50 ปี สมาคมกล้วยไม้ลพบุรี

สมาคมกล้วยไม้ลพบุรี ได้ก่อกำเนิดจาก พันเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ (ยศในขณะนั้น) ผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ ลพบุรี กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายกเทศมนตรี และข้าราชการอื่นๆ พร้อมทั้งพ่อค้าคหบดีในเมืองลพบุรีได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2512 โดยจะมีการประชุมกันที่ปรางค์แขก ศาลพระกาฬของทุกวันเสาร์ต้นเดือนในช่วงสายๆ จะมีการตั้งราวแขวนกล้วยไม้เพื่อให้สมาชิกนำกล้วยไม้มาโชว์และมีการประชุมสนทนาปราศรัยแลกเปลี่ยนเรื่องกล้วยไม้กันทุกเดือน

ในปี พ.ศ. 2513 ช่วงเดือนมกราคม สมาคมกล้วยไม้ลพบุรีได้จัดให้มีการประกวดกล้วยไม้ช้างขึ้นครั้งแรก โดยกำหนดให้มี 3 ชุด คือ ช้างกระ ช้างแดง ช้างเผือก โดยชุดละ 3 รางวัล และนำกล้วยไม้ที่ชนะที่ 1 ทั้ง 3 ชุดมาตัดสินให้เป็นรางวัลยอดเยี่ยมอีกรางวัล โดยรางวัลนี้ ท่านพันเอก เทียนชัย ได้ไปขอช้างที่ชาวบ้านถวายที่ศาลพระพรหมหน้าโรงแรมเอราวัณ กรุงเทพฯ มาเป็นรางวัลรวม 10 ตัว

ในปีต่อมา พันเอก เทียนชัย เห็นว่าทุกวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ข้าราชการของจังหวัดลพบุรีจะต้องมาวางพวงมาลาถวายบังคมสมเด็จพระปิยมหาราชที่ในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ข้างศาลพระกาฬ จึงดำริให้จัดงานประกวดขึ้นในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยเป็นปฐมฤกษ์ โดยก่อนที่จะมีการประกวดในวันที่ 22 ตุลาคม สมาคมจะเชิญ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก มาบรรยายให้ความรู้แก่สมาชิกและผู้สนใจทั่วไปก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2521 พันเอก เทียนชัย ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาค 4 ด้วยยศพลตรี พันเอก เอนก บุนยถี ก็ได้ดำรงตำแหน่งแทน และท่านได้บูรณะสวนสัตว์ลพบุรีซึ่งเคยเป็นสถานที่พักสัตว์ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งย้ายสัตว์มาจากเขาดินวนา กรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราว และได้ย้ายสัตว์ส่วนใหญ่กลับไปหมดแล้ว สวนสัตว์ลพบุรีจึงเกิดขึ้นในสมัยท่าน และได้ย้ายการประกวดจากโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยมาที่สวนสัตว์ลพบุรีแทนจนถึงปัจจุบัน รวมอายุสมาคมในปี 2562 ครบ 50 ปี

ในช่วงปี 2512 ร้อยโท วิสูตร คงอุทัยกุล (ยศในขณะนั้น) ได้มาเป็นนายทหารสังกัดที่ป่าหวาย ยังไม่ได้สนใจเรื่องการเลี้ยงกล้วยไม้ เพราะมีภารกิจนอกหน่วยตามจังหวัดต่างๆ มากกว่า ต่อมาได้เข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกเมื่อได้ยศร้อยเอก จึงย้ายเข้ามาอยู่ศูนย์สงครามพิเศษ และได้เป็นเลขาสมาคม ซึ่งมี พันเอก เอนก บุนยถี เป็นนายกสมาคม ร้อยเอก วิสูตร ได้สนใจการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้โดยสร้างรังกล้วยไม้ขนาด 6 คูณ 9 เมตรขึ้นหลังบ้านพักในค่าย โดยได้รวบรวมจากการซื้อหาบ้าง คนให้บ้าง และเสาะหาตามป่าตอนไปทำภารกิจต่างจังหวัดบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะได้จากพี่ชาย พลเอก วิเศษ คงอุทัยกุล ซึ่งชอบปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เช่นกัน

นายกสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทยในพ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2533 พันเอก วิสูตร ได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกล้วยไม้ลพบุรี จนกระทั่งถึงปัจจุบันและดำรงยศก่อนเกษียณเป็นยศพลโทในปี พ.ศ. 2545 และท่านได้สร้างรังกล้วยไม้ขนาด 10 ไร่ ที่ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ในสวนส่วนใหญ่จะเป็นคัทลียา แวนด้า และกล้วยไม้ไทย ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ท่านชอบเป็นชีวิตจิตใจ ท่านอยู่เบื้องหลังในการผลักดันให้เกิดกระแสการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไทยและได้นำมาพัฒนาจนที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น กล้วยไม้ช้าง เอื้องฟ้ามุ่ย เอื้องสามปอย เข็มแดง เข็มแสด เข็มม่วง กุหลาบเหลืองโคราช และกล้วยไม้แปลกๆ หลายชนิดที่นักกล้วยไม้ส่วนใหญ่มองข้ามไป

การประกวดกล้วยไม้ในสมัยก่อน เป็นการโชว์ฝืมือการเลี้ยงเสียมากกว่า เมื่อนักเลี้ยงกล้วยไม้ได้รวมกันซื้อไม้ลูกผสมคัทลียาจากต่างประเทศมากซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ก็จะแบ่งลูกไม้ซึ่งมีขนาดต้นประมาณคืบ คนละ 2-3 ต้นแล้วนัดหมายกันว่าเมื่อมีดอก นักกล้วยไม้ที่เอาไปทุกคนจะต้องเอามาประชันกันที่รังกล้วยไม้ของนักกล้วยไม้คนใดคนหนึ่ง เพื่อดูว่าดอกของใครสวยกว่ากัน ก็จะมีการวิจารณ์ถึง ขนาดดอก สี รูปทรงของกล้วยไม้ เป็นต้น เมื่อได้ต้นชนะก็จะได้รางวัลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับกล้วยไม้ ปุ๋ย ยา จากบริษัท ห้างร้านต่างๆ

การประกวดกล้วยไม้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นสมาคมหรือชมรมกล้วยไม้ต่างๆ เป็นผู้จัด บางงานจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล หรือมหาวิทยาลัยของรัฐ และจะเน้นกล้วยไม้พันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดในจังหวัดนั้นๆ เป็นหลัก เพื่อสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์และการปลูกเลี้ยงที่ถูกต้อง พร้อมถึงการขยายพันธุ์ไปปล่อยไว้ในแหล่งธรรมชาติที่เป็นแหล่งกำเนิดซึ่งนับวันจะหมดไปจากป่า

Advertisement

สมาคมกล้วยไม้จะเป็นผู้กำหนดประเภทของกล้วยไม้หรือกลุ่มการประกวด ประเภทของกล้วยไม้จะกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่เคยทำมาและบางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับปัจจุบันหรือฤดูกาลด้วย โดยปกติจะแบ่งเป็น 8-15 ประเภท แล้วแต่ขนาดของงานประกวด โดยหลักจะมี คัทลียา แวนด้า กล้วยไม้พันธุ์แท้ กล้วยไม้ลูกผสม กล้วยไม้สกุลหวาย ออนซีเดียมและสกุลใกล้เคียง กล้วยไม้ดินและซิมบีเดียม รองเท้านารี กล้วยไม้ช่อแรก และม็อคคาร่า, รีแนนเธอร่า, ม็อคคาร่า ส่วนการกำหนดประเภทที่เพิ่มเติมไปกว่านี้เป็นการสนับสนุนกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ ให้มีความสำคัญมากขึ้นในเฉพาะงาน

กล้วยไม้สกุลต่างๆที่ส่งเข้าประกวด

กล้วยไม้สกุลคัทลียา เป็นกล้วยไม้จากต่างประเทศก็จริง แต่นักกล้วยไม้ในไทยได้นำมาปลูกเลี้ยงหลายสิบปีแล้ว และได้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก จากกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงเฉพาะคนมีฐานะปัจจุบันคัทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ประชาชนทั่วไปปลูกเลี้ยงได้ และสามารถปลูกเลี้ยงได้ทั่วประเทศ คัทลียาเป็นที่นิยมปลูกเลี้ยงเนื่องจากดอกมีขนาดใหญ่ สีสันสดใส มีกลิ่นหอมและปลูกเลี้ยงได้ง่าย

Advertisement
ยอดเยี่ยมประเภทแวนด้า

กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลนี้มีหลายชนิด ส่วนหนึ่งนำมาจากต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยมีแวนด้าพันธุ์แท้ของไทยที่โด่งดังไปทั่วโลกคือ เอื้องฟ้ามุ่ย มีแหล่งกำเนิดธรรมชาติในภาคเหนือ ดอกเป็นช่อมีสีฟ้าซึ่งไม่มีในกล้วยไม้สกุลอื่น เมื่อนำเข้าไปผสมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน ก่อให้เกิดลูกผสมมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสายพันธุ์ฟ้ามุ่ยปะปนอยู่เสมอ กล้วยไม้สกุลนี้ได้รับการพัฒนาอย่างมากในประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ จะเห็นได้จากมีการส่งออกต้นติดดอกตูมไปจำหน่ายในประเทศต่างๆ

ยอดเยี่ยมประเภทหวาย

กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลนี้พบกว่าร้อยชนิดในประเทศไทย แต่ความหมายในการประกวดนี้หมายถึงเฉพาะหวายตัดดอก หรือต้นติดดอกที่เราเห็นกันทั่วไป กล้วยไม้สกุลหวายเป็นกล้วยไม้ที่เราส่งออกอันดับหนึ่งมากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นดอก ซึ่งบ้านเราได้พัฒนาจนหลากสีสัน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แทนที่รัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา สามารถปลูกเลี้ยงได้ทุกภาค ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกเลี้ยงได้เนื่องจากมีราคาถูกและปลูกเลี้ยงง่าย

กล้วยไม้ที่ได้รางวัลเกรียตินิยม

กล้วยไม้พันธุ์แท้ กล้วยไม้พันธุ์แท้ที่มีกำเนิดในธรรมชาติของไทยมีอยู่พันกว่าชนิด แต่ไม่สามารถนำมาปลูกเลี้ยงได้ทั้งหมด ปัจจุบันประเทศไทยได้ทำอนุสัญญาไซเตส ห้ามมีการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์แท้ เช่น ช้าง ฟ้ามุ่ย กล้วยไม้สกุลเอื้อ กล้วยไม้สกุลกุหลาบ ซึ่งจะต้องขออนุญาตการปลูกเลี้ยง แต่กล้วยไม้หลายชนิดได้ถูกนำมาพัฒนาจนกลายเป็นกล้วยไม้บ้าน มีการปลูกเลี้ยงกันทั่วไป ส่วนใหญ่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์จะเป็นกล้วยไม้จากสวนกล้วยไม้ ไม่ใช่นำมาจากป่าเหมือนแต่ก่อน เพราะนักปลูกเลี้ยงจะทราบว่า กล้วยไม้จากสวนต่างๆ เป็นกล้วยไม้ที่ถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดีว่าดอกมีความสวยงามกว่าในธรรมชาติมาก บางชนิดสูญพันธุ์จากธรรมชาติแล้ว แต่มีอยู่มากมายในสวนกล้วยไม้และผู้ปลูกเลี้ยงทั่วไป

ยอดเยี่ยมประเภทรองเท้านารี

กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี เป็นกล้วยไม้กึ่งดินที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมากในกลุ่มคนหนุ่ม เนื่องจากมีความแปลกของดอกซึ่งหลากหลายมาก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้ประมาณ 20 ชนิด กระจายพันธุ์จากเหนือจรดใต้ ในต่างประเทศก็นิยมปลูกเลี้ยงกันมากเช่นกัน ในประเทศไทยมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นมาหลายปีแล้ว และหลายประเทศก็จัดตั้งเป็นกลุ่มนักปลูกเลี้ยงเช่นกัน

การพัฒนากล้วยไม้พันธุ์แท้ของเมืองไทย เป็นเรื่องที่ พลโท วิสูตร ให้ความสำคัญมาก และท่านได้ทำการพัฒนามาหลายสิบปีแล้ว จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ว่าถ้าเป็นกล้วยไม้พันธุ์แท้จากที่นี่จะมีดอกสวยงามมาก นอกจากการพัฒนากล้วยไม้ในสวนแล้ว การเข้าไปมีส่วนร่วมกับสมาคม ชมรมกล้วยไม้ต่างๆ ทั่วประเทศจะพบเจอกับท่านได้อยู่เสมอทุกๆ งานของชาวกล้วยไม้ ปัจจุบันนอกจากดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกล้วยไม้ลพบุรี ยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันท่านมีความสุขอยู่กับการพัฒนากล้วยไม้พร้อมกับการปลูกเลี้ยงและอยู่ในสวนกล้วยไม้แทบตลอดทั้งวัน ท่านใดสนใจเกี่ยวกับเรื่องกล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทย สามารถติดต่อได้ที่สวนหรือเบอร์โทรศัพท์ (083) 152-9965

นายกสมาคมพฤกษชาติฯและนักกล้วยไม้อาวุโสที่มาร่วมงาน
ยอดเยี่ยมประเภทออนซีเดียม