กยท.เผย สถานการณ์ราคายางพารา ปรับขึ้น-ลง เป็นไปตามกลไกตลาด

การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยสถานการณ์ราคายางในปัจจุบัน ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสองเดือน ที่ผ่านมา และราคาที่กาลังลดลงในขณะนี้ถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด พร้อม นัดประชุมทั้ง 3 ภาคส่วน แก้ปัญหาราคาน้ายางสด แนะเกษตรกรสามารถกระจายความเสี่ยง ปลูกพืชอื่นเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคายางได้ปรับตัว สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากอุปทานยางในประเทศผู้ผลิตยางลดลง ในขณะที่ความต้องการของผู้ประกอบการยังคง มีอยู่ โดยมีหลายสาเหตุที่ทาให้ผลผลิตลดลง ทั้งจากนโยบายชะลอการส่งออกด้วยการควบคุมปริมาณยางของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ ในปี 2559 ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณยางหายไปจากตลาดซื้อขายโลก ประมาณ 7 แสนตัน ประกอบกับภาวะฝนตกหนักและน้าท่วมขังในภาคใต้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 จนถึงเดือนมกราคม 2560 เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยาง ต้นยางได้รับความเสียหาย ปริมาณ ผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลงประมาณ 3 -4 แสนตัน นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมายังมีปัจจัยบวก สนับสนุนให้ราคายางพุ่งสูงขึ้นอีกหลายปัจจัย ได้แก่ ประเทศจีนซึ่งเร่งซื้อยางเพื่อนาไปผลิตเป็นล้อยางส่งไป สหรัฐฯ ก่อนที่สหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีนาเข้าตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นไปตาม กลไกตลาดในช่วงขณะนั้น ซึ่งสภาวะที่ราคายางพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วนี้ถือว่าเป็นภาวะผิดปกติ ดังนั้น เมื่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ ผลผลิตยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ ราคายางมีการปรับตัวลดลงซึ่งถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีราคาน้ำยางสดที่มีความผันผวนมากนั้น เนื่องจากราคายางกำลัง กลับเข้าสู่กรอบราคาตามภาวะปกติ เพราะสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เริ่มคลี่คลาย เกษตรกรสามารถ กรีดยางได้ ประกอบกับช่วงนี้ของทุกปีเป็นฤดูกาลที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางมากอยู่แล้ว ดังนั้น ผลผลิตในตลาด จึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา รวมถึงในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี ราคายางอาจมีการ เปลี่ยนแปลงโดยราคาจะลดลง เพราะประเทศผู้ซื้อจะหยุดการทางานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่รับซื้อ ยางพารา แรงงาน ตลอดจนระบบขนส่งต่างๆ อาจเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำยางสดมีการปรับราคาลงบ้าง

อย่างไรก็ตาม กยท. ได้เร่งแก้ไขปัญหา เพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่างผู้แทนเกษตรกร ผู้ประกอบการ ซึ่งผลการหารือเป็นไปในทิศทางที่น่าพอใจสาหรับทุกฝ่าย โดย กยท.จะจัดตั้งตลาดกลางน้ำ ยางสด เพื่อเพิ่มจุดรับซื้อ ขาย และ สะท้อนราคาในท้องถิ่นที่แท้จริง ซึ่งนายกสมาคมผู้ประกอบการน้ำยาง ในท้องถิ่น ยืนยันพร้อมเข้าร่วมสนับสนุน ในขณะเดียวกัน กยท. จะเร่งส่งเสริมด้านแปรรูปยางพาราใน พื้นที่ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งาน โดยริเริ่มโครงการ พี่ช่วยน้อง เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งเป็นพี่ เลี้ยง และรับซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เพื่อไปแปรรูปเป็นสินค้าขั้นกลาง และขั้นปลาย และ กยท. จะสนับสนุนด้านทุน และองค์ความรู้ พร้อมทั้งช่วยหาตลาด นอกจากนี้ เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิถี

การทำงานจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ปลูกยางอย่างเดียว) ไปเป็นการปลูกพืชผสมผสาน หารายได้จากผลผลิต ทางการเกษตรอื่นๆ ทดแทนการทำสวนยางเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ ภาคเกษตรกร จะต้องมีการส่งเสริม การประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เช่น การปลูกพืชผสมผสาน เสริมรายได้ในสวนยาง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นแนวทางแก้ปัญหาแบบไตรภาคี เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน คาดว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น” ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย