปลูกข้าวโพด 2,000 บาท เทียบต่อ ต้นทุนต่อไร่ จากการปลูกข้าวคือ 2,590 บาท ในขณะที่ปลูกข้าวโพด 3,115 บาท เรียกได้ว่า ต้นทุนพอๆ กัน

แต่รายได้ของข้าวโพดจะสูงกว่า ทั้งนี้เพราะข้าวปลูกแล้วได้ผลผลิต 350 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่ข้าวโพด 1,300 กิโลกรัม (ฝัก) ต่อไร่ เมื่อรวมราคากันแล้ว รายได้จากข้าวโพด สูงถึง 5,200 บาท ในขณะที่ข้าว 3,500 บาท

บรรทัดสุดท้ายของรายได้คือ เงินสนับสนุนที่รัฐส่งเสริมปลูกพืชหลังนาอีก ไร่ละ 2,000 บาท

สรุปแล้ว ทำให้เกษตรกรมีกำไรสูงถึง 4,000 บาท

ข้อที่สอง การตัดวงจรแมลงศัตรูพืช

ปลูกพืชซ้ำๆ ทำให้วงจรการโตของแมลงศัตรูพืช อย่าง หอยเชอรี่ เจริญเติบโตสืบสายเป็นรุ่นๆ และสุดท้ายต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่การปลูกข้าวโพด ต้องไล่น้ำเข้าตอนเริ่มต้น และไล่น้ำออกให้แห้ง ทำให้หอยเชอรี่ตาย

ซึ่งทำให้การปลูกข้าวรอบต่อไป เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในนาข้าวเพื่อทำลายศัตรูพืชเหล่านี้

ข้อที่สาม ฝึกเกษตรกรขยันมากได้มาก

ข้าวโพดหลังนา มักปลูกในฤดูร้อน ซึ่งไล่ความชื้นที่แฝงอยู่ในฝักและเมล็ดข้าวโพดเป็นอย่างดี หากขยันตากอีกนิด จะทำให้ค่าความชื้นลดลง จากระดับตั้งแต่ 35% ลงไป ที่ระดับที่ได้ราคาสูงสุดคือ 9 บาทกว่า ต่อกิโลกรัม

หรือพูดง่ายๆ ว่า อดทนปลูกกว่าเกือบ 40 วัน และใช้เวลาอีกสัก 2-3 วัน ในการตาก เกษตรกรก็จะได้ราคาต่อกิโลกรัมสูงมากขึ้น จาก 4-6 บาท กลายเป็น 9 บาทกว่า

ชาวนาอุบลฯ กับการทดลองปลูกพืชทางเลือก เริ่มจากไม่กี่คน มาเป็นร้อยๆ คน และล่าสุดทีมงานจัดวันเก็บเกี่ยวให้เกษตรกรผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาหารายละเอียดเพื่อการตัดสินใจในอนาคต

คุณสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเก็บเกี่ยวข้าวโพด
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตรวจวัดความชื้นข้าวโพด

สำหรับศักยภาพของอุบลราชธานีแล้ว เกษตรกรยังมีทางเลือกอีกมาก หากแต่ความคุ้นชินและความไม่แน่ใจ อาจทำให้พืชทุกตัวที่ปลูกได้ มิใช่พืชที่ถูกเลือก

อย่างน้อย การผนึกกำลังระหว่างโอเล่ ภาคเอกชน และ นิด ข้าราชการท้องถิ่นที่กล้าลงมาร่วมมือกัน คงทำให้รู้ การได้เห็นเกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น คือความสุขสำหรับคนทำงานในภาคการเกษตร

การทำงานอย่างไม่แบ่งเขา เพราะมีแต่เรา ทำให้โอกาสสำหรับเกษตรกรในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น แถมลดปัญหาข้าวล้นตลาด คือการส่งต่อความสุขต่อคนไทยจากคนไทยด้วยกันเอง

ปีที่แล้ว คนบางส่วนหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ปีนี้คนกลุ่มนั้นตัดสินใจปลูกบนพื้นที่มากขึ้น และปีต่อไปมีคนให้ความสนใจศึกษามากขึ้น เราเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเกษตรกรคุ้นเคยกับการปรับตัว ไปทำพืชอื่นๆ ได้แบบนี้มันจะเป็นหนทางที่ฝึกให้ช่วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องมี Subsidze จากรัฐบาลอีกต่อไป

เจริญโภคภัณฑ์เอง ก็จะไม่หยุดยั้งที่จะหาโมเดลการเกษตรใหม่ๆ ในยุค 4.0 ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ส่งผ่านสู่เกษตรกร เพื่อที่จะส่งเสริมการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน คือต้องมีรายได้หลายทาง ระยะสั้นและยาว และมีกำไรกลับมา เพื่อนำไปขยายกิจการเพื่อให้ภาคการเกษตรของไทยเข้มแข็งและเป็นกลจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย

สำหรับ นิด อาจดีใจได้หลายเดือน แต่สำหรับโอเล่

เราอนุญาตให้คุณดีใจได้เพียงสัปดาห์เดียวนะ…