ที่มา | เก็บมาเล่า |
---|---|
ผู้เขียน | เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
เผยแพร่ |
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” นับเป็นหนึ่งในเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัย สู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ เป็นประจำทุกปี
การจัดงานในปีนี้ มีผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดง แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน
สำหรับบู๊ทนิทรรศการที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น เป็นที่สนใจของนักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แก่
1.เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำสำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ผลงานวิจัยของ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการเขียนโปรแกรมควบคุมวาล์วไฟฟ้าให้จ่ายน้ำอัตโนมัติ โดยวัดสัญญาณเซนเซอร์จากถังวัดน้ำฝนซึ่งสอดคล้องกับปริมาณน้ำตามความต้องการของพืชต่อวัน สามารถจ่ายน้ำได้ตามความต้องการของพืช เพื่อใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
กรมวิชาการเกษตรยังมีผลงานอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การเพิ่มมูลค่าแปรรูปพืชเศรษฐกิจโดยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวัสดุเหลือใช้ที่ได้จากการแปรรูปกาแฟ อาทิ เปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟ นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เมือกกาแฟที่ได้จากการหมักนำไปใช้เคลือบไม้ผล และกากใบ พัฒนาเป็นสารสกัดมูลค่าสูง และนำเสนอ ต้นแบบผลิตภัณฑ์เบเกอรี่วาฟเฟิลสุขภาพมะเขือพวง ที่มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานโรค เป็นอีกหนึ่งธุรกิจอาหารสุขภาพที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีธรรมชาติ ทั้งสีน้ำตาล สีเขียวและสีขาว ที่ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูฝ้าย ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับงานหัตถกรรมสิ่งทอ ไปจนถึงกลุ่มผู้แปรรูผลผลิต โดยไม่ต้องย้อมสี ลดมลภาวะของน้ำเสียจากขั้นตอนการฟอกย้อม สนใจผลงานนวัตกรรมดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร . 02 579 1306 อีเมล์ [email protected]
2.การใช้ประโยชน์ชีวมวลปาล์มน้ำมันสำหรับผลิตภัณฑ์และสารเคมีมูลค่าสูง ผลงาน นายวิชิตพันธุ์ รองวงศ์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์ Green Economy และ Zero waste คือ การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือชีวมวลปาล์มน้ำมันทั้ง 2 ส่วนคือ ทะลายปาล์มเปล่าและลำต้นปาล์มนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า โดยนำส่วนของทลายปาล์มและแกนปาล์มใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อผลิตสารเคมีหรือวัสดุที่มีมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และใช้ประโยชน์จากลำต้นปาล์มในงานเชิงวิศวกรรมโครงสร้าง ซึ่งสามารถสร้างพลวัตรให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและสามารถสะท้อนรายได้ย้อนกลับสู่เกษตรกรโดยตรงจากการเพิ่มความต้องการวัตถุดิบและราคารับซื้อที่สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปาล์มที่หลากหลายขึ้น สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์: 0 7567 3000.
3.ไข่ต้มพืชสะดวกเก็บสะดวกกิน พลัส ผลงาน รศ.ยุพกนิษฐ พ่วงวีระกุล มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้วัตถุดิบหลักคือ ข้าว นำมาแปรรูปตอบโจทย์แนวคิด Food Sustainability และเป็น BCG Economy Mod: ออกแบบมาให้มีโภชนาการสูงกว่าไข่จริง ทั้งปริมาณโปรตีน ใยอาหาร วิตามินบี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี12, มีปริมาณไขมันและโซเดียมต่ำ และไม่มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล น้ำตาลและสารก่อภูมิแพ้ เป็นอาหาร ready to eat ที่ปรุงรสมาให้อร่อยสามารถเก็บได้ 1 ปี ที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม
4.โปรตีนทางเลือกจากจิ้งหรีดผสมผสานสารสกัดจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ผลงานนักวิจัยคณะบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผลงานวิจัยชิ้นนี้ ใช้โปรตีนทางเลือกจากจิ้งหรีดที่ให้ปริมาณโปรตีนสูงมากกว่าเนื้อสัตว์ 3 เท่า ผสมผสานกับ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่งเป็นพืซที่มีวิตามินซีสูงและมีสรรพคุณทางยาหลายชนิด เช่น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ซะลอความแก่ และมีสารอาหารที่จำเป็นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย โดยผลิตผลงานออกมาในรูปแบบเจล โปรตีนทางเลือก อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันประเภทวิตามิน เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ขาดคุณค่าทางสารอาหาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โทรศัพท์ 0 2855 0000
5.เชรั่มบำรุงผิวหน้าที่มีอนุภาคนาโนของโปรตีนไฮโดรไลเซทจากจิ้งหรีด ผลงาน ภญ.กันต์กนิตย์ ยี่รงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการนำจิ้งหรีดบ้านมาใช้ผลิตเครื่องสำอางค์ เพิ่มประสิทธิภาพการชะลอริ้วรอยแห่งวัยของผิวหนัง ต้านอนุมูลอิสระและบรรเทาการอักเสบของผิว ช่วยดูแล ผิวพรรณทุกเพศทุกวัย
6. “ WIN-Bugs” สารกำจัดแมลงศัตรูพืชจากเปลือกไข่และเปลือกสับปะรดเหลือใช้ ผลงานนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยนำวัสดุอินทรีย์ของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมจากเปลือกไข่และน้ำหมักเปลือกสับปะรด มาผ่านขบวนการผลิตจนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้ใช้งาน มีธาตุอาหารหลัก; N, P, K ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช โดยเฉพาะ Ca ในปริมาณมาก และออร์กาโนซัสเฟอร์ที่ช่วยขับไล่แมลงศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำผลิตภัณฑ์ WIN-BUgร: เจือจางด้วยน้ำสัดส่วน 500-1000 ซีซี ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เนื่องจากผลงานชิ้นนี้ สร้างประโยชน์ตามแนวทาง Bio-Circular-Green Economy (BCG) ได้อย่างยั่งยืน จึงได้รับรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566 กลุ่ม BCG Economy Model ระดับดีเด่น ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 0 3435 1892
7.“ระบบสมาร์ทฟาร์มและระบบอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ” โดย ดร.วิทยา ชำนาญไพร หัวหน้าโครงการวิจัย สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะนักวิจัย จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สนับสนุนเกษตรกรใช้สมาร์ทฟาร์มบนเทคโนโลยี I0T ออกแบบและทดลองใช้ระบบการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแปลงปลูกผักสมาร์ทไร้สารพิษมุ่งสู่อินทรีย์ สำหรับการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น