ดีพร้อม เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม 65” ชี้ตลาดอาหารสุขภาพ แปรรูปช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

ดร. ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยเริ่มเข้าสู่ทิศทางที่ดี จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่มีการขยายตัว พร้อมการบูรณาการความร่วมมือในทุกองคาพยพ มุ่งเน้นสร้างการพึ่งพาตนเองของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เกษตรอุตสาหกรรม” เป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนส่งเสริมภาคการเกษตรด้วยศาสตร์ของอุตสาหกรรม พัฒนาองค์ความรู้ในด้านการประกอบการ ส่งเสริมการเข้าถึงเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในทุกกระบวนการ จากการเพาะปลูกไปจนถึงการจัดจำหน่าย พร้อมส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อขยายโอกาสในการจัดจำหน่าย

การแปรรูปเพิ่มมูลค่า

“ตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563-2564 ได้สร้างผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมรายใหม่ กว่า 8,000 คน ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมเดิมให้มีศักยภาพกว่า 1,800 กิจการ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ 600 ผลิตภัณฑ์ และสร้างรายได้มั่นคงกว่า 2,550 ล้านบาท ถือเป็นการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ให้มีศักยภาพพร้อมรองรับความต้องการจากตลาด ทั้งในและต่างประเทศในอนาคต“ ดร.ณัฐพล กล่าว

(ซ้าย) ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ดีพร้อมได้ส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านโครงการ ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ สู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ทำให้ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ก้าวผ่านวิกฤตและสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น พร้อมเสริมทักษะการวางแผนโลจิสติกส์ให้มีศักยภาพ และสนับสนุนการพัฒนาเครื่องจักรกลขนาดเล็กเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของผู้ประกอบการ เสริมศักยภาพให้พร้อมแข่งขันอย่างสมบูรณ์

การแปรรูปเพิ่มมูลค่า

ซึ่งอาหารสุขภาพได้แบ่งประเภทออกเป็นหลายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้บริโภค อาทิ อาหารคีโต สำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณการรับประทานแป้ง อาหารแพลนต์เบส สำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคโปรตีนที่ทำมาจากพืช ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดในกลุ่มอาหารสุขภาพนี้ มีช่องทางสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการเข้าถึงส่วนแบ่งชิ้นสำคัญ โดย Fresh&Friendly Farm ผู้ผลิตเห็ดออร์แกนิก ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่มีการทดลองพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช (เห็ดสายพันธุ์ต่างๆ) หรือแพลนต์เบส ซึ่งได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากดีพร้อม ไปเป็นแรงบันดาลใจและต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี

คุณสุชาดา กุลมงคล

คุณสุชาดา กุลมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟรช แอนด์ เฟรนด์ลีฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ให้ข้อมูลว่า บริษัทเข้าร่วมอบรมในโครงการที่ดีพร้อมจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ทำให้บริษัทเกิดการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยดีพร้อมได้ช่วยต่อยอดจากมาตรฐาน GMP สู่มาตรฐานฮาลาล สร้างโอกาสในการจัดจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับการส่งเสริมการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของธุรกิจจากโครงการดีพร้อม จีเนียส อะคาเดมี่ (DIPROM Genius Academy) และได้เปลี่ยนจากการเพาะเห็ดขายมาสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าในตลาดสินค้าออร์แกนิก

 

คุณสุชาดา บอกว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจประสบปัญหา แต่จากการเข้าร่วมโครงการกับดีพร้อม ทำให้มองเห็นทางออกของธุรกิจมากขึ้น ผ่านการใช้ช่องทางตลาดออนไลน์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ยังได้รับแนวคิดจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในการ   ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านการแปรรูปเห็ดออรินจิเป็นลูกชิ้นปลาหมึกแพลนต์เบส ทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 สามารถรักษายอดขายสินค้าได้กว่า 10 ล้านบาท และมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปีก่อนโควิด-19 โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 15 ล้านบาทในสิ้นปีนี้

การทำก้อนเห็ด

“ในอดีตภาพการดำเนินธุรกิจ เรามักมุ่งหวังไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่การส่งเสริมของดีพร้อม ทำให้เรารู้ว่า ยังมีอีกหลายมิติที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม และสามารถต่อยอดพัฒนาไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งทั้งในแง่ขององค์กรและผลิตภัณฑ์ การสร้างมาตรฐานเพื่อให้ต่างชาติยอมรับ รวมไปถึงการแสวงหาโอกาสทางการตลาดจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ดีพร้อมจึงไม่ใช่แค่หน่วยงานที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ แต่เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดที่พร้อมพาเราก้าวข้ามวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น” คุณสุชาดา กล่าว

 

เห็ดโคนญี่ปุ่น

 

การแปรรูปเพิ่มมูลค่า

 

การแปรรูปเพิ่มมูลค่า

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 02-430-6865-66 ต่อ 4 และติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipromindustry หรือ www.diprom.go.th