“คาร์บอนเครดิตในไทย” เติบโตถึงจุดไหนแล้ว?

หลายๆ คนมักจะได้ยินคนพูดถึงเรื่องคาร์บอนเครดิต สามารถขายทำเงินได้ แต่แท้จริงแล้วต้นไม้ไม่ได้จะขายคาร์บอนเครดิตได้ทุกต้น หากได้ยินว่าปลูกต้นไม้ได้คาร์บอนเครดิต แท้จริงแล้ว “ปลูกต้นไม้ได้ต้นไม้ คาร์บอนเครดิตเป็นเพียงส่งเสริมตัวช่วยแรงจูงใจ” 

ปริมาณการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก จึงได้มีการใช้กลไกตลาดเพื่อจูงใจอุตสาหกรรมให้หันมาลดการปล่อยก๊าซมากขึ้น จึงได้ริเริ่มการซื้อขายที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) ขึ้นมา

“คาร์บอนเครดิตในไทย” เติบโตถึงจุดไหนแล้ว?
“คาร์บอนเครดิตในไทย” เติบโตถึงจุดไหนแล้ว?

คาร์บอนเครดิต คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดหรือกักเก็บได้ จากการดำเนินโครงการ T-VER และได้รับรองจากคณะกรรมการ อบก. และถูกบันทึกในระบบทะเบียนของ อบก. ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นโครงการ T-VER ซึ่งพัฒนาโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) 

เนื่องจากก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมอื่นๆ ซึ่งมีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน (Co-benefit) เช่น แหล่งอาหาร สร้างอาชีพ แหล่งต้นน้ำ การป้องกันมลพิษและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น ป่าไม้จึงเป็นอีกหนึ่ง Solution ที่สามารถสร้างมูลค่าที่เกิดจากคาร์บอนเครดิตซึ่งจะตอบโจทย์การเป็นสังคมปลอดคาร์บอนได้

โอกาสในตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต ไม่ได้ใช้เพียงแค่เทคโนโลยี แต่ยังขยายโอกาสสร้างรายได้ไปยังเกษตรกรในชนบท ประชาชน คนทั่วไปผ่านเครือข่ายป่าชุมชนทั่วประเทศที่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้อยู่แล้ว ดังนั้น ต่อไปในอนาคตการปลูกรักษาต้นไม้จะสร้างรายได้และประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม 

ชุมชนไม้มีค่าเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ในแต่ละปีต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้ให้ได้ปีละ 1.3 ล้านไร่ ซึ่งมันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีพลังจากชุมชน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญของคาร์บอนเครดิต เป็นเหมือนดอกเบี้ยของคนทำดี คนที่ปลูกต้นไม้ หากปลูกอยู่แล้วแต่ไม่เคยได้ดอกเบี้ยอะไรจากการปลูกต้นไม้เลย แต่ทุกวันนี้จะได้ดอกเบี้ยเป็นคาร์บอนเครดิตในการปลูกต้นไม้เหล่านี้ 

การปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อคาร์บอนเครดิต

การปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ มีทั้งประโยชน์ทางตรงจากการใช้เนื้อไม้และประโยชน์ทางอ้อมจากการกักเก็บคาร์บอนซิงค์ (Carbon Sinks) โดยหากมีความประสงค์จะนำมาขายเป็นคาร์บอนเครดิต จะต้องมีการจัดทำโครงการและขึ้นทะเบียนตามโครงการ T-VER ซึ่งเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program:

T-VER) ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้โดยมีหลักเกณฑ์ในเบื้องต้น 

  1. ต้องมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ยืนต้น 10 ไร่ขึ้นไป และจะต้องไม่มีการทำไม้ออกทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดำเนินการภายใน 10 ปี
  2. มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  3. มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอน-จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ
  4. มีเงินในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และตรวจสอบข้อมูล ก๊าซเรือนกระจก
  5. การเลือกชนิดไม้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีซึ่งจะมีผลต่อความสามารถกักเก็บคาร์บอนเครดิต

การปลูกไม้มีค่าจะมุ่งไปสู่ Carbon Neutrality ได้ยังไง ก่อนอื่นจะพาไปรู้จัก “Carbon neutrality” หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักรับรองคาร์บอนเครดิต อบก. กล่าวว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของระยะสั้น คือ จะลด 30-40% ในปี 2030 และในส่วนของเป้าหมายระยะยาวเราจะมุ่งสู่ Carbon Neutrality หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ในปี 2050 รวมไปถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 ภาคป่าไม้จึงมีความสำคัญ เข้ามาช่วยในการมุ่งสู่ Carbon Neutrality

ถ้าจะมุ่งสู่ Carbon Neutrality และ net zero emissions เราต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี 2025 และลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถลดลงเป็นศูนย์ได้ แต่ภาคป่าไม้จะเข้ามาช่วยในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก และทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ประเทศไทยได้เปิดตลาด (ซื้อ-ขาย) คาร์บอนเครดิตใน “ภาคสมัครใจ” แล้ว ภายใต้ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ซึ่งเป็นกลไกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2527

T-VER คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งภายใต้โครงการ T-VER นี้เรียกว่า “TVER” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด/ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย

TGO จะเป็นผู้ให้การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากโครงการ T-VER โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ จะเรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งสามารถนำไปใช้รายงาน ใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล การจัดงานอีเวนต์ และจากการผลิตผลิตภัณฑ์ได้

โดยคาร์บอนเครดิตมีหลายประเภทตามกลไกลดก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการ ยกตัวอย่าง เช่น คาร์บอนเครดิตจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่ใช้ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่มีพันธกรณีต้องลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโตกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไก CDM คาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER ที่ TGO ให้การรับรอง เป็นต้น

ปัจจุบันมีหน่วยงานกลางอย่าง ธ.ก.ส. เป็นธนาคารแรกที่เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในชุมชน ในการปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการธนาคารต้นไม้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการไปแล้วใน 2 โครงการ ได้แก่ บ้านท่าลี่ จังหวัดเลย และ บ้านแดง จังหวัดอุดรธานี ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่จะได้รับเท่ากับ 151 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดย ธ.ก.ส. มีกองทุนธนาคารต้นไม้ สนับสนุนทางการเงินกับเกษตรกร/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ถือเป็นโอกาสของเกษตรกร/ชุมชนในการสร้างรายได้จากการปลูกและดูแลต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิต

ประโยชน์ของโครงการ T-VER

  1. ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
  2. เพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก จากการปลูกต้นไม้ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า
  3. สามารถนำปริมาณคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรได้
  4. สามารถนำปริมาณคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ผลิตภัณฑ์ งานอีเวนต์ และบุคคลได้
  5. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

เงื่อนไขการทำโครงการคาร์บอนเครดิต ภาคป่าไม้

– ได้มากกว่า 58 ชนิด เป็นไม้ยืนต้น (ชนิดใดก็ได้) ที่มีเนื้อไม้ และอายุยืนยาว

– มีหลักฐานเอกสารแสดงสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือเอกสารที่ยืนยันได้ว่าเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่นั้นๆ ยินยอมให้ดำเนินการ

ระยะเวลาการคิดคาร์บอนเครดิต

โครงการทั่วไป กำหนดให้มีระยะเวลาการคิดคาร์บอนเครดิต 7 ปี ได้แก่
– การพัฒนาพลังงานทดแทน
– การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
– การจัดการในภาคขนส่ง
– การจัดการของเสีย
– การเกษตร
– อื่นๆ ที่ อบก. กำหนดเพิ่มเติม

โครงการป่าไม้ กำหนดให้มีระยะเวลาการคิดคาร์บอนเครดิต 10 ปี ได้แก่
– ปลูกต้นไม้/ปลูกป่า
– ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่า

การกำหนดวันเริ่มคิดคาร์บอนเครดิต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

– สำหรับโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้ว
สามารถกำหนดวันเริ่มคิดเครดิตย้อนหลังได้ แต่ไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสุดท้ายแล้วเสร็จ และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้

– สำหรับโครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการ
สามารถกำหนดวันเริ่มคิดเครดิตได้ภายใน 2 ปี นับจากวันที่จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการฉบับสุดท้ายแล้วเสร็จ และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้

ประโยชน์คาร์บอนเครดิต

  1. สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิต
  2. ทำให้เกิดแรงจูงใจให้ประเทศอุตสาหกรรมหรือองค์กรต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อไม่ต้องเสียเงินซื้อเครดิตคาร์บอนเพิ่ม 
  3. ทำให้มีผู้พัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เช่น ปลูกป่า ประหยัดพลังงาน ลดการใช้ถุงพลาสติก เป็นต้น

ผู้ขายจะใช้วิธีการวัดขนาดต้นไม้ ความสูง ความกว้าง เส้นรอบวงต่างๆ ของต้นไม้และนำข้อมูลทั้งหมดไปให้ อบก. (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้คำนวณคาร์บอนเครดิตที่ได้จากต้นไม้เหล่านี้ให้

วิธีวัดและประเมินมูลค่าต้นไม้

การวัดเพื่อประเมินราคาต้นไม้ เพื่อใช้เป็นหลักประกัน และเพื่อหาปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของต้นไม้ มีรายละเอียดดังนี้

  1. การวัดเพื่อประเมินราคาต้นไม้ เพื่อใช้เป็นหลักประกันใช้การวัดความโตของต้นไม้ โดยวัดเส้นรอบของต้นไม้ตรงจุดที่ความสูงจากโคนต้นขึ้นมา 130 เซนติเมตร เมื่อรู้ชนิดต้นไม้ รู้เส้นรอบวง ก็ไปเปิดทะเบียนราคากลางต้นไม้ ก็จะทราบราคาของต้นไม้ต้นนั้น โดยแอป tree bank จะประมวลราคาให้ทันทีหลังจากใส่ข้อมูล ความสูง ขนาด และพิกัดต้นไม้
  2. วัดเพื่อหาปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของต้นไม้ นอกจากวัดเส้นรอบวงของต้นไม้แล้ว ยังต้องวัดความสูงของต้นไม้ด้วยวิธีวัดความสูงของต้นไม้มีหลายวิธี เช่น ปีนขึ้นไปวัด, ใช้ไม้ไผ่ หรือนอกจากวัดเส้นรอบวงของต้นไม้แล้ว ยังต้องวัดความสูงของต้นไม้ด้วย วิธีวัดความสูงของต้นไม้มีหลายวิธี เช่น ปีนขึ้นไปวัด, ใช้ไม้ไผ่ หรือท่อ PVC ที่ทราบความสูงแล้ว มาทาบวัด ซึ่งเมื่อใส่ข้อมูลต้นไม้ใน แอป tree bank จะทราบปริมาณคาร์บอนเครดิตและราคาได้ทันที

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ได้รับความสนับสนุนจากกรมสรรพกร โครงการที่ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T-VER ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2570 ถ้าเราขายคาร์บอนเครดิตได้แล้ว สามารถนำกำไรสุทธิที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 รอบบัญชีติดกัน ใช้ได้เฉพาะการซื้อขายมือแรกเท่านั้น ผู้ที่ใช้สิทธิ์ได้ คือ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่านั้น

อ้างอิงจาก : อบกTGO / https://home.kapook.com/view264965.html /https://www.right-livelihoods.org/sammachiv-carbon-credit-income/

#technologychaoban #เทคโนโลยีชาวบ้าน #คาร์บอนเครดิต #carboncreadit #ชุมชนไม้มีค่า