ยันม่าร์ สาธิตโรบอทแทรกเตอร์สุดล้ำ ทำงานแบบไม่มีคนขับ

บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด และ บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด ในเครือบริษัท ยันม่าร์า เข้าร่วมโครงการเชิงทดลองเพื่อสังคม ในการใช้เทคโนโลยีนำทางความละเอียดสูงมาใช้กับโรบอทแทรกเตอร์ในประเทศไทยเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA และคณะกรรมการทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

สุดล้ำ “โรบอทแทรกเตอร์”

“SMARTPILOT” คือชื่อผลิตภัณฑ์ในซีรี่ส์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติของยันม่าร์หรือโรบอทแทรกเตอร์

โรบอทแทรกเตอร์ คือเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์เพื่อเปลี่ยนอนาคตของเกษตรกรรมเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแทรกเตอร์ที่มีคนขับกับโรบอทแทรกเตอร์

คุณมร.ชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด

โครงสร้างระบบของ “โรบอทแทรกเตอร์”

ทำงานพร้อมตรวจสอบตำแหน่งด้วย GNSS (ดาวเทียมนำทาง)

โรบอทแทรกเตอร์ ทำงานแบบไม่มีคนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บเล็ต

โรบอทแทรกเตอร์สามารถทำงานร่วมกับแทรกเตอร์ปกติ โดยแทรกเตอร์ปกติจะทำงานประสานกันพร้อมกับเฝ้าติดตามโรบอทแทรกเตอร์ สื่อสารผ่านการใช้แท็บเล็ตตั้งค่าขั้นตอนการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์ เช่น การสตาร์ตหรือหยุดได้จากระยะไกล

โรบอทแทรกเตอร์ด้านข้าง

ตัวอย่างการทำงานของโรบอทแทรกเตอร์

การใช้แทรกเตอร์ปกติร่วมกับโรบอทแทรกเตอร์ สามารถหว่านเมล็ดหลังไถพรวนได้ทันทีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากดินฟ้าอากาศ จะทำงานประสานกันโดยแทรกเตอร์ไร้คนขับจะไถพรวนและแทรกเตอร์มีคนขับคอยหว่านเมล็ดตามหลัง

การทำงานปรับได้ 2 โหมด คือ

  1. “โหมดเดินหน้า” สามารถทำงานได้จนถึงขอบแปลงนา โดยจะขับเคลื่อนอัตโนมัติเฉพาะเดินหน้าเท่านั้น เวลาเลี้ยวกลับจะเป็นระบบคนบังคับ สามารถทำงานได้จนสุดขอบแปลงเพาะปลูก ก่อนที่เครื่องจักรจะเลี้ยวกลับ
  2. “โหมดอัตโนมัติ” ที่ทำงานด้วยตัวมันเอง จะทำงานอัตโนมัติในเส้นทางที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า ได้แก่ สเตียร์ริง (เลี้ยวกลับ) ยกเครื่องจักรทางเกษตรขึ้นลงและเดินหน้า ถอยหลังหยุดเองได้ เปิด-ปิด PTO เองได้
แท็บเล็ตที่ใช้ควบคุมโรบอทแทรกเตอร์

“โรบอทแทรกเตอร์” มีเซ็นเซอร์ความปลอดภัยที่ตรวจจับคนหรือสิ่งกีดขวาง ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะวัดระยะของวัตถุด้วยเลเซอร์หรือคลื่นอัลตราโซนิก กรณีที่ตรวจเจอคนหรือสิ่งกีดขวางรอบข้าง จะหยุดการขับแบบอัตโนมัติ และมี Safety lamp ที่เห็นแล้วรู้สถานะได้ทันที การติดตั้งไฟเพื่อตรวจสอบสถานะการขับแบบอัตโนมัติได้จากทุกทิศทางจึงสามารถดูสถานะของแทรกเตอร์จากจุดที่ห่างจากตัวเครื่องได้

ตัวอย่างการแสดงสถานะ

สีฟ้า : กำลังขับแบบอัตโนมัติ

สีชมพู : เสร็จสิ้นการขับอัตโนมัติและหยุดฉุกเฉิน

ไฟติด 3 สี (สีฟ้า สีชมพู และสีเขียว) : หยุดทำงานชั่วคราว (รอ)

ไฟดับหมด : กำลังขับแบบคนบังคับ

“เซฟตี้เบรก” เมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานระหว่างขับแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการเบรกอัตโนมัติ

ทีมยันม่าร์ญี่ปุ่นร่วมถ่ายรูปกับโรบอทแทรกเตอร์

ข้อดีของแทรกเตอร์อัตโนมัติ/โรบอทแทรกเตอร์

  1. บันทึกพื้นที่เพาะปลูกด้วยแท็บเล็ต (ใช้งานง่าย)

สามารถบันทึกพื้นที่เพาะปลูกหรือเครื่องจักรกลการเกษตรโดยใช้แท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน จะสร้างเส้นทางโดยอัตโนมัติโดยใช้ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งผู้ควบคุมแค่แตะปุ่มสั่งการ เครื่องก็สามารถทำงานตามเส้นทางที่ตั้งค่าไว้อย่างอัตโนมัติ ส่วนโรบอทแทรกเตอร์สามารถใช้รีโมตควบคุมหยุดการทำงานหรือหยุดชั่วคราวได้

  1. วัดตำแหน่งด้วย RTK-GNSS (N-trip)

สามารถวัดระยะอย่างแม่นยำได้ในระดับเซนติเมตร ด้วยการตรวจหาตำแหน่งโดยใช้ข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตจากดาวเทียมนำทาง GNSS และเสารับสัญญาณมาตรฐาน ทำให้สามารถตรวจหาข้อมูลตำแหน่งในรัศมีที่ใกล้กว่าเสารับสัญญาณมาตรฐานได้

ผู้ควบคุมการทำงานแท็บเล็ต

คุณชินจิ ซุเอนางะ ประธานบริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงาน ขออนุญาตแนะนำยันม่าร์ให้ทุกท่านได้รู้จัก เราเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งก่อตั้งที่ประเทศญี่ปุ่น ปีนี้ก็เป็นปีที่ 108 และเราก็ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและจัดจำหน่ายภายในประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 41 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะครับว่าจากนี้ไปความต้องการทางด้านอาหารนั้นจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ในขณะที่แรงงานทางภาคการเกษตรกรรมนั้นจะลดลง ซึ่งหากไม่มีนวัตกรรมทางด้านการเกษตรเราก็จะไม่มีการคงไว้ซึ่งอาหารที่ยั่งยืน

เพราะฉะนั้น คิดว่าภายในอนาคตอันใกล้นี้ การทำให้แทรกเตอร์มีความสามารถในการทำงานได้โดยอัตโนมัตินั้นจึงมีความจำเป็นขึ้นมา และทางยันม่าร์ของเราก็ได้มีการตระหนักถึงข้อนี้เลยได้มีการวิจัยออกมาเป็นรถแทรกเตอร์ไร้คนขับหรือที่เราเรียกว่าโรบอทแทรกเตอร์

โดยโรบอทแทรกเตอร์ที่ได้เห็นถือเป็นเครื่องเทคโนโลยีล่าสุด มีการวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งแทรกเตอร์คันนี้ยังคงได้รับรางวัลโรบอทยอดเยี่ยมครั้งที่ 7 ของประเทศญี่ปุ่นด้วย จึงถือโอกาสการสาธิตรถโรบอทแทรกเตอร์ในวันนี้เพื่อการแสดงออกให้ทุกท่านได้เห็นว่ายันม่าร์มีความทุ่มเทเพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลทางด้านการเกษตรอัจฉริยะ

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด เป็นผู้ดูแลโปรเจ็กต์โรบอทแทรกเตอร์ กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้นำตัวโรบอทแทรกเตอร์ตัวนี้มาแสดง              

คุณชิเกมิ ฮิดากะ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ยันม่าร์ อกริบิสเนส จำกัด