กยท. มอบรางวัลการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ปี 65 ต่อยอดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านยางพารา

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2565 ประเภทบุคคลภายใน พนักงานและลูกจ้างของ กยท. และประเภทบุคคลภายนอกองค์กร ณ ห้องประชุมกันตัง  การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2565

นายพิสิษฐ สุขอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานมอบรางวัลการประกวด นวัตกรรรมด้านยางพารา ปี 2565 ที่ห้องประชุมกันตัง การยางแห่งประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการพิจารณาตัดสิน ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2565 จำนวน 223 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมที่ห้องประชุมกันตัง 165 คน

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยยาง (สวย.) กยท. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา ประจำปี 2565 ในระดับต่างๆ แบ่งเป็น รางวัลกรอบแนวคิด และรางวัลสิ่งประดิษฐ์ สำหรับพนักงานและลูกจ้างของ กยท. รางวัลสิ่งประดิษฐ์สำหรับบุคคลภายนอก ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับบุคคลทั่วไป ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา ระดับอาจารย์และนักวิจัย การประกวดแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1. ด้านต้นน้ำ 2. ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ

สำหรับผลการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา (บุคคลภายนอก) ประกอบด้วย

  1. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น (ด้านต้นน้ำ) มีดกรีดยางพาราแบบกลไก (มีดกรีดยางอินทรี) ของ นายคณินทร์ชัย เอกพุฒิวงศ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำพันชาดรุ่งเรืองกสิกิจ รองชนะเลิศอันดับ 1 มีดกรีดยาง กรีดได้ไว หน้าเรียบ สามารถผลิตได้เองอย่างง่ายใช้ได้จริง ของ นายสงสัย แซมสีม่วง
  2. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) เสื้อชูชีพจากยางพารา ของ นางนพมาศ พรหมศิลป์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ถาดเพาะชำที่ทำมาจากเศษขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับขยะพลาสติกเหลือทิ้ง ของ นายธวัชชัย อริยะสุทธิ และ นายชัยวัฒน์ สิงห์ทอง รองชนะเลิศอันดับ 2 ถาดเพาะชำที่ทำมาจากเศษขี้เลื่อยไม้ยางและน้ำยางพารา ของ นายธวัชชัย อริยะสุทธิ และ นายชัยวัฒน์ สิงห์ทอง
  3. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านต้นน้ำ) การพัฒนาอุปกรณ์ประคองข้อมือ ลดการกดทับเส้นประสาทมีเดียน ขณะกรีดยาง สำหรับเกษตรกรสวนยางพาราที่เสริมด้วยแผ่นแปะจากสารสกัดโกศจุฬาลัมพาและใบพลู ของ นายภูวเวช ศักดิ์ภิรมย์ นายพฤกษ์พิพัฒน์ ชูรัตน์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 การพัฒนาเครื่องผสมน้ำยางพาราและกรดฟอร์มิก สำหรับผลิตยางก้อนถ้วย ของ ด.ญ.ญาณิศา เพ็ชรรัตน์ ด.ญ.ปภาวรินทร์ สงบ ด.ญ.กัญญาภัทร อธิบดิ์พงศธร ด.ญ.กัญญาพัชร ดิลกคุณธรรม ด.ช.ธนกฤต ทิวาพัฒน์ โรงเรียนเทิงวิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 2 ระบบควบคุมการเพาะชำพันธุ์ยางพาราด้วย IoT ของ นายอดิศร จันอาจ นายอภิสิทธิ์ พลศรี นายธีรยุทธ์ บรรจงคิด น.ส.ฐิตวันต์ ทิพรักชา น.ส.ปิยธิดา ไทยเกิด วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ
  4. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) การพัฒนานวัตกรรมแท่งเชื้อเพลิงจากเขม่าดำที่เหลือจากกระบวนการไพโรไลซิสขยะยางล้อรถ เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแหล่งพลังงานในโรงงานไฟฟ้าทดแทนการใช้ถ่านหิน ของ นายชิติภัทร คงทองวัฒนา นายนฤพัฒน์ ยาใจ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 1 นวัตกรรมหลังคาป้องกันแสงยูวีและผลิตความร้อนจาก Nitrogen – doped graphene quantum dots (N-GQDs) สำหรับโรงเรือนอบแผ่นยางต้นแบบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ของ น.ส.สิริยา เมฆทวีพงศ์ น.ส.วัลลภา ภัทรพุทธิกุล โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 วัสดุลอกลายพิมพ์นิ้วมือและสกัดดีเอ็นเอจากวัสดุท้องถิ่น ของ น.ส.สริตา วิมาเณย์ น.ส.เปรมกมล พลแก้ว น.ศ.พิมพ์ชนก บุตรวงค์ โรงเรียนอนุกูลนารี
  5. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษา (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) เบาะรองนั่งลดแผลกดทับจากฟองน้ำยางธรรมชาติ สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดผ่านทางทวารหนัก ของ น.ส.อนุธิดา สุวรรณ น.ส.เสาวนิจ บัวบางกรูด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 กล่องบรรจุภัณฑ์เคลือบน้ำยางธรรมชาติเพื่อยืดอายุการสุกของผลไม้ ของ น.ส.อัจฉริยาพร ฤาชัย น.ส.พลอยไพลิน แก้วคำ น.ส.บุษบา สุทธิประภา น.ส.ธิดาวรรณ เติบโต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  6. รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับอาจารย์หรือนักวิจัย (ด้านต้นน้ำ) ไม่มีรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 การพัฒนาต้นแบบไบโอเซ็นเซอร์ สำหรับใช้ตรวจวัดหาปริมาณของแอมโมเนียมไอออนในตัวอย่างน้ำยางข้น ของ รศ.ดร.อัญชลี สำเภา น.ส.ปรียานุช บุตรมี ผศ.ดร.ศราวุธ ประเสริฐศรี นายสายชล พิมพ์มงคล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองชนะเลิศอันดับ 2 เครื่องตรวจวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางสดแบบอัจฉริยะ โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแก๊สไฮโดรเจน ของ นายกรวิช แก้วดี นายอนุพงษ์ รัฐิรมย์ น.ส.ศันศนีย์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  7. รางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์ระดับอาจารย์หรือนักวิจัย (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) ชั้นรองพื้นทางบดอัดจากกากขี้แป้งยางผสมซีเมนต์และกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อการเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ของ ผศ.ณิชาภา มินาบูลย์ ผศ.สุธน รุ่งเรือง อาจารย์พิทยา สุขจินดา อาจารย์ประพัฒน์ สีใส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 ทุ่นลอยน้ำกั้นแนวจากฟองน้ำยางธรรมชาติ ของ รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองชนะเลิศอันดับ 2 บล็อกประสานผสมน้ำยางพาราเสริมกำลังด้วยเส้นใยทะลายปาล์ม ของ อาจารย์พีระพงษ์ เพชรพันธ์ ผศ.สุธน รุ่งเรือง ผศ.ณิชาภา มินาบูลย์ อาจารย์ประพัฒน์ สีใส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Advertisement

สำหรับการประกวดนวัตกรรมด้านยางพารา (บุคคลภายในองค์กร) มีผลประกวดรางวัล ดังนี้

  1. รางวัลชนะเลิศประเภทกรอบแนวคิด (ด้านต้นน้ำ) การใช้งานระบบสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ของ นายภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์ น.ส.ตรีชฎา ยกส้าน ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร รองชนะเลิศอันดับ 1 การใช้ระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน ของ นายวิญญู โครมกระโทก กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายเศรษฐกิจยาง รองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมและธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพารา ของ นายภานุพงศ์ ชูสิงห์แค นายกนกศักดิ์ บุญเกื้อสง กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง
  2. รางวัลชนะเลิศประเภทกรอบแนวคิด (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) Agri Biz แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ของ น.ส.นันทิกา ปางจุติ สำนักผู้ว่าการ รองชนะเลิศอันดับ 1 การบริหารจัดการตลาดกลางไม้ยางพารา ของ นายศุภวัฒน์ บัวสุข น.ส.ปานไพลิน แป้นจันทร์ กองพัฒนาตลาดยางพารา รองชนะเลิศอันดับ 2 การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำยางสดที่จัดเก็บระยะเวลา 1 เดือน ของ นายสานิตย์ แก้ววังสัน นางจีรนัย หอมเกตุ น.ส.ศริลักษณ์ สวัสดิวงศ์ นายกมล แสงแก้ว หน่วยธุรกิจ
  3. รางวัลชนะเลิศประภทสิ่งประดิษฐ์ (ด้านต้นน้ำ) การจำแนกพันธุ์ยางพาราด้วยการประมวลผลรูปภาพ ของ ดร.วิทยา พรหมมี ผศ.ดร.ภารุจ รัตนวรพันธุ์ น.ส.ปนัดฐา พงษ์สมทร น.ส.สุรีรัตน์ คงเพชรศักดิ์ กองวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง รองชนะเลิศอันดับ 1 โปรแกรม Web App บริหารจัดการทรัพย์สิน Ro-at@ (โรแอด) ของ นายถาวร มาแก้ว น.ส.สุธาทิพย์ จิตตรีศิลป์ กองจัดการทรัพย์สิน รองชนะเลิศอันดับ 2 ระบบฐานข้อมูลถ่ายทอด เทคโนโลยี ของ น.ส.ศรมน โกศลจันทรยนต์ นายวรรธนัย รัตนชัดเจน ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
  4. รางวัลชนะเลิศประเภทสิ่งประดิษฐ์ (ด้านกลางน้ำและปลายน้ำ) หุ่นจำลองส่วนหัวจากยางพาราเพื่อฝึกหัดทำหัตถการจักษุ ของ นายวรพงษ์ พูลสวัสดิ์ น.ส.ราตรี สีสุข น.ส.เมตตา สุขเจริญ นายวีระชัย เก่าบ้านใหม่ พ.ท.หญิง พ.ญ.นฤมล แก้วโรจน์ กองวิจัยอุตสาหกรรม ฝ่ายอุตสาหกรรมยาง รองชนะเลิศอันดับ 1 การปรับปรุงคุณสมบัติของเบาะโฟมยางพาราด้วยแอนติโมนีไตรออกไซด์สำหรับหน่วงไฟและต้านเชื้อแบคทีเรีย coli ของ นายคมกฤษ คิดการ กยท.จ.ขอนแก่น รองชนะเลิศอันดับ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มความเข้มข้นจากยางธรรมชาติด้วยคลื่นอัลตราโซนิก ของ นายสถาพร หลาบเงิน กยท.จ.สกลนคร

“การจัดกิจกรรมประกวดนวัตกรรมด้านยางพาราในปี 2565 นี้ กยท. มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านยางพารา โดยเปิดเวทีให้ผู้เข้าประกวด จะทำให้ผู้เข้าประกวดได้ผลิตผลงานเพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนายางพาราและนำไปกำหนดประเด็นวิจัยให้ทุนสนับสนุนและพัฒนาชิ้นงาน รวมทั้งนำนวัตกรรมเหล่านี้ไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เป็นการเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมประกวดในการนำผลงานไปต่อยอดผลงานที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไปอีกด้วย” ผอ.สผว.กล่าว

Advertisement

……………………………………….

สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิงก์ https://shorturl.asia/0zJwQ – Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354