ศิริวัฒน์ ศรีสระคู เกษตรกรดีเด่น อาชีพปลูกสวนป่า คิดและต่อยอด สร้างรายได้กว่าล้านบาท

คุณศิริวัฒน์ ศรีสระคู อายุ 65 ปี กำลังศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง อาชีพปลูกสวนป่า อยู่บ้านเลขที่ 144 หมู่ที่ 4 ตําบลกําแพง อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ (087) 947-0812

คุณศิริวัฒน์ ศรีสระคู

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

ในปี 2538 มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากสํานักงานป่าไม้ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้ามาส่งเสริมให้มีการปลูกป่าในที่ดินของตนเอง จึงได้ตัดสินใจปลูกไม้ประดู่ซึ่งเป็นไม้ถิ่นเดิม จํานวน 28 ไร่ โดย

  1. มีการศึกษาหาความรู้พลิกฟื้นผืนไร่เป็นสวนป่าและไม้ผล
  2. มีการใช้พื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ โดยปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจร่วมกับไม้ผลและพืชเกษตร เช่น

– ไม้เศรษฐกิจรอบตัดฟันปานกลาง

– ไม้เศรษฐกิจรอบตัดฟันสั้น ได้แก่ วิธีเจาะบ่อน้ำบาดาลมาใช้ในสวนป่า สวนผลไม้ และพืช ไม้ยูคาลิปตัส

– ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง

– พืชเกษตร ได้แก่ กระชาย ขิง ข่า ฯลฯ

  1. มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในสวนป่า โดยการระหว่างรอผลผลิตจากไม้สวนป่าที่ปลูก โดยการใช้ใบเลื่อยกลมแบบประยุกต์ติดตั้งกับเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่มาประยุกต์ใช้ในการทําไม้ออก สามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการทําไม้ออกได้เป็นอย่างดี มีการบริหารจัดการระบบน้ำ โดยการเจาะบ่อบาดาลเพื่อนําน้ำมาใช้ในสวนป่า

ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค

  1. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งโดยศึกษาหาสมุนไพร พร้อมจัดทําระบบน้ำ
  2. การขาดรายได้ระหว่างรอผลผลิตไม้จากไม้-พืชเกษตร ได้แก่ กระชาย ขิง ข่า ฯลฯ สวนป่า จึงได้ปลูกไม้ผลและพืชเกษตร เพื่อสร้างรายได้
  3. ปัญหาสภาพของดินขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยศึกษาหาวิธีการบํารุงดิน โดยการนําปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก
  4. ปัญหาโรคและแมลงในสวนป่า ได้แก่ ปลวก เพื่อนําน้ำมาใช้ในสวนป่า โดยปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ เพราะสวนป่ามีระบบนิเวศที่เกื้อกูลกัน
  5. มีการป้องกันการเกิดไฟไหม้ในแปลง โดยการทําถนนเป็นแนวกันไฟรอบแปลงและกลางแปลง

ผลงานและความสําเร็จของผลงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

  1. เป็นการปลูกสวนป่าผสมผสานร่วมกับไม้ผลและพืชสมุนไพร
  2. มีการบํารุงดูแลรักษาต้นไม้อย่างต่อเนื่องและมีการบริหารจัดการสวนป่าที่เหมาะสม ไม่ใช้สารเคมีในการกําจัดโรคแมลงและวัชพืชในสวนป่า
  3. สวนป่าสามารถอํานวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีการสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ

– ไม้ยูคาลิปตัสสามารถตัดขายได้ในแต่ละรอบ โดยมีรอบตัดฟันทุกๆ ปี หมุนเวียนกันไป

– แปลงปลูกไม้ประดู่และไม้ยางนาที่สวยงาม จํานวน 1,353 ต้น โดยไม้ประดู่สามารถตัดขายและ แปรรูปสร้างบ้านเรือนได้

ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน

– ดําเนินการปลูกสวนป่าตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน ใช้เวลาในการปลูกและบํารุงรักษาเป็นเวลา 24 ปี

ความยั่งยืนในอาชีพ

  1. รายได้เฉลี่ยจากสวนป่า โดยประมาณ ดังนี้ (1,540,200) บาท

– มีรายได้จากผลผลิตของสวนป่าอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะไม้ประดู่ ไม้ยูคาลิปตัส ดังนี้

– ขายไม้ประดู่ (ไม้ท่อน) ตัดขาย 3 รอบ เป็นเงิน 63,000 บาท

– ขายไม้ประดู่ (แปรรูปทําเฟอร์นิเจอร์) เตียงนอน เป็นเงิน 19,200 บาท

– ขายไม้ยูคาลิปตัส เป็นเงิน 41,000 บาท ต่อปี รวมทั้งหมด 18 ปี เป็นเงิน 1,458,000 บาท

  1. ไม้ที่เหลือในสวนป่ามีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ สามารถสร้างรายได้ในอนาคตได้

ความเป็นผู้นําและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ

  1. เป็นสมาชิกลุ่มอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า ของ อบต.กําแพง
  2. เป็นคณะกรรมการทําแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมของ อบต.กําแพง ในแผนพัฒนาระยะ 5 ปี
  3. เป็นแบบอย่างแก่เกษตรชุมชนใกล้เคียงให้หันมาปลูกป่าและเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกไม้ เศรษฐกิจกับกรมป่าไม้

การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ

  1. เป็นวิทยากรสาธิตการปลูกป่าหนองเหมือนแค่
  2. เป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนและวัด โดยใช้แปลงสวนป่าของตัวเองเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน
  3. เสียสละนําต้นไม้ที่ตัดส่งไปถวายวัดเพื่อสร้างกุฏิพระ
  4. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ทางตรง

  1. มีการตัดไม้ในสวนป่าเพื่อแปรรูปทําเฟอร์นิเจอร์และจําหน่าย
  2. มีไม้สําหรับไว้ใช้สอย สร้างบ้านเรือน ที่พักอาศัย เศษไม้ ปลายไม้ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
  3. เป็นแหล่งอาหารของคนและสัตว์ เช่น เห็ด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
  4. มีพืชและสมุนไพรที่นํามาทําเป็นอาหารได้

ประโยชน์ทางอ้อม

  1. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. สวนป่าสามารถปรับสภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นมากขึ้น
  3. เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างจิตสํานึกในการร่วมกันอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก กระรอก กระแต

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  1. การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้สารเคมีในการกําจัดโรคและแมลง
  2. สวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ศึกษาดูงาน และมีการนําเศษวัชพืชมาใช้ประโยชน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

…………….

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2563