ทำไมต้องหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร?

การเผาในพื้นที่เกษตร ส่งผลกระทบต่อสิ่งรอบข้างและยังมีความผิดทางกฎหมายเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในพื้นที่มักทำการเผาฟางข้าว เผาต้นหรือใบข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวเพื่อความสะดวกในการไถเตรียมดิน ซึ่งการเผาเป็นการทำลายธาตุอาหาร น้ำในดิน จุลินทรีย์ รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม ระบบนิเวศของดินไม่สมบูรณ์ เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย

กิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากมนุษย์ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หมอกควัน และแก๊ซพิษในบรรยากาศและมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทำลายสุขภาพเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดสภาวะโลกร้อนสะสม

การเผาไหม้มักจะมีกลิ่นควัน เศษเขม่า เป็นสาเหตุของฝุ่นควันมลพิษทางอากาศสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น บางครั้งเกิดการลุกลามไปยังแปลงพืชข้างเคียง

ถ้าไม่เผา! จะจัดการกับเศษวัสดุการเกษตรแบบไหนได้บ้าง

  1. ไถกลบ ควรทำควบคู่ไปกับการใช้สารอินทรีย์ สำหรับเร่งการย่อยสลาย หรือ “น้ำหมักชีวภาพ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายให้เป็นปุ๋ยซึ่งจะทำให้โครงสร้างดินดีเพิ่มอินทรียวัตถุ และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
  2. ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน สามารถทำได้ด้วยการไถกลบให้ย่อยสลายและการนำมาทำปุ๋ยหมัก รวมทั้งใช้ในการคลุมดินสำหรับรักษาความชื้น
  3. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ด้วยการนำเศษวัสดุการเกษตรที่เหลือทิ้ง ในแปลงมาผลิตใช้เอง เป็นการลดต้นทุน และช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์
  4. ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การนำเปลือกข้าวโพดมาหมักเป็นอาหาร สำหรับเลี้ยงโค หรือการอัดฟางข้าวเป็นก้อนเพื่อนำไปเป็นอาหารโคกระบือ
  5. พลังงานทดแทน ฟางข้าว เปลือก หรือซังข้าวโพด ยอดและใบอ้อย ถือเป็นชีวมวลสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้ เช่น นำมาอัดแท่งเพื่อใช้ในครัวเรือน 

การเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรแม้ว่าจะเป็นในพื้นที่ของตนเองก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตามมาตรา 220 มีทั้งโทษและปรับ ถ้าช่วยกันหยุดการเผาไหม้ทางการเกษตรเปลี่ยนมาเป็นจัดการกับเศษวัสดุให้เกิดประโยชน์ สร้างพลังงานทดแทน อย่างฟางข้าว เปลือกและซังข้าวโพด ยอดและใบอ้อยถือเป็นชีวมวล สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้

#เทคโนโลยีชาวบ้าน #การเผาไหม้การเกษตร #เผาไหม้ #เกษตรกร