ธุรกิจน้ำปลาร้า มาแรง จากวิสาหกิจชุมชน สู่การสร้างรายได้ มูลค่าตลาดนับหมื่นล้าน

น้ำปลาร้าไม่ใช่การกล่าวลอยๆ ว่าเป็นเมนูหรืออาหารแบบบ้านๆ อีกต่อไป เพราะได้รับความสนใจจากประชนในวงกว้างทั่วประเทศ ไปไกลถึงต่างประเทศทั่วโลกเลยทีเดียว การที่ผู้คนให้ความสนใจน้ำปลาร้า เพราะเห็นกรรมวิธี วิธีการหมัก การใช้ปลาหมัก เอกลักษณ์แตกต่างตามพื้นที่ ใครชอบปลาน้ำจืด ใครชอบปลาร้าปลาหมักน้ำทะเลก็สุดแท้แต่เลยครับ แต่ที่แน่ สามารถทำรวยได้ สูตรใครก็สูตรใครนะครับ

เรามาดูข้อมูลเรื่องน้ำปลาร้า ว่าธุรกิจตัวนี้มีเยอะมากขนาดไหน ข้อมูลจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ระบุว่า ปัจจุบันไทยผลิตปลาร้าสูงถึง 40,000 ตันต่อปี สร้างรายได้ประมาณ 800 ล้านบาท ส่งออกตลาดกลุ่มอาเซียนและสหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา สร้างมูลค่ากว่า 200 ล้านบาทต่อปี และยังสามารถสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ประชาชนไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านจึงส่งผลให้ความต้องการปลาร้า ปรุงรสมากยิ่งขึ้น และการซื้อขายออนไลน์ก็ส่งผลให้ตลาดน้ำปลาร้า ปรุงรสเติบโตมากเช่นกัน เนื่องจากประชาชนต้องใช้ในรูปแบบความปกติใหม่ และความสะดวกสบายในการใช้น้ำปลาร้า ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการซื้อมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้เล่นทั้งรายเล็กรายใหญ่ กระโดดเข้าใส่การตลาดความนัวของ “น้ำปลาร้า” นับรวมมูลค่าธุรกิจน้ำปลาร้ามีมูลค่านับได้นับหมื่นล้านบาท เผลอๆ จะทะลุเข้าไปหลักแสนล้านบาท

ปัจจุบันตลาด “น้ำปลาร้า” ในประเทศไทยมีผู้ผลิตมากมายทั้งรายใหญ่และรายเล็กไม่ต่ำกว่า 200 แบรนด์ ส่งผลให้โอกาสในตลาดน้ำปลาร้าที่มีมูลค่ามากถึง 10,000 ล้านบาท มูลค่าการส่งมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ประเทศหลักๆ ที่มีการส่งออก ได้แก่ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มตะวันออกกลาง ธุรกิจ “น้ำปลาร้า” ในปัจจุบันพบว่า มีเจ้าใหญ่โดดเด่น ครองส่วนแบ่งการตลาด ดังนี้

Advertisement

ปลาร้าแม่บุญล้ำ ที่มีรายได้รวมถึง 712.69 ล้านบาท กำไร 64.79 ล้านบาท

ปลาร้าแม่เหรียญ รายได้รวม 282.89 ล้านบาท กำไร 19.40 ล้านบาท

Advertisement

ปลาร้าแซบไมค์ ของไมค์ ภิรมย์พร มีรายได้รวม 251.41 ล้านบาท กำไร 19.21 ล้านบาท

น้ำปลาร้าแม่คูณ บริษัท น้ำปลาร้าแม่คูณ จำกัด หมักจากปลากระตัก 100% มีรายได้ ประมาณ 50 ล้านบาท

น้ำปลาร้าบัวขาว บริษัท โรงงานปลาร้าแม่ประกาศ จำกัด มีรายได้ ประมาณ 10 ล้านบาท

น้ำปลาร้าสุนารี ราชสีมา ในนาม บริษัท ฮีโร่ แอนด์อาเธอร์ จำกัด มีรายได้ ประมาณ 6 ล้านบาท

น้ำปลาร้า MUM บริษัท ไทย หม่ำ ฟู้ด จำกัด มีรายได้ ประมาณ 38 ล้านบาท

น้ำปลาร้ารสมือแม่ บริษัท อุตสาหกรรมครัวไทย จำกัด มีรายได้ ประมาณ 12 ล้านบาท

น้ำปลาร้าไม่ใช่แค่อยู่ในส่วนผสมของส้มตำ เพราะความหอมนัวของปลาร้าทำให้ใครหลายคนมองเป็นหนึ่งไอเทมที่ขาดไม่ได้ เมื่อคิดจะรับประทานส้มตำใช่ไม่พลาด หรือใช้เป็นส่วนประกอบปรุงรสอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารอีสาน เช่น แกงอ่อม ซุบหน่อไม้ ยำขนมจีน ยำปลาทู หลนปลาร้า แจ่วปลาร้า และอื่นๆ แม้กระทั่งทุกวันนี้ไปอยู่ในทุกส่วนผสมเมนูอาหารไทยๆ ก็ว่าได้ น้ำปลาร้าจึงกลายเป็นหนึ่งเครื่องปรุงทรงอิทธิพลประจำบ้านของใครหลายคน เพราะความต้องการของตลาด มาพร้อมกับความง่ายในการผลิต การหมักปลาที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาอย่างต่อเนื่อง มาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยาวนานจากก้นครัว จากวิถีชาวประมง สูตรแบบไทยๆ แต่ได้ใจคนทั้งโลก ประกอบกับในปัจจุบันน้ำปลาร้ามีโรงงานผลิตที่รับทำ OEM ให้ผู้เล่นสามารถสั่งผลิตน้ำปลาร้ารสชาติพื้นฐานตามความต้องการ แปะแบรนด์ตัวเองออกมาจำหน่ายได้ง่ายๆ งานนี้ถ้าไม่ทัน ไม่เตรียมการดีๆ ก็แพ้ในตลาดได้

วันนี้ตลาดน้ำปลาร้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประเทศไทย แต่ยังสามารถส่งออกไปถึงคนไทยในประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อีกด้วย การแข่งขันของตลาดน้ำปลาร้า มีการแข่งขันในเรื่องของความสะอาดและรสชาติที่ถูกปากผู้บริโภคในแต่ละราย ทั้งความเค็ม ความหอม และความข้นของน้ำปลาร้า ช่องทางจัดจำหน่ายที่หาซื้อง่าย สะดวก ในราคาที่ผู้บริโภครับได้ เพื่อป้องกันผู้บริโภคเลือกแบรนด์คู่แข่งแทนแบรนด์ตัวเองมาในเรื่องการสร้าง Brand Awareness ผ่านโฆษณาหรือใช้พรีเซ็นเตอร์ หรือเจ้าของแบรนด์ที่เป็นบุคคลที่คนไทยรู้จักและชื่นชอบในการโปรโมตแบรนด์ และผลักดันให้ฐานลูกค้า หรือฐานแฟนคลับเข้ามาเป็นลูกค้าและซื้ออย่างต่อเนื่อง ต้องขอบอกว่าน้ำปลาร้าเป็นตลาดที่หอมนัวคัก แต่ตลาดนี้อาจจะไม่คักนัวของหลายๆ แบรนด์ทำให้เราเห็นหลายแบรนด์ที่เคยแจ้งเกิดในตลาดได้อาจจะพ่ายแพ้ เพราะมีผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นและรายไหนที่ยังอยู่ในตลาดถ้าไม่แข็งแกร่งพอ แค่เห่อแค่ทำเป็นแฟชั่น รายได้ที่คาดหวังก็จะไม่ได้ตามที่หวัง แต่ถ้าทำดี ก็ถือว่าเป็นทางรอดของเกษตรกรไทยอีกทางหนึ่งครับ