ผลการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563

  1. สาขาอาชีพทำสวน

ชื่อ นามสกุล  นายนิโรจน์ แสนไชย

อายุปัจจุบัน  69 ปี          

การศึกษา  ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานภาพ  สมรส

ที่อยู่  189 หมู่ที่ 1 ตำบลวังผา อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

โทรศัพท์  (081) 951-4659

อาชีพ  เกษตรกรทำสวน

กิจกรรมหลัก  ทำสวนลำไย 

พื้นที่ทำการเกษตร  จำนวน 86 ไร่

กิจกรรมเด่น

  1. ทำการเกษตรเชิงวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย ภาครัฐ และเอกชน และประยุกต์ใช้จนเห็นผลจริง
  2. ทำการเกษตรโดยใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพืช ทำให้ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
  3. ผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร และเป็นต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง GAP
  4. มีการจัดการผลผลิตทั้งในฤดู และนอกฤดู ผลผลิตออกตลอดทั้งปี ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด
  5. เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่การปลูก
  6. มีการบริหารจัดการตลาดที่เหมาะสม มีการคัดเกรดผลผลิต ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด
  7. มีความเป็นผู้นำและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ

2.สาขาอาชีพทำไร่

ชื่อ – สกุล นายไชยสรรค์ อภัยนอก

อายุ 53 ปี          

การศึกษา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

สถานภาพ สมรสกับ นางประชิน กัณหา บุตร 3 คน ชาย 2 คน หญิง 1 คน

ที่อยู่ เลขที่ 177/1 หมู่ 8 บ้านหนองตอ ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

โทรศัพท์ (081) 266-1826

อาชีพ เกษตรกรรม (ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)

กิจกรรมหลัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 

กิจกรรมรอง  แก้วมังกร น้อยหน่า หญ้าเลี้ยงสัตว์       

พื้นที่ทำการเกษตร 55 ไร่

กิจกรรมเด่น

  1. คัดเลือกพันธุ์ดี โดยนำพันธุ์ใหม่ๆ มาปลูกทดสอบเพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมก่อนนำไปปลูก
  2. ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใช้เอง ข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3
  3. ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลายรูปแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดปัญหาด้านการตลาด เช่น การผลิตเมล็ดพันธุ์ ผลิตเป็นอาหารสัตว์ (คอร์น-ไซเลจ) ผลิตเพื่อขายเมล็ดแห้ง
  4. ออกแบบปรับปรุงแก้ไขเครื่องหยอดเมล็ดเพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานจาก เครื่องหยอดเมล็ดข้าวโพดแบบแจ๊บเป็นหัวหยอดแบบจาน
  5. ใช้เครื่องจักรในการไถกลบวัชพืชแทนการใช้สารเคมี
  6. นำ application “TFT ปุ๋ยสั่งตัด”
  7. ใช้เครื่องเก็บเกี่ยวและเครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด ซึ่งลดต้นทุน ขายเมล็ดได้ทันที
  8. ศึกษาแนวทางป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ลายจุด ใช้กับดักล่อฉีดพ่นด้วยสมุนไพร
  9. ได้รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP)
    10. ผลผลิตเฉลี่ย 1,500 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ 748 กิโลกรัม

3.สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม

ชื่อ-นามสกุล  นายบุญล้วน  โพนสงคราม

อายุ  62 ปี

การศึกษา ประถมศึกษาที่ 4

สถานภาพ สมรส มีบุตร 2 คน

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 188 หมู่ที่ 8 ตำบลวังหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

โทรศัพท์ (063) 909-3722

อาชีพ เกษตรกรรม

กิจกรรมหลัก ทำนา จำนวน 8 ไร่ สวนยางพารา จำนวน 7 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก จำนวน 5 ไร่ สวนไผ่เลี้ยง จำนวน 2 ไร่ และไผ่บงหวาน จำนวน 1 ไร่

กิจกรรมรอง ทำประมง จำนวน 3 ไร่ เลี้ยงสัตว์ จำนวน 1 งาน เรือนเพาะชำกล้าไม้ จำนวน 1 งาน

พื้นที่ทำการเกษตร เนื้อที่ 27.5 ไร่

กิจกรรมเด่น

  1. ปรับปรุงดินลูกรังขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และใช้วิธีห่มดินด้วยหลักการของ “โคกหนองนาโมเดล” จนสามารถปลูกพืชได้
  2. 2. นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การหมักฟางข้าวกับปุ๋ยคอกหน่อกล้วยให้เกิด

แพลงตอนเพื่อเป็นอาหารปลา ลดค่าอาหารปลาจาก 12,000 บาท/บ่อ เหลือ 5,000 บาท/บ่อ และทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เชื้อจุลินทรีย์

  1. เพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้วิธีตัดต้นข้าวระยะแตกกอพร้อมต้นหญ้าในแปลง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นข้าวจะเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นหญ้า ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 380ถัง/ไร่ เป็น 400 กิโลกรัม/ไร่
  2. มีการวางแผนผังฟาร์มดีสะดวกในการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต และจดบันทึกบัญชีฟาร์ม/บัญชีครัวเรือนสม่ำเสมอ
  3. วางแผนการผลิตได้เหมาะสมกับกายภาพของดิน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
  4. ไม่ใช้สารเคมี ไม่เผาตอซัง ไถกลบตอซัง ใช้ทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ปลูกพืชหมุนเวียน และพืชหลังนา
  5. ยื่นขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช 5 ชนิด กับกรมวิชาการเกษตร (ไผ่เลี้ยง กล้วยน้ำว้า เงาะนาสาร มะนาว ตะไคร้)

8.จัดตั้งกลุ่มปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ และจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวอินทรีย์

  1. เป็นประธาน ศพก.จังหวัดหนองคาย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตเมล็มพันธุ์ข้าว และเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง

4.ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร

ชื่อ-นามสกุล นายจิตตรง ธนันชัย

อายุ 33 ปี

สถานภาพ โสด

ตำแหน่ง ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านฉลอง

ครูวิทยาฐานะชำนาญการ (วิชาวิทยาศาสตร์) สังกัดโรงเรียนบ้านฉลอง ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 48/1 หมู่ที่ 6 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

โทรศัพท์  (088) 414-0781

อาชีพ รับราชการ

จำนวนสมาชิก สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 56 คน 

เป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร 6 ปี

กิจกรรมเด่น

  1. เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านฉลอง
  2. มีการพัฒนางานกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรมากขึ้นกว่าเดิม โดยการลดต้นทุนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดำเนินการเขี่ยก้อนเชื้อเห็ด
  3. นำนวัตกรรมทางการเกษตรเข้ามาปรับใช้ อาทิ หนอนแมลงวันลาย การใช้ Smart Farm
  4. บูรณาการการเรียนการสอนของกลุ่มยุวเกษตรกรกับการฝึกปฏิบัติ
  5. สนับสนุนช่องทางทางการตลาดให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรนำผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย
  6. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานกลุ่มยุวเกษตรกรให้เป็นที่ยอมรับหรือรู้จักในชุมชน

5.สมาชิกกลุ่มยุวเกษตร

ชื่อ-นามสกุล นางสาวจรรยา สิงห์โคตร

อายุ 16 ปี

การศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

สถานภาพ โสด

ตำแหน่ง ประธานสภายุวเกษตรกรโรงเรียนโนนกอกวิทยา

สังกัด กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโนนกอกวิทยา ตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 92 หมู่ที่ 8 บ้านพีพวย ตำบลสระโดนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

โทรศัพท์ (098) 049-4860

กิจกรรมเด่น

  1. นำความรู้และทักษะมาขยายผลที่บ้าน ช่วยครอบครัวเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว
  2. ทำการเกษตรด้วยตนเอง
  3. มีกิจกรรมครบทั้งทางด้านการเกษตร และเคหกิจเกษตร
  4. สามารถสร้างรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรให้กับตนเองและครอบครัว
  5. สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น บรรพบุรุษ อาทิ ทอผ้า จักสานเสื่อ และข้าวเกรียบว่าว
  6. ตั้งใจมุ่งมั่นที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี
  7. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

ชื่อกลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานต้นคลุ้มบ้านวังตง

จัดตั้งเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2555

สมาชิกเริ่มจัดตั้ง 10 คน

สมาชิกปัจจุบัน 65 คน (อายุเฉลี่ย 45 ปี)

ประธานกลุ่ม นางสาวอรุณี เกาะกลาง อายุ 42 ปี

ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 3 หมู่ที่ 4 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 

โทรศัพท์ (062) 654-0788

อาชีพหลักของสมาชิก ปัจจุบัน จักสานต้นคลุ้ม เดิม ทำสวนยางพารา

อาชีพเสริมของสมาชิก ปลูกผักปลอดภัย เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และเลี้ยงปู

กิจกรรมเด่น

  1. มิติด้านคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มฯ

– มีความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน

– มีเวลาดูแลครอบครัวมากขึ้น

– สภาพบ้านเรือนจัดเป็นสัดส่วน น่าอยู่อาศัย

– เกิดความเข้มแข็งและสามัคคีในชุมชน

– ไม่มีปัญหายาเสพติดในชุมชน

  1. มิติด้านเศรษฐกิจของกลุ่ม

– สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มฯ คนในชุมชนและนอกชุมชน ไม่ต้องเคลื่อนย้ายแรงงาน

– ช่วยลดปัญหาการว่างงานในชุมชน

– มีเงินออมของกลุ่ม ไม่มีหนี้สิน

– ไม่ต้องอาศัยแหล่งทุนภายนอกในการขยายกิจกรรม

  1. มิติด้านการพัฒนาเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของกลุ่ม

– บริหารในรูปแบบคณะกรรมการมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก  

– สมาชิกและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มระดับมาก

– ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อผลิต และส่งเสริมการปลูกทดแทน

– สร้างทายาทสืบทอดกิจกรรมการจักสานต้นคลุ้ม

– ดำเนินกิจกรรมและดำรงชีวิตตามยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

6.กลุ่มยุวเกษตรกร

ชื่อกลุ่ม กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านฉลอง

จัดตั้งเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557

สมาชิกเริ่มจัดตั้ง 15 คน

สมาชิกปัจจุบัน 56 คน เป็นชาย 26 ราย หญิง 30 ราย

ประธานกลุ่ม เด็กหญิงกนิษฐนาฏ วิชิตสรสาตร

ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 6 ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

โทรศัพท์ (076) 381-947

กิจกรรมเด่น

  1. ทุกฐานการเรียนรู้/กิจกรรมของกลุ่ม มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินกิจกรรม
  2. มีความสามารถในการบริหารและการจัดการกลุ่มที่ดีเยี่ยม โดยกำหนดวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนและสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ มีการวางแผนกิจกรรมของกลุ่ม การกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่มที่ชัดเจน สามารถสร้าง และพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและสมาชิกให้มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี
  3. คณะกรรมการและสมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทและข้อบังคับของกลุ่มและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานรวม งานกลุ่มย่อย และงานบุคคลอย่างชัดเจน
  4. กลุ่มมีความมั่นคง มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการจัดหาทุนและบริหารจัดการเงินทุน

ที่มีประสิทธิภาพ จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีสมุดเงินฝาก และมีการออมเงินของสมาชิก มีเงินทุนหมุนเวียน 74,865.65 บาท

  1. จัดทำและจัดเก็บข้อมูลการดำเนินงานของกลุ่มได้เป็นอย่างดีและต่อเนื่อง อาทิ แผนปฏิบัติงาน ข้อมูลการประชุมกลุ่มฯ รายรับรายจ่าย กิจกรรมกลุ่มฯ สมุดบันทึกของสมาชิก เป็นต้น
  2. มีการทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกแก่สมาชิก กิจกรรมการผลิต ทุกกิจกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเอื้อต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  3. มีการบูรณาการ STEM Education กับการดำเนินกิจกรรมทุกฐานการเรียนรู้/กิจกรรม
  4. ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม อาทิ ปุ๋ยหมัก ผ่านเกณฑ์การทดสอบ โดยได้รับการรับรองจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  5. เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน การบริการงานความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่าย
  6. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน/ผลงานอย่างต่อเนื่อง ผ่าน Social media และช่องทางสื่อมวลชนต่างๆ สามารถแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน

7.วิสาหกิจชุมชน

ชื่อกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย

วันที่จดทะเบียน  29 กันยายน 2548

รหัสทะเบียนเลขที่ 4-40-18-08/1-0001

สมาชิกเริ่มจัดตั้ง 40 ราย

สมาชิกปัจจุบัน 85 ราย และสมาชิกสมทบ 85 ราย

จำนวนหุ้นในปัจจุบัน จำนวนเงินหุ้นรวม 394,100 บาท

ประธานวิสาหกิจชุมชน นางสุภาณี ภูแล่นกี่ 
โทรศัพท์ (089) 623-5156

ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน  เลขที่ 46 หมู่ที่ 2 ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

กิจการของวิสาหกิจชุมชน การผลิตและจำหน่ายเส้นไหมดิบ การทอและจำหน่ายผ้าไหม การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไหม กิจกรรม ออมทรัพย์ การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

กิจกรรมเด่น

  1. กลุ่มมีความเข้มแข็งมีการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ยึดมั่นในความดีและทำงานเพื่อชุมชน (ระยะเวลาการรวมกลุ่ม 25 ปี)
  2. มีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในชุมชนไหม และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน
  3. มีสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในทอผ้าไหมมัดหมี่ลายต่างๆ มีการรักษา “ลายหมี่น้ำฟองเครือ” เป็นเอกลักษณ์ของบ้านหัวฝาย มีการพัฒนา “ไหมแต้มหมี่” ซึ่งเป็นการผสานนวัตกรรมใหม่ ให้มีความสวยงาม ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่และตลาดต่างประเทศ
  4. ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยต่างๆ เช่น ชนิด Royal Thai Silk ตรานกยูงสีทอง ปี 2551 และชนิด Thai Silk ตรานกยูงสีน้ำเงิน ปี 2559 เป็นต้น
  5. รางวัลที่กลุ่มได้รับประกาศนียบัตรผู้มีส่วนร่วม และสถานที่ประเมินการรับรองจังหวัดขอนแก่นให้เป็นนครแห่งผ้ามัดหมี่โลก World Craft City for Ikat (Mudmee) จาก World Craft Council AISBL 2561 และรางวัลต่างๆ มากมาย
  6. มีการสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านจากรุ่นสู่รุ่นทายาทเกษตรกร และเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงวิชาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนต่างๆ ในชุมชน

พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, มติชนสุดสัปดาห์ และศิลปวัฒนธรรม ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 31 พ.ค. 63 เท่านั้น! คลิกดูรายละเอียดที่นี่