มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทย จับมือ 6 พันธมิตรคู่ค้า ยกระดับคุณภาพการผลิตข้าวโพด-ข้าวคาร์บอนต่ำ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ดิน เพื่อการผลิตที่ยั่งยืน ผ่านกิจกรรม “Climate Actions For A Better Tomorrow” ขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture)

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงกำลังเป็นหนึ่งตัวการร้ายสำคัญที่ทำลายดินเพราะการทำเกษตรกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ทำลายดินหรือทำให้สภาพดินเลวลายลงแบบไม่รู้ตัว รวมทั้งเป็นผลเสียต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน ยิ่งสภาพดินไม่ได้รับการฟื้นฟู สำหรับการทำเกษตรในอนาคต คงปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง อาจรวมไปถึงทำให้มนุษยชาติมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยผลผลิตทางการเกษตรที่ได้จะมีปริมาณลดลง อันเกิดจากสภาพดินที่เสื่อมโทรมลงทุกวันจากการทำเกษตรกรรม ทำให้ในหลายประเทศทั่วโลกมีการตื่นตัวในปฏิรูปการเกษตร ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา แคนาดา แอฟริกายุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อมุ่งหวังให้การทำเกษตรกรนอกจากได้ผลผลิตที่ดี แต่ยังสามารถดูแลสุขภาวะของดินไปด้วยพร้อมๆ กัน

จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวที่นับว่ามีความสำคัญ หากมีการปลูกพื้นเชิงเดี่ยวเช่นนี้ไประยะเวลานาน นอกจากจะทำให้สภาพดินเสื่อมโทรมแล้ว ยังมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำนาข้าวอยู่เป็นระยะ และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศของโลก จึงมีหลายๆ หน่วยงานให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และพยายามให้เกษตรกรทำความเข้าใจ หันมาใส่ใจเกษตรฟื้นฟู (regenerative agriculture) มากขึ้น เพื่อมุ่งยกระดับสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม จึงร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัทคู่ค้า 6 ราย ประกอบด้วยกลุ่มซัพพลายเออร์ผลผลิตข้าวโพด จำนวน 5 ราย และข้าวจำนวน 1 ราย ประกอบด้วย ร้านตรงพานิช บริษัท ส.วิริยะอินเตอร์เทรด จำกัด บริษัท พูลอุดม จำกัด บริษัท วชาไล จำกัด (แสงตะวัน) ห้างหุ้นส่วนจำกัดกรแก้วพืชผล และบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลไรซ์ แอนด์โปรดักซ์ จำกัด เพื่อดำเนินกิจกรรม  “Climate Actions For A Better Tomorrow” โดยมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต ผ่านโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) โดยจะเริ่มดำเนินโครงการเกษตรกรรมฟื้นฟูในการปลูกข้าวโพดและข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง นำร่องและเป็นโครงการต้นแบบที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี

นายปิยรัฐ อมรฉัตร ผู้อำนวยการด้านการจัดซื้อ ภูมิภาคเอเชีย บริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่า มาร์ส เพ็ทแคร์ ประเทศไทยผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้กรอบความยั่งยืน และหนึ่งในเป้าหมายความยั่งยืน คือ การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกษตรกรรมฟื้นฟู (regenerative agriculture) มุ่งยกระดับสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จัดเก็บคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปรับปรุงคุณภาพของลุ่มน้ำ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

Advertisement

 

“โครงการนี้จะเสริมสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งกับเกษตรกร เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และก้าวไปสู่การเกษตรแบบเท่าทันภูมิอากาศ (climate-smart agriculture) โดยเราจะทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ และเกษตรกรเพื่อส่งเสริมวิธีการทำเกษตรที่ดียิ่งขึ้น การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน และการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตข้าวโพดและข้าวอย่างยั่งยืน” นายปิยรัฐ กล่าว

Advertisement